แผ่นซับเสียง หรือวัสดุ Sound Absorbtion คืออะไร? มาดูตัวอย่างห้องที่ทำ อคุสติกพาเนล (Acoustic Panel) กันเสียงสะท้อน Echo

แผ่นซับเสียง หรือวัสดุ Sound Absorbtion คืออะไร
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » แผ่นซับเสียง หรือวัสดุ Sound Absorbtion คืออะไร? มาดูตัวอย่างห้องที่ทำ อคุสติกพาเนล (Acoustic Panel) กันเสียงสะท้อน Echo

Estimated reading time: 4 นาที

มารู้จักกับ แผ่นซับเสียง กันว่ามันคืออะไร? หากห้องของเราไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเป็น ห้องบันทึกเสียงหรือห้องสตูดิโอตั้งแต่แรก วันดีคืนดีเราอยากจะบันทึกเสียง, เล่นดนตรี, ร้องเพลง, ทำรีวิว, อัดวีดีโอทำคอนเท้นท์, เรียนออนไลน์,  Work From Home หรือเป็นห้องประชุมขึ้นมา 

แต่ติดตรงที่อคูสติค ห้องเราเสียงก้อง พูดแล้วเกิดการสะท้อนกลับ หากจะบันทึกเสียง หรือจะใช้งานในห้องอคูสติคแบบนี้ไม่เวิร์คแน่

แล้วจะทำยังไงดี? ย้ายห้องดีไหมนะ? ใจเย็นๆแล้วมาอ่านบทความนี้กันก่อนนะครับ

เลือกอ่านตามหัวข้อ คลิกเลย

แผ่นซับเสียง หรือ Sound Absorbtion คืออะไร?

3 ไอเดีย สำหรับท่านที่คิดจะมีห้องสตูดิโอเป็นของตัวเอง

แผ่นซับเสียง คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการ ช่วยลดเสียงก้อง และ ช่วยลดเสียงสะท้อนกลับ ซึ่งเกิดจากอคูสติกห้อง ส่วนมากจะเจอในห้องทั่วไปที่ออกแบบในแนวขนานระหว่าง ผนังหรือเพดาน หรือห้องที่มีกระจกเป็นต้น

วิธีแก้ไขก็คงหนีไม่พ้น ต้องหาวัสดุหรืออุปกรณ์ มาวาง มาแปะ เพื่อให้อาการก้อง หรืออาการแอคโค่ (Echo) ลดลง

เปรียบเทียบ ก่อน และหลังติดตั้งแผ่นซับเสียง

แชร์หน้านี้ :

คลิปวิดีโอตัวอย่างห้องที่ใช้แผ่นซับเสียง ป้องกันเสียงก้อง สะท้อน เสียง Echo สำหรับทำห้องสตูดิโอ เล่นดนตรี ดูหนัง พร้อมเปรียบเทียบก่อนทำ และหลังทำ ให้ได้ดูช่วง (ช่วงท้ายๆคลิป)

วัสดุซับเสียงมีแบบไหนบ้าง?

วัสดุซับเสียงที่เป็นประเภทเยื่อแผ่น (อาทิ ผนังที่มีหลายชั้นกระจกสองชั้น หรือการติดผ้าม่านให้กับผนัง/ช่องเปิด) สำหรับเสียงที่มีความถี่ต่ำ

วิธีติดแผ่นวัสดุซับเสียง

จากภาพ ด้านหลังผ้าม่าน จะเป็นหน้าต่างซึ่งเป็นกระจก ซึ่งถ้าปิดม่านไว้ก็จะช่วยลดเสียงสะท้อนได้ในระดับนึง ด้านบนหน้าต่างเหลือพื้นที่ว่าง ก็ทำการติดตั้งแผ่นซับเสียงเข้าไป

แผ่นวัสดุซับเสียงในห้อง

จากภาพ ฝั่งซ้าย และขวาของประตูเดิมจะเป็นกระจกบานใหญ่เทียบเท่าประตูเลยทีเดียว ก็ต้องตัดสินใจแล้วละครับว่าจะติดแผ่นซับเสียงเข้าไป หรือใช้วิธีปิดผ้าม่านแทน ส่วนด้านบนเหลือพื้นที่ว่าง ก็จัดการติดตั้งแผ่นซับเสียงให้เรียบร้อย

วัสดุซับเสียงที่โปร่งเบาเป็นฝอยเป็นรูพรุน (อาทิ ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน ฉนวนเซลลูโลส โฟมประเภทต่างๆ) คุณสมบัติก็แตกต่างกันไป ตามความแข็งแรง ความหนาแน่น และการใช้งาน เหมาะสำหรับสียงที่มีความถี่สูง

วิธีติดแผ่นวัสดุซับเสียงในห้อง

จากภาพด้านบน จะเห็นว่าที่ผนังกำแพง จะมีช่องเว้นว่างอยู่ ให้เรานำแผ่น วัสดุซับเสียงเข้าไปติดตั้ง ก็จะช่วยลดเสียงสะท้อนได้ในระดับนึงเลย

วิธีทำแผ่นวัสดุซับเสียง

ไม่เพียงแต่ที่ผนังเท่านั้น เพราะเสียงไม่ได้เดินทางแค่แนวราบ ที่เพดานเราก็ต้องติดตั้งแผ่นวัสดุซับเสียงด้วยเช่นกัน

ในภาพเป็นห้องขนาดใหญ่ ก่อนติดตั้งวัสดุซับเสียง เวลาใช้งานไม่ว่าจะพูดคุย ประชุม เปิดเพลง เสียงก้อง สะท้อน Echo มาเต็มสุดๆ

ภายหลังจากการ ติดตั้งแผ่นวัสดุซับเสียงเข้าไปแล้ว เสียงก้อง สะท้อน เสียง Echo ก็หายไปทันที

แต่ในบางครั้งการติดแผ่นวัสดุซับเสียงที่มากเกินไปก็ใช่ว่าจะให้ผลดีเสมอไป

เพราะอย่าลืมสังเกตุว่าในบางห้องเมื่อเราติดวัสดุซับเสียงที่มากจนเกินไป เวลาเราพูด ทำไมเรารู้สึกเหมือนต้องตะโกนเมื่อเราคุยกัน พูดแป๊บเดียวทำไมรู้สึกเหนื่อยๆ ต้องออกแรงเยอะ

ก็เพราะว่า อคูสติคที่แห้งหรือเดท จนเกินไป (อธิบาย คือลักษณะห้องที่ไม่มีเสียงก้องหรือเสียงสะท้อนของเสียงเลย)

ห้องที่เงียบที่สุดในโลก เงียบจนได้ยินเสียงจังหวะหัวใจตัวเอง!!

ห้องที่เงียบที่สุดนี้มีชื่อว่า Eckel Anechoic Chamber ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยห้องเก็บเสียงนี้ สร้างขึ้นมาด้วยวัสดุดูดซับเสียงชนิดพิเศษติดตั้งไว้ทั่วบริเวณห้อง ทั้งที่กำแพง ที่เพดานห้อง และที่ประตู

นอกจากวัสดุดูดซับเสียงที่ติดตั้งไปแล้ว ยังมีการติดตั้งระบบกันสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันไม่ให้มีเสียงสั่นจากข้างนอกเล็ดลอดเข้ามา ตัดขาดจากเสียงภายนอกโดยสิ้นเชิง ซึ่งจากการวิเคราะห์ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ระดับเสียงที่เงียบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้คือ -23 เดซิเบล ….(อ่านต่อคลิก)

ทำไม? ราคาของแผ่นซับเสียงแต่ละยี่ห้อจึงมีความแตกต่างกันมาก

3 ไอเดีย สำหรับท่านที่คิดจะมีห้องสตูดิโอเป็นของตัวเอง ห้องสตูดิโอมีกี่แบบกันนะ แบ่งออกให้เห็นภาพกันแบบง่ายๆ สามแบบแล้วกันนะครับ จะได้มองภาพออกแบบง่ายๆ

เหตุที่แผ่นซับเสียงแต่ละยี่ห้อหรือรูปแบบมีราคาจำหน่ายต่างกัน มีเหตุผลหลักคือวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน หรือแก้ปัญหาด้านเสียงที่ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น

แผ่นซับเสียงที่ใช้แก้ปัญหาเสียงเอ็คโค่ (Echo) ในห้องซ้อมดนตรีห้องอัดเสียง สามารถใช้วัสดุที่เป็นเส้นใยโปลีเอสเตอร์ ใยแก้ว หรือเยื่อไม้ได้

ในขณะที่แผ่นซับเสียงที่ใช้แก้ปัญหาเสียงดังในห้องคลีนรูม อาจใช้ได้แค่แผ่นซับเสียงที่ผลิตจากวัสดุโพลียูรีเทนฉีดขึ้นรูปเท่านั้น เพราะต้องระวังอย่างยิ่งมิให้มีฝุ่นหรือการปนเปื้อนรวมไปถึงเชื้อราเกิดขึ้นในไลน์ผลิต ยังไม่นับรวมถึงคุณสมบัติอื่นๆที่แผ่นซับเสียงบางรุ่นต้องมี เช่น ทนรังสียูวีหรือไอเคมี กันน้ำและน้ำมัน และกันการลามไฟ เป็นต้น

วิธีทำแผ่นวัสดุซับเสียงด้วยตนเองง่ายๆ (แบบฉบับ DIY)

แชร์หน้านี้ :

สำหรับท่านใดที่พอมีทักษะด้านช่างไม้ หรือจะจ้างช่างไม้ ก็สามารถทำซับเสียง กันเสียงสะท้อนในห้องได้ไม่อยาก สามารถทำได้ด้วยตนเอง ประหยัด ใช้งานได้จริง ดูคลิปวิดีโอด้านบนเป็นตัวเอย่างไรเลยครับ

แผ่นซับเสียงใช้ไม่ได้ผลกับกรณีไหนบ้าง?

ปัญหาด้านเสียงที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยการใช้แค่แผ่นซับเสียง คือ เสียงที่มีความสั่นสะเทือนร่วมด้วย เช่น คอมเพรสเซอร์แอร์ยึดติดกับผนังบ้านโดยไม่มียางรองกันสั่น แล้วทำให้เกิดเสียงก่อให้เกิดความรำคาญใจ

ซึ่งในเคสนี้หากนำแผ่นวัสดุซับเสียงมาติดภายในห้องเพื่อจะลดเสียง การสั่นสะเทือนของคอมเพรสเซอร์แอร์ จะไม่ได้ผล เพราะลักษณะเสียงเดินทางผ่านโครงสร้างของตัวบ้านหรืออาคาร

สำหรับวิธีแก้ไขในกรณีนี้ อาจจะต้องติดตั้งระบบกันสั่นสะเทือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีเสียงสั่นจากข้างนอกเข้ามา

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆแผ่นซับเสียงที่ติดแล้วจะทำให้ได้ผลดีคือ ใช้กับลักษณะของเสียงที่เดินทาง ทางอากาศ เช่น เสียงของคลื่นเสียงจาก เสียงเพลง เสียงดนตรี หรือเสียงพูด เสียงจากลำโพง เป็นต้น

จะทราบได้อย่างไร ? ว่าในห้องต้องติดตั้งแผ่นซับเสียงขนาดเท่าไร จำนวนกี่แผ่น

เบื้องต้นให้คำนวนจาก ขนาดของพื้นที่จริงที่สามารถติดตั้งได้ก่อน เช่น ผนังกว้าง 6×4 เมตร ก็นำมาคำนวนกับขนาดของแผ่นซับเสียง ขนาด 120×60 ซม. จะได้จำนวนแผ่นที่จะใช้ติด วิธีคำนวนคือ 

24 ตารางเมตร (มาจาก 6×4 เมตร) ÷ 0.72(ขนาดแผ่นซับเสียง)

= ผนังกว้าง 6×4 เมตร ควรติดตั้งแผ่นซับเสียงขนาด ขนาด 120×60 ซม. ประมาณ 33 แผ่น

แต่เวลาติดตั้งจริง จะใช้น้อยกว่านี้ เพราะจะไม่ได้ติดตั้งแผ่นซับเสียงแบบเรียงติดๆกัน แต่จะติดแบบเว้นให้พื้นที่ว่างเหลือไว้บ้าง และอาจจะต้อง เว้นช่องหน้าต่าง หรือเว้นช่องที่ไม่สามารถติดตั้งได้อีกด้วย

หรือใช้เครื่องมือ RT60 (Reverberation time RT60) ในการตรวจสอบเสียงในตำแหน่งต่างๆ ก็จะทำให้คำนวนได้อย่างแม่นยำมากขึ้น Reverberation time RT60  คืออะไร คลิก

แผ่นซับเสียง ป้องกันเสียงออกไปภายนอกห้องได้หรือไม่ ?

ไม่ได้ ถ้าจะป้องกันเสียงออก ต้องทำการติดตั้งฉนวนกันเสียงกั้นระหว่างกำแพงห้อง และที่เพดาน

แผ่นซับเสียง ป้องกันเสียงภายนอก ไม่ให้เข้ามาห้องได้หรือไม่ ?

ไม่ได้ ถ้าจะป้องกันเสียงเข้ามา ต้องทำการติดตั้งฉนวนกันเสียงกั้นระหว่างกำแพงห้อง และที่เพดาน จะให้ดีต้องทำการติดตั้งจากทั้ง 2 ห้อง ทั้งห้องต้นเสียง และปลายเสียง

แผ่นซับเสียง VS ฉนวนกันเสียง ต่างกันอย่างไร ?

ติดตั้งแผ่นกันเสียง
แผ่นซับเสียง

แผ่นซับเสียง คืออะไร?

  • แผ่นซับเสียง คือ แผ่นที่ทำจากเส้นใยต่างๆ เช่น ใยแก้ว ใยหิน ฟองน้ำ หรือโฟม อาจหุ้มผ้าหรือปิดผิวด้วยวิธีการอื่นๆ ใช้สำหรับดูดซับเสียง (Sound Absorption) คือ ดูดซับเสียง เมื่อเสี ยงมาตกกระทบจะดูดซับเสียงนั้น ไม่ให้สะท้อนกลับ
  • ใช้สำหรับ ติดตั้งที่ผนังหรือฝ้าเพดาน เพื่อซับเสียงภายในห้อง ป้องกันเสีนงก้อง สะท้อน Echo

แผ่นซับเสียง ไม่เหมาะสำหรับได้ใช้ในการกันเสียง!! ต่อให้นำมาติดตั้งทั่วบริเวณผนัง ก็ไม่ได้ช่วยให้กันเสียงดีขึ้นเท่าที่ควร

ฉนวนกันเสียง
ฉนวนกันเสียง

ฉนวนกันเสียง คืออะไร?

  • นวนกันเสียง คือ แผ่นฉนวนทำจากเส้นใยต่างๆ วัสดุหลักเหมือนกันกับแผ่นซับเสียง แต่ส่วนผสม ความหนาแน่น วัสดุหุ้ม และรูปแบบแผ่น จะแตกต่างกับแผ่นซับเสียง
  • ใช้สำหรับ ติดตั้งที่ผนังกำแพง เพื่อให้ผนังนั้นๆกันเสียงได้ดีขึ้น สามารถนำมาติดตั้งที่เพดานได้เช่นกัน

แผ่นซับเสียงใช้ลดเสียงก้องเสียงสะท้อนในห้อง ส่วนฉนวนกันเสียงใช้ติดตั้งใส่ในผนังเพื่อให้ผนังกันเสียงเข้า – ออกห้อง  (ขอบคุณข้อมูลจาก ZEN ACOUSTIC)

สรุป

ติดตั้งไปแล้ว จะใช้งานได้ดีมากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับรูปแบบห้อง วัสดุที่นำมาใช้ทำแผ่นซับเสียง และการติดตั้งที่ได้วางแผนวิเคราะห์คำนวณออกมาแล้ว การติดตั้ง และให้ใช้งานได้ทั้ง กันเสียงก้อง เสียงสะท้อน และกันเสียงเข้า – ออก ก็เช่นเดียวกัน ฉนวนกันเสียงบางรุ่นสามารถทนทานต่อไฟไหม้ได้ด้วย

สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดต่อเข้ามารับคำปรึกษาจากผู้เชียวชาญได้ ฟรี! ได้ที่ช่องทางด้านล่างนี้เลยครับ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอดไลน์ที่: @sounddd.shop (มี @ ข้างหน้าด้วยนะครับ)

Facebook : SoundDD.Shop

Website: www.sounddd.shop

Tel:  02 435 8998 | 085 396 8888

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รีวิว Soundvision ESiGO 8 PRO ลำโพงพกพา ตัวจบทุกงาน!

ลำโพงบลูทูธ ไซซ์เล็กพกพาสะดวก เสียงดีเกินตัว มาพร้อมมิกเซอร์ Built-In มาให้ 3 ชาแนล จะน่าสนใจแค่ไหน!? อยากรู้ คลิกเลย!

พรีวิว SONOS MOVE 2 ลำโพงบลูทูธอัจฉริยะ ยกระดับความสามารถในทุกมิติ

อัปเกรด และยกระดับความสามารถจากรุ่นก่อนในทุกมิติ โดดเด่นด้วยดีไซน์ และคุณภาพเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของ SONOS อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

Emulators ที่ดีที่สุดจาก App Store ของ Apple

สวัสดีคอเกมทุกท่าน วันนี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับคอเกมกัน นั่นก็คือ Game Emulators ครับ มาดูไปพร้อมๆ กันเลย

SONY ULT POWER SOUND ลำโพงและหูฟังรุ่นใหม่ ให้เสียงเบสที่หนักแน่น

รู้สึกเหมือนได้ดำดิ่งสู่แถวหน้าของคอนเสิร์ต ไปซีรีส์ ULT POWER SOUND ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ใจคุณสั่น ด้วยเสียงเบสที่ทรงพลัง

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่) ด้วยสินค้าจากแบรนด์ Electro-Voice และ SOUNDVISION ไปรับชมกันเลยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุมบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด

วันนี้เราก็มีผลงานติดตั้งมาให้ชมกันอีกเช่นเคยครับ โดยผลงานในครั้งนี้เป็นระบบเสียงห้องประชุม บริษัท บางกอกแล็ป แอน คอสเมติค จำกัดมหาชน (BLC)

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก