ทำไม ความดังของเสียง ถึงลดลงตามระยะทาง?

ทำไม ความดังของเสียง ถึงลดลงตามระยะทาง
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » ทำไม ความดังของเสียง ถึงลดลงตามระยะทาง?

Estimated reading time: 2 นาที

สวัสดีครับทุกท่านมาพบกับ บทความดีดีที่ช่วยเสริมทักษะเรื่องระบบเสียง งาน P.A. กันอีกเช่นเคย เรื่อง ทำไม ความดังของเสียง ถึงลดลงตามระยะทาง? ซึ่งในวันนี้ผมมีเกร็ดความรู้เรื่องของ ระยะห่างกับความดัง มันสัมพันธ์กันอย่างไร?

ทำไม ความดังของเสียง ถึงลดลงตามระยะทาง ?

ซึ่งวันนี้ ผมขอหยิบยก สูตรคำนวณ จุดกำเหนิดเสียงและระยะทางที่ห่างออกไป ว่าแต่ละจุด ได้ยินเสียงกี่ dB แบบง่ายๆเพื่อเป็นตัวช่วยให้สามารถ วิเคราะห์และ ชดเชย ระบบเสียงของ F.C ทุกท่านที่กำลังติดตามเพจเราขณะนี้ให้เข้าใจมากขึ้น และสามารถนำไปต่อยอด นำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในงานระบบเสียง ของทุกท่าน พร้อมแล้วมาติดตามพร้อมกันเลยครับ

จะกล่าวถึงระบบเสียงทุกระบบ เล็ก กลาง ใหญ่ พระเอกที่ก่อให้เกิดเสียงหลักๆและเป็นภาคเอ้าท์พุทภาคสุดท้ายก่อนถึงหูผู้ฟัง แน่นอนครับคงเป็นอะไรไปไม่ได้ นั่นคือลำโพงหรือ (Loundspeaker) ซึ่งลำโพงก็ถูกขับโดยอาศัยพลังงานจากเครื่องขยายเสียง จึงทำให้เกิดเสียงออกมานั่นเอง ครับ

ในระบบเสียงขนาดเล็กหรือ System ขนาดเล็ก ลำโพงข้างละใบสองใบกับการใช้งานพื้นที่ขนาดเล็ก แน่นอนว่าการคอลโทรลควบคุมเสียง จะทำได้ง่ายกว่าพื้นที่ขนาดใหญ่เพราะการคำนวณความดังกับจำนวนผู้ฟังที่มีจำกัดนั้นย่อมทำได้ง่าย แต่ถ้างานสเกลที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สเตเดียม ฮอลล์ สนามกีฬา

ที่มีผู้ชมผู้ฟังเยอะขึ้น หลักพันหลักหมื่นคน แน่นอนว่า การคำนวณความดังกับระยะทาง ที่เสียงจะเดินทางไปถึงเป้าหมายหรือจุดผู้ฟังแต่ละจุดให้ได้คุณภาพเสียงที่ใกล้เคียงกัน จะต้องมีรายละเอียดเยอะกว่ามากกว่าเป็นธรรมดา

เครื่องเสียงกลางแจ้ง คืออะไร ? (P.A sound system)

Inverse Square Law (อินเวิร์ส สแคว์ลอ) คืออะไร ?

ผมมีตัวอย่างเพื่อให้ทุกท่านมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ความดังของเสียง โดยทฤษฎีของลำโพง การกำเนิดของเสียง จะถูกนิยามให้กำเนิดออกมาจากจุดเดียว เสียงที่กำเนิดออกมาหากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพแล้ว อาจจะสามารถเปรียบเทียบได้กับ ไฟ Folo 

เมื่อส่องไฟ Folo เข้าไปที่วัตถุๆหนึ่ง ที่มีระยะห่างระดับหนึ่งไม่ไกลมาก เราจะเห็นว่าการกระจายของแสง จะมีการโฟกัสไปที่วัตถุที่ชัดเจน และมีความเข้มของแสงที่เข้มกว่าอย่างชัดเจน

แต่ถ้าเมื่อใหร่เรานำไฟ Folo ถอยห่างออกมาจากวัตถุนั้นมากขึ้นเท่าใหร่ ความเข้มของแสงที่ส่องวัตถุนั้นก็จะบางลงตามใปด้วย เนื่องจากมีระยะที่ไกลขึ้นนั่นเอง

พอผมยกตัวอย่างการส่องไฟ Folo กับวัตถุ ทุกท่านก็พอจะมองเห็นภาพแล้วใช่ใหมครับ

ซึ่งระบบการกระจายเสียงของลำโพงก็เป็นแบบนั้นเช่นเดียวกันครับ เมื่อพลังงานความดังของลำโพงกระจายตัวออกมา เมื่อยิ่งห่างกับจุดของผู้ฟัง กว่าจะเดินทางไปถึงผู้ฟังก็จะมีการสูญเสียกับปัจจัยแวดล้อมอยู่แล้ว

(ทุก ๆ 1 เท่าของระยะทาง ของความดังนั้น พลังงานเสียงจะลดลงไปถึง 6 dB เลยทีเดียว) ซึ่งเราเรียกกฎนี้ว่า Inverse square Law 

คราวนี้มาดูสูตรที่ใช้หาความดังที่ลดลงไปกันครับ

dB SPL – 20 Log D

  • D  คือระยะทางจากลำโพง ถึง ผู้ฟัง
  • SPLD คือความดังที่ระยะของผู้ฟังจะได้ยิน

เช่น  คอนเสิร์ตแนวร็อคกลางแจ้ง ชุดลำโพง PA ให้กำเนิดเสียงที่  143 dB  หากเราอยากทราบว่า ผู้ฟังที่อยู่ห่างออกไปอีก 30 เมตร จะได้ยินเสียงอยู่ที่กี่ dB ?

ให้เราแทนค่าตามสูตรต่อไปนี้ครับ

143 – 20 Log30

( หนึ่งร้อยสี่สิบสามดีบี ลบ ยี่สิบล็อก ตามด้วยระยะห่าง(เมตร) )

คำตอบที่ได้คือ 113.457574906 (หรือ 113dB กว่า)

การคำนวณนี้สามารถเซิร์ทหาในกูเกิ้ลได้เลยครับ เช่น

143 – 20 Log30 จะมีรูปเครื่องคิดเลขเฉพาะขึ้นมา การคำนวณจะคิดให้เราเรียบร้อย

เพียงแค่ใส่ตัวเลขและสูตรให้ถูกต้องตามตัวอย่าง และตามหน้างานจริงของเรา

ตัวเลขแต่ละตัวคืออะไร ?

  • 143dB คือความดังของลำโพง PA.
  • -20 Log คือสูตร (ลบ ยี่สิบล็อก)
  • 30 คือระยะห่างของจุดกำเหนิดเสียง(ลำโพง)ถึงจุดผู้ฟัง
ระยะห่างเสียง

นั่นคือผู้ชมที่อยู่ห่างจากจุดกำเนิดเสียง 30 เมตร ก็จะได้ยินความดังเสียงอยู่ที่ 113 dB SPL

ซึ่งถ้าหากท่านผู้ชมหรือผู้ฟังอยู่ไกลเกิน 30 เมตร ความดังก็จะลดหลั่นลงไปตามระยะทาง

เมื่อเราพอทราบแล้วว่า ระยะทางต่างๆที่ห่างออกไปจะได้ความดังกี่ dB มาถึงตรงนี้ เราก็สามารถคำนวณ การเพิ่มจุดลำดีเลย์ (Delay) ได้ด้วยหลักการเบื้องต้น

นี่ก็เป็นสูตรการคำนวณแบบง่ายๆ สำหรับการหาความดังกับระยะห่างระหว่างลำโพงและผู้ฟัง เบื้องต้นที่นำมาฝากกันในวันนี้ ผู้เขียนหวังว่าจะเกิดประโยชน์กับท่านผู้อ่านทุกท่าน

พบกันในบทความและเกร็ดความรู้รวมถึงการอัพเดทโปรดักส์ใหม่ๆได้ที่นี่ Sound dd.Shop สำหรับวันนี้ขอบคุณและสวัสดีครับ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอดไลน์ที่: @sounddd.shop (มี @ ข้างหน้าด้วยนะครับ)

Facebook : SoundDD.Shop

Website: www.sounddd.shop

Tel:  02 435 8998 | 085 396 8888

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รีวิว Soundvision ESiGO 8 PRO ลำโพงพกพา ตัวจบทุกงาน!

ลำโพงบลูทูธ ไซซ์เล็กพกพาสะดวก เสียงดีเกินตัว มาพร้อมมิกเซอร์ Built-In มาให้ 3 ชาแนล จะน่าสนใจแค่ไหน!? อยากรู้ คลิกเลย!

พรีวิว SONOS MOVE 2 ลำโพงบลูทูธอัจฉริยะ ยกระดับความสามารถในทุกมิติ

อัปเกรด และยกระดับความสามารถจากรุ่นก่อนในทุกมิติ โดดเด่นด้วยดีไซน์ และคุณภาพเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของ SONOS อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

Emulators ที่ดีที่สุดจาก App Store ของ Apple

สวัสดีคอเกมทุกท่าน วันนี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับคอเกมกัน นั่นก็คือ Game Emulators ครับ มาดูไปพร้อมๆ กันเลย

SONY ULT POWER SOUND ลำโพงและหูฟังรุ่นใหม่ ให้เสียงเบสที่หนักแน่น

รู้สึกเหมือนได้ดำดิ่งสู่แถวหน้าของคอนเสิร์ต ไปซีรีส์ ULT POWER SOUND ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ใจคุณสั่น ด้วยเสียงเบสที่ทรงพลัง

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่) ด้วยสินค้าจากแบรนด์ Electro-Voice และ SOUNDVISION ไปรับชมกันเลยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุมบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด

วันนี้เราก็มีผลงานติดตั้งมาให้ชมกันอีกเช่นเคยครับ โดยผลงานในครั้งนี้เป็นระบบเสียงห้องประชุม บริษัท บางกอกแล็ป แอน คอสเมติค จำกัดมหาชน (BLC)

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก