โครงสร้างของดอกลำโพง ที่ควรรู้ (ส่วนประกอบของดอกลำโพง)

โครงสร้างของดอกลำโพง ที่ควรรู้ (ส่วนประกอบของดอกลำโพง)
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » โครงสร้างของดอกลำโพง ที่ควรรู้ (ส่วนประกอบของดอกลำโพง)

Estimated reading time: 6 นาที

ดอกลำโพงเป็นส่วนประกอบหนึ่งในตู้ลำโพงโดยที่เราอาจทราบกันอยู่แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ได้เกิดคำถามว่าแล้ว โครงสร้างของดอกลำโพง มีรูปร่างลักษณะแบบไหน โดยที่ส่วนประกอบของดอกลำโพงในลำโพง 1 ดอกที่เราใช้ฟัง รับงานหรือทำกิจกรรมต่าง ตั้งแต่ดอกลำโพงที่ใช้ในบ้านจนถึงงานกลางแจ้ง PA ขนาดใหญ่ เช่น ลำโพงที่ใช้ในงานมหกรรมกีฬา งานมหกรรมคอนเสิร์ต มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ทำหน้าที่อะไร มีประโยชน์สำคัญอย่างไร ภายในดอกลำโพง วันนี้ SoundDD.Shop มี “โครงสร้างของดอกลำโพง?” ให้ได้เข้าใจกัน ก่อนจะรับชมเรามีรูปร่างดอกลำโพงตามรูปด่านล่างเลยครับ

ส่วนประกอบของดอกลำโพงขอบคุณรูปภาพจาก บทความ Parts of a Speaker

1. บาสเค็ท / เฟรม / เซสซี (Basket / Frame / Chassis)

บาสเค็ท / เฟรม / เซสซี (Basket / Frame / Chassis)

บาสเค็ท / เฟรม / เซสซี คือโครงสร้างของลำโพง ซึ่งนิยมทำมาจากวัสดุต่างๆเช่นเหล็กกล้า อลูมิเนียม และพลาสติก โดยมีความแข็งแรง เพื่อให้ส่วนประกอบของลำโพงอยู่ในต่ำแหน่งที่บาลานซ์เหมาะสม ไม่ผิดเพี้ยนเมื่อเวลาที่มีการขยับหรือทำงานของดอกลำโพง นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดอุณหภูมิที่เกิดขึ้นภายใน Voice Coil อีกด้วย

2. สไปเดอร์ (Spider)

สไปเดอร์ (Spider) 

สไปเดอร์ คือ ส่วนประกอบของดอกลำโพงที่มีความยืดหยุ่น ลักษณะเหมือนลูกฟูก ทำหน้าที่รองรับการเคลื่อนที่ของ Voice Coil (วอยท์คอยล์) ให้อยู่ในตำแหน่งที่สมดุลบาลานซ์เมื่อเวลาที่มีสัญญาณป้อนเข้ามาในดอกลำโพง เซอร์ราวด์ และ สไปเดอร์ มีความสำคัญมากในช่วงย่านเสียงที่มีความถี่ต่ำ ซึ่งสไปเดอร์เป็นตัวกำหนดกขอบเขตการเคลื่อนที่ของ โคนและวอยซ์คอยล์ ว่าสามารถเคลื่อนที่ได้มากน้อยแค่ไหน ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อเสียงที่เกิดขึ้นมา

3. โคน (Cone) / ไดอะแฟรม (Diaphragm) หรือ กรวยลำโพง

โคน (Cone) / ไดอะแฟรม (Diaphragm) หรือ กรวยลำโพง

โคน / ไดอะแฟรม / กรวยลำโพง คือ ส่วนประกอบโครงสร้างของลำโพงที่มีการเคลื่อนที่คล้ายๆลูกสูบเมื่อมีสัญญาณเข้ามา การเคลื่อนที่นั้นจะทำให้อากาศรอบๆ Cone มีการบีบอัด และเกิดขึ้นมาเป็นเสียง

4. ดัสแค็ป (Dust Cap) / โดม (Dome)

 

ดัสแค็ป (Dust Cap) / โดม (Dome)

ดัสแค็ป / โดม คือ ส่วนประกอบที่มีหน้าที่หลักในการป้องกันสิ่งสกปรก เศษต่างๆ ไม่ให้เข้าไปสู่ Voice Coil ซึ่งถ้าหากไม่มีโดมหรือดัสแค็ปนี้ ฝุ่นก็จะสามารถเข้าไปจับที่วอยท์คอยล์ได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเพี้ยนของเสียงที่จะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่รักษารูปทรงของ Cone เวลาที่ป้อนสัญญาณความถี่เสียงต่ำ เพราะว่าช่วงย่านความถี่เสียงต่ำจะมีการสั่นและเคลื่อนที่ของ Cone ที่เยอะกว่าช่วงความถี่เสียงสูง รวมไปถึงสามารถลดความร้อนที่เกิดขึ้นใน Voice Coil โดยให้อากาศไหลผ่านเข้าไป

5. เซอร์ราวด์ (Surround)

สไปเดอร์ (Spider) 

เซอร์ราวด์ คือ ส่วนประกอบของลำโพงที่ทำมาจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็น ยาง พลาสติก หรือผ้า วัสดุที่แตกต่างกันจะมีผลต่อเสียงที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน โดย เซอร์ราวด์ Surround จะทำการยึดเกาะระหว่าง Cone และ Basket โดย Surround จะทำหน้าที่บ่งบอกขอบเขตการเคลื่อนที่ของ Cone ว่าสามารถขยับได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ Cone เคลื่อนที่อยู่ในตำแหน่งที่บาลานซ์และสมดุลไม่หลุดออกไปจากลำโพงตามความแรงของสัญญาณที่ป้อนเข้ามา

6. วอยซ์คอยล์ (Voice Coil) / ขดลวด

วอยซ์คอยล์ (Voice Coil) / ขดลวด

วอยซ์คอยล์ / ขดลวด คือ ปกติทำจากทองแดงและอลูมิเนียมพันรอบ Former ปลายของ Voice Coil จะติดอยู่กับ Cone โดยกระแสจะไหลผ่านเข้ามาทาง Voice Coil และเกิดการสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมา โดยสนามแม่เหล็กที่ถูกสร้างขึ้นมานี้จะไปตัดกับสนามแม่เหล็กถาวรที่ถูกสร้างโดยแม่เหล็กทำให้เกิดการขยับของ Cone ขึ้น – ลง กลายเป็นเสียงที่ดังออกมา นอกจากนี้ Voice Coil ของลำโพงยังสามารถแบ่งออกเป็นSingle Voice Coil ซิงเกิ้ลวอยซ์คอยล์ (แบบเดี่ยว) และ Dual Voice Coil ดูอัลวอยซ์คอยล์ (แบบคู่) สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

7. แม็คเนท (Magnet) / แม่เหล็ก

แม็คเนท (Magnet) / แม่เหล็กแม็คเนท / แม่เหล็ก คือ เป็นแม่เหล็กถาวรที่มีการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าตัดกับสนามแม่เหล็กที่เกิดจาก Voice Coil ซึ่งการตัดกันทำให้เกิดการขยับของ Cone ขึ้น – ลง ลำโพงส่วนใหญ่แม่เหล็กจะมีรูปร่างเป็นวงแหวนทำมาจากเซรามิก ระบายแรงดันที่เกิดการบีบอัดที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก Cone และป้องกัน Voice Coil ไม่ให้มีอุณหภูมิสูงป้องกันสิ่งสกปรกที่จะเข้าไปยัง Vent

8. ฟอร์เมอร์ (Former)

ฟอร์เมอร์ (Former)

ฟอร์เมอร์ คือ ส่วนของโครงสร้างของลำโพง มีรูปทรงกระบอก ทำจากวัสดุต่างๆ โดยจะมี Voice Coil พันอยู่รอบๆ ของมันอีกทีหนึ่ง

9. เวนท์ (Vent)

เวนท์ (Vent)

เวนท์ คือ ระบายแรงดันที่เกิดการบีบอัดที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก Cone และป้องกัน Voice Coil ไม่ให้มีอุณหภูมิสูง

10. สกรีน (Screen)

สกรีน (Screen)

สกรีน คือ ป้องกันสิ่งสกปรกหรือเศษต่างๆที่จะเข้าไปยัง Vent อีกทีหนึ่ง

11. เทอมินอลส์ (Terminals) / ขั้วต่อ

เทอมินอลส์ (Terminals) / ขั้วต่อ

เทอมินอลส์ / ขั้วต่อ คือ เป็นขั้วต่อของลำโพง ซึ่งมีหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้ผ่านเข้าสู่ Voice Coil โดยปกติจะมีขั้วบวกและขั้วลบ โดยจะมีสัญลักษณ์บอกขั้วอย่างชัดเจน หรือบางรุ่นบางยี่ห้ออาจมีการแต้มสีเพื่อบ่งบอกขั้วบวกลบด้วย กรณีที่เป็น Dual Voice Coil จะมีขั้วต่อลำโพงถึง 2 จุด

สรุป

นี่ก็เป็นส่วนประกอบต่างๆของดอกลำโพงใน 1 ดอก การจะเลือกซื้อดอกลำโพงสักชุดมาใช้งานนอกจาก ส่วนประกอบต่างๆที่ต้องใช้ในการพิจารณาแล้ว สเปคของดอกลำโพง การตอบสนองได้กว้างกี่เฮิร์ตถึงกี่กิโลเฮิร์ต ครอบคลุมหรือตรงกับลักษณะที่เราจะนำไปใช้งานหรือไม่ ให้กำลังวัตต์ RMS ที่กี่วัตต์

และสิ่งที่ต้องคำนึงอันดับต้นๆเมื่อจะเลือกซื้อดอกลำโพงเรื่องของ dB สำคัญจริงๆ หลายท่านคำนึงเฉพาะกำลังวัตต์ เอาให้วัตต์เยอะไว้ก่อน ซึ่งลำโพงที่ดีควรมีค่า dB ที่สูงประกอบด้วยเป็นหลัก ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ บทความ ค่า SPL ของลำโพงที่ควรรู้

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

Mixing และ Mastering คือ อะไร? แตกต่างกันหรือไม่? อย่างไร!?

เจาะลึกรายละเอียดว่า Mixing และ Mastering คือ อะไร? พร้อมชี้ให้เห็นความต่างกันชัดๆ จะน่าสนใจแค่ไหน? อยากรู้ คลิกเลย!

เคล็ดลับเลือกเพลงคู่ ร้องคาราโอเกะ สำหรับทุกโอกาส

ร้องคาราโอเกะนั้นเป็นกิจกรรมความบันเทิงที่สนุกสนาน และจะสนุกสนานขึ้นเมื่อเราร้องคู่กับ คนในครอบครัว เพื่อน แฟน บทความนี้เรามีเพลงสำหรับร้องคู่มาแนะนำครับ

Backing Track คือ อะไร? แจกวาร์ป Backing Track เพลงไทย

พามาทำความรู้จักว่า Backing Tracks คืออะไร? เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินระดับโลก พร้อมแจกวาร์ปโหลด Backing Track เพลงไทยกันฟรีๆ อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

ZEN Blue 3 มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ จาก iFi Audio

มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ ที่คุณอาจไม่เคยสัมผัสที่ไหนมาก่อนกับ ZEN Blue 3 สินค้าใหม่ล่าสุดจากแบรนด์ iFi Audio เป็นยังไงไปชมกัน!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง)

ขอขอบคุณ สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม จากทีมงาน SoundDD

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีแสดง ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) พระราม 2

ขอขอบคุณ ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องเสียงเวที โดย บริษัท ซาวด์ดีดี กรุ๊ป จำกัด ด้วยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก