วิธีดูกำลังวัตต์ลำโพง (Power Handling) | การใช้งานลำโพงร่วมกับเพาเวอร์แอมป์

Power-Handling
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » วิธีดูกำลังวัตต์ลำโพง (Power Handling) | การใช้งานลำโพงร่วมกับเพาเวอร์แอมป์

Estimated reading time: 2 นาที

วิธีดูกำลังวัตต์ลำโพง (Power Handling) | การใช้งานลำโพงร่วมกับเพาเวอร์แอมป์ เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยได้ยินคำว่า ลำโพงแบบ Passive หรือลำโพงที่ไม่มีภาคแอมป์ขยายในตัว และอีกหนึ่งคำ ลำโพงแบบ Active นั่นก็คือ ลำโพงที่มีภาคแอมป์ขยายในตัว (Powered Loud Speaker) ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงลำโพง Passive เนื่องจากไม่มีแอมป์ขยายในตัว เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เวลาใช้งาน จะต้องใช้งานร่วมกับเครื่องขยายเสียง หรือเพาเวอร์แอมป์ด้วยนั่นเอง เพื่อดึงประสิทธิภาพการทำงานของตู้ลำโพง Passive นั้นๆ ออกมาให้เต็มที่

JBL jrx100

แนะนำความรู้เกี่ยวกับลำโพง (Speaker)

ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกลอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเชิงกล เกิดเป็นรูปแบบพลังงานของเสียง

คำว่า “ลำโพง” มักจะเรียกรวมกัน ทั้งดอกลำโพง หรือตัวขับ (Driver) และลำโพงทั้งตู้ (Speaker System) ภายในตู้ลำโพงจะประกอบไปด้วยลำโพง และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Crossover Network) สำหรับแบ่งแยกย่านความถี่ ซึ่งลำโพงที่ดีนั้น จะต้องสามารถตอบสนองความถี่เสียง ให้เสียงที่ใกล้เคียง หรือเหมือนต้นฉบับเดิมให้มากที่สุด หรือผิดเพี้ยนให้น้อยที่สุด

วิธีดูกำลังวัตต์ (Power Handling) ของตู้ลำโพง 

วัตต์ (Watts) เป็นค่าที่บอกถึงความสามารถของตู้ลำโพง หรือดอกลำโพงนั้นๆ ว่าสามารถรองรับกำลังขับจากเครื่องขยายเสียง (Power Amplifier) ได้มากหรือน้อยเท่าไหร่ เราสามารถตรวจสอบกำลังวัตต์ของตู้ลำโพงได้จาก สเปคของลำโพงแต่ละรุ่น หรืออาจสังเกตได้จากแผ่นเพลตด้านหลังของตู้ลำโพง ในส่วนนี้เราเรียกค่านี้ว่า Power Handling

วิธีดู Power Handling 3 ประเภทหลักๆ 

– Continuous Power หรือ RMS Power
เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบด้วยการป้อนกำลังขับด้วยสัญญาณ Sine Wave อย่างเนื่องติดต่อกันตามเวลาที่กำหนด โดยที่ตู้ลำโพง หรือดอกลำโพงทำงานได้อย่างไม่เกิดความเสียหาย

– Program Power
เป็นค่าที่มากกว่า RMS Power หนึ่งเท่าตัว ใช้เพื่อเป็นตัวเลขอ้างอิงในการกำหนดค่าพารามิเตอร์ในระบบเสียง (เสียงร้อง เสียงดนตรี หรือการเล่นดนตรีสด) ซึ่งแอมพลิจูดของสัญญาณไม่ต่อเนื่อง และไม่นิ่งมีการเคลื่อนไหวขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา

– Peak Power
เป็นค่าที่มากกว่า Program Power อีกหนึ่งเท่าตัว เป็นค่าสูงสุด (Max) ที่ตู้ลำโพง หรือดอกลำโพงที่จะสามารถรองรับได้ อาจจะเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นเลย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำดอกลำโพงนั่นเอง

วิธีดูกำลังวัตต์ลำโพง (Power Handling) | การใช้งานร่วมกับเพาเวอร์แอมป์ วัตต์ (watts) เป็นค่าที่บอกถึง ค่าความสามารถของตู้ลำโพง หรือ ดอกลำโพงนั้นๆ ว่า....
วิธีดูกำลังวัตต์ลำโพง (Power Handling) | การใช้งานร่วมกับเพาเวอร์แอมป์ วัตต์ (watts) เป็นค่าที่บอกถึง ค่าความสามารถของตู้ลำโพง หรือ ดอกลำโพงนั้นๆ ว่า....

ตัวอย่าง…

การตรวจสอบกำลังวัตต์ (Watts) ของตู้ลำโพง และการจับคู่ (Matching) กับเพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เบื้องต้น การเลือกตู้ลำโพงเพื่อใช้งาน เราต้องตรวจสอบกำลังวัตต์ของตู้ลำโพงเป็นอันดับแรกเสียก่อน ว่าสามารถรับกำลังวัตต์ได้อยู่ที่เท่าไหร่ จะได้มองหาเพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) หรือเครื่องขยายเสียงให้เหมาะสมกัน

หากตู้ลำโพงมีกำลังวัตต์ที่

  • 250 วัตต์ (Continuous Power หรือ RMS Power )
  • 500 วัตต์ (Program Power)  
  • 1,000 วัตต์ (Peak Power)
เครื่องขยายเสียง CROWN
แอมป์ CROWN
Power Amp Match with Loudspeaker 1

สรุป

การเลือกเครื่องขยายเสียงให้เหมาะกับลำโพง ต้องเลือกให้มีกำลังวัตต์ที่มากกว่า หรือต้องไม่น้อยกว่าค่าวัตต์ (Continuous Power หรือ RMS Power) นั่นคือ 250 วัตต์ นั่นเอง และต้องเลือกกำลังวัตต์สูงสุดไม่ให้เกินค่า (Peak Power) นั่นก็คือ 1,000 วัตต์ ของตู้ลำโพง เพื่อความปลอดภัยของดอกลำโพงขณะใช้งาน ดั่งตัวอย่างเครื่องขยายรุ่นที่แมตซ์ก็จะเป็นรุ่น 1502,2002 เป็นต้น

ตู้ลำโพง ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของงานระบบเสียง เป็นอุปกรณ์เสียงลำดับสุดท้าย เพราะมีหน้าที่หลักในการแปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียง ให้เราได้ยินนั่นเอง วิธีดูกำลังวัตต์ของลำโพงจึงเป็นเกณฑ์สำคัญในการจับคู่ให้แมตซ์กับเพาเวอร์แอมป์ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของระบบเสียง สุดท้ายนี้ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นส่วนเสริมสร้างประโยชน์ให้กับทุกท่านสำหรับวันนี้ขอบคุณ และสวัสดีครับ

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

Mixing และ Mastering คือ อะไร? แตกต่างกันหรือไม่? อย่างไร!?

เจาะลึกรายละเอียดว่า Mixing และ Mastering คือ อะไร? พร้อมชี้ให้เห็นความต่างกันชัดๆ จะน่าสนใจแค่ไหน? อยากรู้ คลิกเลย!

เคล็ดลับเลือกเพลงคู่ ร้องคาราโอเกะ สำหรับทุกโอกาส

ร้องคาราโอเกะนั้นเป็นกิจกรรมความบันเทิงที่สนุกสนาน และจะสนุกสนานขึ้นเมื่อเราร้องคู่กับ คนในครอบครัว เพื่อน แฟน บทความนี้เรามีเพลงสำหรับร้องคู่มาแนะนำครับ

Backing Track คือ อะไร? แจกวาร์ป Backing Track เพลงไทย

พามาทำความรู้จักว่า Backing Tracks คืออะไร? เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินระดับโลก พร้อมแจกวาร์ปโหลด Backing Track เพลงไทยกันฟรีๆ อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

ZEN Blue 3 มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ จาก iFi Audio

มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ ที่คุณอาจไม่เคยสัมผัสที่ไหนมาก่อนกับ ZEN Blue 3 สินค้าใหม่ล่าสุดจากแบรนด์ iFi Audio เป็นยังไงไปชมกัน!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง)

ขอขอบคุณ สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม จากทีมงาน SoundDD

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีแสดง ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) พระราม 2

ขอขอบคุณ ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องเสียงเวที โดย บริษัท ซาวด์ดีดี กรุ๊ป จำกัด ด้วยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก