ค่า Impedance คืออะไร? พร้อมวิธีการต่อลำโพงที่ถูกต้อง

ค่า Impedance คืออะไร
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » ค่า Impedance คืออะไร? พร้อมวิธีการต่อลำโพงที่ถูกต้อง

เวลาอ่านโดยประมาณ : 1 นาที

เวลาอ่านโดยประมาณ : 3 นาที

สำหรับผู้ที่กำลังสนใจ หรือมองหาตู้ลำโพง ต้องผ่านการศึกษาสเปคของลำโพงมาบ้าง คงคุ้นๆ กับค่า Impedance คืออะไร? วันนี้เราจะมาติว “วิธีการดูสเปคลำโพง” เบื้องต้นกัน เกี่ยวกับเรื่องของค่า Impedance (อิมพีแดนซ์) ลำโพง พร้อมเทคนิคการต่อลำโพง โดยศึกษาจากค่า Impedance (อิมพีแดนซ์) เบื้องต้นกันครับ

ค่าอิมพีแดนซ์คือ

ค่า Impedance คืออะไร?


ค่า Impedance (อิมพีแดนซ์) คือ “ค่าความต้านทาน” ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่มีผลต่อเฟสทางไฟฟ้า ใช้สัญญาณลักษณ์อักษรย่อเป็นตัว Z มีหน่วยเป็น โอห์ม (Ω) เราจึงแทนอักษรของลำโพงด้วย Z หรือสรุปก็คือ ค่าที่บ่งบอกการดึงกระแสไฟฟ้าของลำโพงตัวนั้นๆ มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω)
 
 
โดยทั่วไป Impedance ของลำโพง จะอยู่ที่ประมาณ 6-8 โอห์ม หากลำโพงมีค่า Impedance ต่ำๆ เช่น 4-6 โอห์ม ก็จะยิ่งดึงกระแสไฟฟ้ามาก และต้องการกำลังขับที่สูงจากตัวแอมป์ แอมป์ก็จะเกิดความร้อนสะสม ทำงานหนัก และหากแอมป์ไม่ได้รับการออกแบบมาให้รองรับค่า Impedance ต่ำๆ แอมป์ก็จะเกิดความเสียหายได้
 
 
เครื่องเสียงที่ใช้งานในบ้านอย่าง ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ แอมป์ที่ใช้กับลำโพงโฮมเธียเตอร์ ใช้ฟังเพลง ดูหนังทั่วๆ ไปมักจะมีค่าประมาณ 6-8 โอห์ม ค่ายิ่งต่ำยิ่งต้องการกำลังสูง ลำโพงที่อิมพีแดนซ์ต่ำมากๆ บางตัวจึงขับยาก และต้องการแอมป์กำลังสูงๆ คุณภาพต้องดีมากๆ มาใช้งานขับลำโพงตัวนั้น
 
ในเครื่องเสียงบ้านมีการกำหนดมาตรฐานกลางของค่า Impedance อยู่ที่ 8 โอห์ม เพื่อไม่ให้ดึงกระแสไฟฟ้าจากแอมป์มากเกินไป ส่วนวงการเครื่องเสียงรถยนต์มีมาตรฐานกลางของค่า Impedance อยู่ที่ 4 โอห์ม

ข้อควรรู้เกี่ยวกับค่า Impedance

ข้อควรรู้เกี่ยวกับค่า Impedance


ค่า Impedance ตัวเลขต่างๆ ที่เราพบเจอในข้อมูลสเปค ไม่ใช่ค่าตายตัวของแอมป์ หรือลำโพง แต่เป็นค่าที่ให้ข้อมูลกับเราว่าแอมป์ หรือลำโพงนั้นๆ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ค่าความต้านทานเท่าไหร่

ค่า Impedance หรือค่าความต้านทานที่ใช้งานจริง อาจจะสูง หรือต่ำกว่านี้ก็ได้ในบางงาน ซึ่งแอมป์ หรือลำโพงก็ยังสามารถรองรับการทำงานได้ หรือผิดเพี้ยนไปจากค่าที่แจ้งไว้ หรือสูงกว่าได้


วิธีต่อลำโพง จากค่า Impedance(อิมพีแดนซ์)


วิธีการต่อลำโพง ถือว่าเป็นพื้นฐานเบื้องต้น วิธีการต่อลำโพงสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบหลักๆ คือ แบบอนุกรม (Series), แบบขนาน (Parallel), และแบบผสม (Series-Parallel)


การต่อลำโพงแบบอนุกรม

การต่อลำโพงแบบอนุกรม (Series)


การต่อลำโพงแบบอนุกรม (Series) คือ การต่อลำโพงโดยเอาขั้วบวก (+) ไปต่อกับขั้วลบ (-) ของดอกลำโพงใบถัดไปเรื่อยๆ การต่อลำโพงแบบอนุกรม มีผลทำให้ค่า Impedance รวมเพิ่มมากขึ้น

วิธีการคำนวณ

จากสมการ ZT (ค่า Impedance รวม) = Z1 + Z2 + Z3 ….+ Zn หรืออย่างเข้าใจง่าย โดยนำค่า Impedance ของดอกลำโพงมาบวกกัน

ตัวอย่าง

มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1 มีค่าอิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม, ดอกที่ 2 มีค่าอิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม, ดอกที่ 3 มีค่าอิมพีแดนซ์ 4 โอห์ม, ดอกที่ 4 มีค่าอิมพีแดนซ์ 4 โอห์ม
ค่าอิมพีแดนซ์รวม = 8 + 8 + 4 + 4 = 24 โอห์ม

การต่อลำโพงแบบอนุกรมดียังไง?

ความต้านรวมที่มากขึ้นทำให้แอมป์ไม่เสียหาย แต่ก็มีข้อจำกัด คือ หากลำโพงตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหา หรือเสีย ก็จะทำให้การต่อลำโพงทั้งหมด ไม่ทำงาน ไม่มีเสียง และอีกหนึ่งข้อจำกัด คือ ลำโพงทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะความต้านทานที่มากขึ้น ลดทอนสัญญาณจากแอมป์ เกิดการสูญเสียของสัญญาณเสียงไป ความคมชัดของเสียงลดลง เสียงเบาตามไปด้วย


การต่อลำโพงแบบขนาน

การต่อลำโพงแบบขนาน (Parallel)


การต่อลำโพงแบบขนาน (Parallel) คือ การต่อลำโพงโดยเอาขั้วบวก (+) ต่อกับขั้วบวก (+) และขั้วลบ (-) ต่อกับขั้วลบ (-) โดยการต่อลำโพงแบบขนาน มีผลทำให้ค่าอิมพีแดนซ์รวมลดลง

วิธีการคำนวณ

จากสมการ 1/ZT (อิมพีแดนซ์รวม) = (1/Z1 ) + (1/Z2 ) + (1/Z3 )…(1/Zn) การคำนวณแบบขนาน จะค่อนข้างซับซ้อน เพราะมีเศษส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่กรณีที่ทุกดอกมีอิมพีแดนซ์เท่ากัน สามารถนำค่าอิมพีแดนซ์มาหารจำนวนของดอกลำโพงได้เลย

ตัวอย่าง

มีดอกลำโพงจำนวน 4 ดอก ดอกที่ 1, 2, 3, และ 4 มีค่าอิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม เท่ากันทุกดอก
1/ค่าอิมพีแดนซ์รวม = (1/8) + (1/8) + (1/8) + (1/8)
ค่าอิมพีแดนซ์รวม = 4/8 แล้ว กลับเศษเป็นส่วน ได้ 8/4
ค่าอิมพีแดนซ์รวม = 2 โอห์ม

หรือในกรณีที่ดอกลำโพงมีค่าอิมพีแดนซ์เท่ากัน

มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1, 2, 3, และ 4 มีค่าอิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม เท่ากันทุกดอก
อิมพีแดนซ์รวม = (อิมพีแดนซ์) / (จำนวนดอก)
อิมพีแดนซ์รวม = 8/4
อิมพีแดนซ์รวม = 2 โอห์ม

การต่อลำโพงแบบขนานดียังไง?

เป็นการต่อลำโพงที่ง่ายที่สุด แต่ก็มีข้อจำกัด หากยิ่งต่อลำโพงมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ค่าความต้านทานรวมต่ำลงไปเรื่อยๆ ส่งผลให้แอมป์ต้องทำงานหนักมากขึ้นเรื่อยๆ และเกิดความร้อนสะสมขึ้นเรื่อยๆ


การต่อลำโพงแบบผสม

การต่อลำโพงแบบผสม (Series-Parallel Circuit)


การต่อลำโพงแบบผสม (Series-Parallel Circuit) คือ การต่อลำโพงที่นำการต่อลำโพงแบบอนุกรม และขนานมารวมผสมกัน

วิธีการคำนวณ

คิดคำนวณทีละส่วน คือ ส่วนที่ต่อแบบอนุกรม และส่วนที่ต่อกันแบบขนาน แล้วจึงนำส่วนดังกล่าวมาอนุกรมหรือขนานกับแล้วแต่ความเหมาะสม

ตัวอย่าง

มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1 ต่อแบบอนุกรมกับดอกที่ 2 และดอกที่ 3 อนุกรมกับดอกที่ 3 และที่สองชุดขนานกัน
อิมพีแดนซ์รวม = (8 + 8) // (8 + 8)
อิมพีแดนซ์รวม = 16 / 16
อิมพีแดนซ์รวม = 8 โอห์ม

การต่อลำโพงแบบผสมดียังไง?

การต่อลำโพงแบบผสม มีความซับซ้อนเล็กน้อย แต่จะให้เสียงที่ค่อนข้างดี ทั้งยังสามารถควบคุมความต้านทานรวมได้เพื่อที่จะให้แอมป์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ทำงานหนักจนเกินไป เสียงที่ออกมาก็เต็ม คมชัด ไม่เกิดการสูญเสียสัญญาณเสียงในระบบ


 

ข้อควรระวังในการต่อลำโพง


ข้อควรระวังของการการต่อลำโพง คือ เรื่องของขั้วลำโพง หากต่อลำโพงพ่วงกันหลายดอก เกิดปัญหาต่อกันผิดขั้ว ก็จะส่งผลให้เกิดการหักล้างของเฟสกัน ทำให้ได้เสียงที่เบาลง และหากการต่อพ่วงลำโพงมากจนเกินไป ทำให้ค่าอิมพีแดนซ์ต่ำเกินไป อาจสร้างความเสียหายต่อเพาเวอร์แอมป์ได้ เพราะเพาเวอร์แอมป์บางตัว บางรุ่นไม่ได้ออกแบบมากเพื่อรองรับการใช้งานกับค่าอิมพีแดนซ์ต่ำ

ขอบคุณ Soundvision


บทความที่คุณอาจจะสนใจ

ค่า Impedance คืออะไร?

ตอบ : ค่า Impedance (อิมพีแดนซ์) คือ ค่าความต้านทาน ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่มีผลต่อเฟสทางไฟฟ้า มีสัญลักษณ์ย่อเป็นตัว Z ใช้หน่วยเป็น Ω (โอห์ม) ในงานด้านเสียงค่าอิมพีแดนซ์เป็นค่าที่บ่งบอกการดึงกระแสไฟฟ้าของลำโพงตัวนั้นๆ มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω)

สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ Impedance

ตอบ : ค่า Impedance ที่เราเจอในสเปคของลำโพง ไม่ใช่ค่าตายตัวของแอมป์ หรือลำโพง แต่เป็นค่าที่แนะนำว่าแอมป์ หรือลำโพงนั้นๆ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ค่าความต้านทานกี่โอห์ม
ค่า Impedance ที่ใช้งานจริง อาจจะสูง หรือต่ำกว่าที่แนะนำก็ได้ ซึ่งแอมป์ หรือลำโพงก็ยังสามารถที่จะทำงานได้ตามปกติ แต่ถึงอย่างไรทีมงานก็แนะนำว่า “ควรที่จะต่อใช้งานตามที่แนะนำในใบสเปค เพื่อลดการเสียหายของลำโพงและแอมป์”

การต่อลำโพงที่ถูกต้องมีกี่วิธี อะไรบ้าง?

ตอบ : การต่อลำโพงที่ถูกต้องมีทั้งหมด 3 วิธี ดังนี้
1. การต่อลำโพงแบบอนุกรม (Series)
2. การต่อลำโพงแบบขนาน (Parallel)
3. การต่อลำโพงแบบผสม (Series-Parallel Circuit)

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รีวิว Soundvision ESiGO 8 PRO ลำโพงพกพา ตัวจบทุกงาน!

ลำโพงบลูทูธ ไซซ์เล็กพกพาสะดวก เสียงดีเกินตัว มาพร้อมมิกเซอร์ Built-In มาให้ 3 ชาแนล จะน่าสนใจแค่ไหน!? อยากรู้ คลิกเลย!

พรีวิว SONOS MOVE 2 ลำโพงบลูทูธอัจฉริยะ ยกระดับความสามารถในทุกมิติ

อัปเกรด และยกระดับความสามารถจากรุ่นก่อนในทุกมิติ โดดเด่นด้วยดีไซน์ และคุณภาพเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของ SONOS อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

Emulators ที่ดีที่สุดจาก App Store ของ Apple

สวัสดีคอเกมทุกท่าน วันนี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับคอเกมกัน นั่นก็คือ Game Emulators ครับ มาดูไปพร้อมๆ กันเลย

SONY ULT POWER SOUND ลำโพงและหูฟังรุ่นใหม่ ให้เสียงเบสที่หนักแน่น

รู้สึกเหมือนได้ดำดิ่งสู่แถวหน้าของคอนเสิร์ต ไปซีรีส์ ULT POWER SOUND ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ใจคุณสั่น ด้วยเสียงเบสที่ทรงพลัง

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่) ด้วยสินค้าจากแบรนด์ Electro-Voice และ SOUNDVISION ไปรับชมกันเลยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุมบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด

วันนี้เราก็มีผลงานติดตั้งมาให้ชมกันอีกเช่นเคยครับ โดยผลงานในครั้งนี้เป็นระบบเสียงห้องประชุม บริษัท บางกอกแล็ป แอน คอสเมติค จำกัดมหาชน (BLC)

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก