SPL คืออะไร ? | ค่า SPL ของเสียงต่างๆ และค่า SPL ของลำโพงที่ควรรู้

SPL คืออะไร ?
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » SPL คืออะไร ? | ค่า SPL ของเสียงต่างๆ และค่า SPL ของลำโพงที่ควรรู้

Estimated reading time: 4 นาที

สิ่งที่เราได้ยินได้สัมผัสทางหูของเราทุกวันมีความดังประมาณกี่ dB (เดซิเบล) กันบ้าง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันเพื่อเสริมสร้างความรู้ของเรา เดี๋ยวเราไปอัพเดทเกร็ดความรู้ SPL คืออะไร ? | ค่า SPL ของเสียงต่างๆ และค่า SPL ของลำโพงที่ควรรู้ ไปพร้อมกันเลยครับ

สารบัญ

SPL คืออะไร?


SPL ย่อมาจากคำว่า “Sound Pressure Level” (ซาวด์เพรสเชอร์เลเวล) คือ หน่วยวัดค่าความดังสูงสุดของเสียง ที่ ใช้หน่วยวัดเป็น dB ไม่มีกำหนดค่ามาตรฐาน ถ้า SPL มีค่าที่มาก หมายถึงความดังเสียงที่ดัง เพิ่มมากขึ้น และในขณะเดียวกัน ถ้า SPL มีค่าที่น้อย หมายถึงความดังเสียงที่มีความดัง ลดเบาลง

ตัวอย่าง ความดังทั่วๆ ไปที่เราได้ยิน มาดูกันว่ามีอะไรบ้างและมีความดังกี่ เดซิเบล

เสียงลมหายใจ 10 dB

เสียงกระซิบกัน 20 dB

เสียงฝนตกเบาๆ 50 dB

เสียงพูดคุยทั่วๆไป 60 dB

เสียงนกหวีดประมาณ 85 dB

เสียงเครื่องจักรจากโรงงาน 100 dB

เสียงดนตรีสดเปิดเพลงแดนซ์ในผับ 110 dB

เสียงคอนเสิร์ตแนวเพลงร็อคประมาณ 120-130 dB

ส่วนความดังสูงกว่านี้ เช่นเสียงเครื่องบิน เจ็ท ซึ่งมีความดังสูงมากประมาณ 140-145 dB

เมื่อสังเกตุจากกราฟสีแสดงผลจะเห็นว่า มีความดังตามระดับเรื่อยๆ จากความดังที่ระดับ 10 dB จนถึงความดังระดับสูงสุด คือ 140 -145 dB

คำเตือนข้อควรระวัง

dB ที่ไม่ควรรับฟังต่อเนื่องเพราะจะทำให้ปวดหูและเป็นอันตรายได้คือระดับ 85 -130 dB ขึ้นไป

การอ่านสเปคลำโพง

SOUNDVISION FLEXY E F1-110E ตู้ลำโพงไลน์อาร์เรย์ 10 นิ้ว 2 ทาง 350 วัตต์ FLEXY E F1 F1 110E 10-INCH PASSIVE LINE ARRAY SPEAKER

ลำโพงไม่ว่าจะเป็นแบบ พอยท์ซอร์ท (ภาพซ้าย), หรือไลน์อาเรย์ (ภายขวา) ในใบสเปคก็จะมีบอกทั้ง

  • ให้กำลังวัตต์เท่าใหร่ เช่น ลำโพง “ชอช้าง” มีกำลังวัตต์ 400/800/1200 วัตต์
  • ตอบสนองความถี่ เช่น 56 Hz-20KHz (Hz เฮิร์ต) (Khz กิโลเฮิร์ต)
  • ความไวตอบสนอง SPL (Sensivity) 99 dB 1 วัตต์ / 1 เมตร

1 วัตต์ / 1 เมตร คือ
(ป้อนกำลังวัตต์ 1 วัตต์ให้กับลำโพงและวัดระยะห่างจากลำโพง 1 เมตรก็จะได้ค่าความดัง SPL ซาวด์เพรสเชอร์เลเวล Sound Pressure Level ซึ่งมีหน่วยเป็น dB)

  • และมีความไวตอบสนองสูงสุดแม็กซิมั่ม (Maximum spl 129 dB )

ขอขยายความหมายของกำลังวัตต์ลำโพง


บางท่านโดยเฉพาะมือใหม่อาจจะงงหรือสงสัยกับ กำลังวัตต์ของลำโพง เช่น ลำโพง “ชอช้าง” มีกำลังวัตต์ 400/800/1200 วัตต์ ทำไมมีถึง 3 ค่ากำลังวัตต์ในลำโพงใบเดียว

เรามาดูความหมายของลำโพง “ชอช้าง”แบบละเอียดกันครับ

400 วัตต์ คือ วัตต์ rms Continuous คอนตินิวอัส

  • เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบด้วยการป้อนกำลังขับแบบต่อเนื่องด้วยสัญญาณ Sine Wave ต่อเนื่องติดต่อกันตามเวลาที่กำหนดโดยที่ตู้ลำโพง หรือดอกลำโพงไม่เกิดความเสียหาย

800 วัตต์ คือ วัตต์ Program โปรแกรม

  • เป็นค่าที่มากกว่า RMS Power หนึ่งเท่าตัว ใช้เพื่อเป็นตัวเลขอ้างอิงในการกำหนดค่าพารามิเตอร์ในระบบเสียง (เสียงร้อง เสียงดนตรี หรือการเล่นดนตรีสด) ซึ่งแอมปิจูดของสัญญาณไม่ต่อเนื่อง และไม่นิ่งมีการเคลื่อนไหวขึ้นๆ ลงๆ ตลอด

1200 วัตต์ คือ วัตต์ Peak พีค

  • เป็นค่าสูงสุด ( พีค ) ที่ตู้ลำโพง หรือ ดอกลำโพง สามารถรองรับได้ อาจจะเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นเลย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำดอกลำโพง

การคำนวณหาค่า Max SPL

  1. dB (SPL) =10 log P (กำลังวัตต์พีค ของลำโพง ชอช้าง) + Sensivity (ความไว)
  2. dB = ( 10 log 1200 ) + Sensivity
  3. 10 log 1200 อ่านว่า สิบล็อกหนึ่งพันสองร้อย สามารถเสิร์ทหาในกูเกิ้ลได้ครับว่าค่า  10 log 1200 ได้ค่าเท่าใหร่ เมื่อเสิร์ทหาจะได้ค่า 3.0 ก็นำมาคำนวนต่อไปนี้
  4. dB = 3.0 (3.0 คูณ 10 เท่ากับ 30) นำ 30 + 99 dB = 129 (สามสิบบวกกับเก้าสิบเก้าเท่ากับ หนึ่งร้อยยี่สิบเก้าดีบี) ซึ่งเมื่อเราไปดูสเปคของลำโพง ชอช้าง ด้านบนก็จะได้สเปคตามคำนวนนี้ครับ
10 log 1200 = 30

เปรียบเทียบลำโพงเพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น

sound pressure level คือ
  • ลำโพง ก มีกำลังวัตต์ 800 วัตต์ มีค่า SPL 95 dB
  • กับลำโพง ข มีกำลังวัตต์ 500 วัตต์ มีค่า SPL 99 dB

ลำโพง ข. ย่อมให้ความดังที่มากกว่าด้วยค่า dB ที่สูงกว่า แม้ลำโพง ก. จะมีกำลังวัตต์มากกว่าก็ตาม

**ทุกๆการเพิ่มพลังงาน 1 เท่าความดังจะเพิ่มขึ้น 3 dB**

ต่อลำโพงแบบขนาน SPL

หากเมื่อเราใช้ไฟฉายส่องไปในที่มืด เพียงอันเดียว แสงสว่างย่อมน้อยกว่าเมื่อเราใช้ไฟฉาย 2 อันส่องไปในที่มืด เช่นเดียวกัน ลำโพง ข มีกำลังวัตต์ 500 วัตต์ มีค่า SPL 99 dB เมื่อเรานำตู้ลำโพง ข มาต่อขนานพ่วงกันจะได้ความดังที่เพิ่มมากขึ้น จาก 99 dB + 3 dB ก็จะได้ความดังถึง 102 dB

สรุป

ทั้งนี้ หากค่า SPL ของลำโพงมีค่าที่มาก หากไม่เกิดเสียงที่แตกพร่าและยังคงให้ความดังเสียงที่สะอาดและชัดเจน มีคุณภาพก็ถือว่าดี แต่ถ้าตรงกันข้ามเกิดเสียงที่แตกพร่าล่ะก็ ถือว่าคุณภาพไม่ดี

ฉะนั้นหากเราต้องเลือกลำโพงไว้ใช้งาน อันดับแรกๆที่ควรคำนึงถึงคือเรื่อง dB ของลำโพงนั่นเอง วัตต์ไม่ใช่ตัวกำหนดความดังของเสียงแต่อย่างใด แต่วัตต์ของลำโพงบอกถึงการทนกำลังได้สูงสุดกี่วัตต์

ดังนั้น ค่า SPL ของลำโพงมีความสำคัญ และมีส่วนในการคำนวนเลือกใช้จำนวนลำโพงให้เหมาะสมกับระบบในแต่ล่ะงานนั่นเองครับ

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รีวิว Soundvision ESiGO 8 PRO ลำโพงพกพา ตัวจบทุกงาน!

ลำโพงบลูทูธ ไซซ์เล็กพกพาสะดวก เสียงดีเกินตัว มาพร้อมมิกเซอร์ Built-In มาให้ 3 ชาแนล จะน่าสนใจแค่ไหน!? อยากรู้ คลิกเลย!

พรีวิว SONOS MOVE 2 ลำโพงบลูทูธอัจฉริยะ ยกระดับความสามารถในทุกมิติ

อัปเกรด และยกระดับความสามารถจากรุ่นก่อนในทุกมิติ โดดเด่นด้วยดีไซน์ และคุณภาพเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของ SONOS อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

Emulators ที่ดีที่สุดจาก App Store ของ Apple

สวัสดีคอเกมทุกท่าน วันนี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับคอเกมกัน นั่นก็คือ Game Emulators ครับ มาดูไปพร้อมๆ กันเลย

SONY ULT POWER SOUND ลำโพงและหูฟังรุ่นใหม่ ให้เสียงเบสที่หนักแน่น

รู้สึกเหมือนได้ดำดิ่งสู่แถวหน้าของคอนเสิร์ต ไปซีรีส์ ULT POWER SOUND ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ใจคุณสั่น ด้วยเสียงเบสที่ทรงพลัง

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่) ด้วยสินค้าจากแบรนด์ Electro-Voice และ SOUNDVISION ไปรับชมกันเลยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุมบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด

วันนี้เราก็มีผลงานติดตั้งมาให้ชมกันอีกเช่นเคยครับ โดยผลงานในครั้งนี้เป็นระบบเสียงห้องประชุม บริษัท บางกอกแล็ป แอน คอสเมติค จำกัดมหาชน (BLC)

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก