เบสิกระบบเสียงดิจิตอล Sampling Rate และ Bit Depth

Sampling Rate และ Bit Depth
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » เบสิกระบบเสียงดิจิตอล Sampling Rate และ Bit Depth

เวลาอ่านโดยประมาณ : 1 นาที

เวลาอ่านโดยประมาณ : 2 นาที

ในโลกของระบบเสียงแบบดิจิตอล Sampling Rate และ Bit Depth คือสองคำที่คุณจำเป็นที่จะต้องรู้ เพราะมันเปรียบเสมือนหัวใจของเพลงที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ในบทความนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จัก ว่าทั้งสองคำนี้(Sampling Rate และ Bit Depth) คืออะไร? และมันทำหน้าที่อะไร!? ซึ่งจะช่วยให้คุณเลือกซื้อ Audio Interface ได้ดียิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลยครับ ~

เบสิกระบบเสียงดิจิตอล “Sampling Rate และ Bit Depth”

แชร์หน้านี้ :
DIGITAL AUDIO A2D

ระบบเสียงดิจิตอล คืออะไร

ระบบเสียงดิจิตอล คือ ระบบเสียงที่ทำการ จัดเก็บ สร้าง และเรียบเรียงข้อมูลเสียงใหม่ ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูล ที่คอมพิวเตอร์ สามารถอ่านค่าได้ โดยคอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านรูปแบบของคลื่นเสียงปกติได้ จะต้องทำการแปลงให้เป็นข้อมูลในรูปแบบของ ดิจิตอล คือตัวเลข 0,1 ช่วยให้เราสามารถจัดการ แก้ไขหรือเรียบเรียงเสียงเหล่านั้นผ่าน ซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ได้นั่นเองครับ

High Sampling Rate

Sampling Rate คืออะไร??

Sampling Rate คือ ค่าที่บอกว่ามีการเก็บตัวอย่างเสียง กี่ครั้ง ต่อ 1 วินาที โดยจะมีหน่วยเป็น Hertz(Hz) ตัวอย่างเช่น 44.1 kHz = จะมีการเก็บตัวอย่างเสียง 44,100 ครั้งต่อ วินาที โดยผมจะยกตัวอย่างให้เพื่อนๆ เข้าใจได้ง่ายขึ้น ให้เพื่อนๆ นึกถึง Frame Rate ในเรื่องของระบบภาพ 30 fps, 60 fps ก็คือมีการเก็บภาพทั้งหมด 30 ภาพใน 1 วินาที และ 60 ภาพใน 1 วินาที หมายความว่ายิ่งค่า Sampling Rate มาก ย่อมดีกว่า เพราะเท่ากับเรามีข้อมูลของเสียงมากกว่า เสียงที่ได้จะมีความใกล้เคียงกับเสียงจริงมากขึ้นนั่นเองครับ


ความสำคัญของ Sampling Rate

ยิ่งค่า Sampling Rate มากขึ้น จะช่วยให้การทำ Audio Sample(การสร้างเสียงจากไฟล์ดิจิตอล ให้กลับมาเป็น Analog) มีความแม่นยำ เที่ยงตรง และให้คุณภาพที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น โดยที่ผมจะชี้ความสำคัญของ Sampling Rate ด้วย 3 เหตุผลดังนี้ครับ

  1. เสียงในย่าน High-Frequency ที่ครบถ้วน : Sampling Rate ที่มากขึ้นจะช่วยให้การสร้างเสียงกลับมาเป็นอนาล็อกยังคงคุณภาพของเสียงสูง หรือ High-Frequency ไว้ได้อย่างครบถ้วน 
  2. เพิ่มความยืดหยุ่นในกระบวนการ Post-Processing : ยิ่งค่า Sampling Rate มาก จะทำให้เหลือ Headroom สำหรับการปรับแต่งเสียงมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับ EQ, การใส่ฟีลเตอร์ หรือเอฟเฟกต์ต่างๆ

Sampling Rate ยอดนิยมที่เราเจอกันประจำ

เรามักที่จะพบ Sampling Rate ในอุปกรณ์เสียงจำพวก Audio Interface หรือ ไมโครโฟน USB บันทึกเสียง โดยที่ค่า Sampling Rate ยอดนิยมที่เรามักพบเจอกันเป็นประจำ ก็จะมีดังนี้ครับ

  1. 44.1 kHz : เป็นค่า Sampling Rate ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นค่ามาตรฐานสำหรับการบันทึกเสียงบนแผ่น ซีดี ซึ่งต้องเรียกว่า Sampling Rate 44.1 kHz เป็นค่ามาตรฐานหลักของอุตสาหกรรมเพลงโลกก็ว่าได้
  2. 48 kHz : มักจะพบได้ในงาน Video Production หรือพวกอุตสาหกรรมภาพยนต์ เนื่องจาก Sampling Rate 48 kHz เป็นค่าที่พอดี และลงตัวกับอัตราเฟรมเรตของวิดีโอมากที่สุด
  3. 96 kHz ขึ้นไป : Sampling Rate ตั้งแต่ 96 kHz ขึ้นไป มักจะพบได้ในงานระดับ Professional หรืองานบันทึกเสียงระดับออดิโอไฟล์ ซึ่งต้องการความเที่ยงตรง และความแม่นยำของเสียง
Low Bit Depth
High Bit Depth

Bit Depth คืออะไร?


Bit Depth คือ ค่าที่บอกระดับความดัง เบาของแต่ละจุด Sampling Rate โดยจะมีหน่วยเป็น Bit ยิ่ง Bit Depth มีค่ามากยิ่งทำให้ Dynamic Range มีค่ามากตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้ Headroom ของการบันทึกเสียงสูงตามไปด้วย โดยที่ 16 Bit จะมี Dynamic Range อยู่ที่ 96 dB และ 24 Bit จะมี Dynamic Range อยู่ ที่ 144 dB ครับ หมายความว่ายิ่ง Bit Depth มีค่ามาก ย่อมดีกว่า เพราะจะมีระดับความดังของเสียงเบาที่สุดไปถึงเสียงดังที่สุด ที่กว้างกว่านั่นเองครับ

Audio Sample คือ

Audio Sample คืออะไร


Audio Sample คือ การจำลองเสียงในรูปแบบของคลื่นเสียงขึ้นมาใหม่ (Reconstruct) โดยเมื่อเราทำการบันทึกเสียงเป็นไฟล์ดิจิตอล ด้วย Audio Interface หากเราต้องการที่จะเล่นไฟล์เสียงนั้นๆ คอมพิวเตอร์จะทำการจำลองเสียงที่เราทำการบันทึกตามต้นฉบับ โดยคุณภาพของเสียงที่ออกมา จะขึ้นอยู่กับ Bit Depth กับ Sampling Rate ยิ่งมีค่าสูง เท่ากับว่าไฟล์เสียงจะมีความละเอียดที่มากกว่า ช่วยให้ได้เสียงที่ใกล้เคียงเสียง ณ ตอนบันทึกที่สุดนั่นเองครับ

Audio Interface ออดิโออินเตอร์เฟส

เลือกช้อปสินค้า Audio Interface ออดิโออินเตอร์เฟส

สรุป Sampling Rate และ Bit Depth

สรุป


Sampling Rate กับ Bit Depth เป็นค่าที่จะคอมพิวเตอร์จะนำมารวมกันเพื่อ ประกอบ (Reconstruct) ออกมาเป็น Wave Form (คลื่นเสียง) ตามที่ได้บันทึกมานั่นเองครับ โดยค่าที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ 44.1 kHz/16 Bits ในงานเสียง และใช้ 48 kHz/16 Bits สำหรับงานวิดีโอ ให้ตรงกับ เฟรมเรตของวิดีโอ โดยไฟล์เสียงที่มีคุณภาพสูงๆ (Hi-Res) จะเป็นการบันทึกเสียงที่ค่าสูงกว่ามาตรฐานนี้ขึ้นไปนั่นเองครับ

แต่ยิ่งเราใช้ค่ามาก แน่นอนว่าขนาด ไฟล์เสียง ที่ได้จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้เลือกใช้ให้เหมาะกับแต่ละงานจะดีที่สุดครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อย วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ~

ขอบคุณข้อมูลจาก iZOTOPE, Youtube

บทความที่คุณอาจสนใจ..

Sampling Rate คืออะไร?

ตอบ : Sampling Rate หรือ Sample Rate คือ ค่าที่บอกว่ามีการสุ่ม หรือเก็บตัวอย่างเสียงกี่ครั้ง ต่อ 1 วินาที โดยจะมีหน่วยเป็น Hertz(Hz) เช่น 44.1 kHz หมายความว่าจะมีการเก็บตัวอย่างเสียง 44,100 ครั้งต่อ วินาที ยิ่งค่า Sampling Rate มาก ย่อมดีกว่า เพราะเท่ากับเรามีข้อมูลของเสียงมากกว่า เสียงที่ได้จะมีความใกล้เคียงกับเสียงจริงมากขึ้นนั่นเองครับ

Bit Depth คืออะไร?

ตอบ : Bit Depth คือ ค่าที่บอกระดับความดัง เบาของแต่ละจุด Sampling Rate โดยจะมีหน่วยเป็น Bit ยิ่ง Bit Depth มีค่ามากยิ่งทำให้ Dynamic Range มีค่ามากตามไปด้วย ซึ่งจะช่วยให้การการ Reproduce หรือสร้างเสียงให้กลับมาเป็นอนาล็อก มีความละเอียด และแม่นยำมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

Mixing และ Mastering คือ อะไร? แตกต่างกันหรือไม่? อย่างไร!?

เจาะลึกรายละเอียดว่า Mixing และ Mastering คือ อะไร? พร้อมชี้ให้เห็นความต่างกันชัดๆ จะน่าสนใจแค่ไหน? อยากรู้ คลิกเลย!

เคล็ดลับเลือกเพลงคู่ ร้องคาราโอเกะ สำหรับทุกโอกาส

ร้องคาราโอเกะนั้นเป็นกิจกรรมความบันเทิงที่สนุกสนาน และจะสนุกสนานขึ้นเมื่อเราร้องคู่กับ คนในครอบครัว เพื่อน แฟน บทความนี้เรามีเพลงสำหรับร้องคู่มาแนะนำครับ

Backing Track คือ อะไร? แจกวาร์ป Backing Track เพลงไทย

พามาทำความรู้จักว่า Backing Tracks คืออะไร? เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินระดับโลก พร้อมแจกวาร์ปโหลด Backing Track เพลงไทยกันฟรีๆ อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

ZEN Blue 3 มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ จาก iFi Audio

มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ ที่คุณอาจไม่เคยสัมผัสที่ไหนมาก่อนกับ ZEN Blue 3 สินค้าใหม่ล่าสุดจากแบรนด์ iFi Audio เป็นยังไงไปชมกัน!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง)

ขอขอบคุณ สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม จากทีมงาน SoundDD

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีแสดง ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) พระราม 2

ขอขอบคุณ ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องเสียงเวที โดย บริษัท ซาวด์ดีดี กรุ๊ป จำกัด ด้วยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก