ข้อแตกต่างของ ระบบเสียง โอห์ม (Ohm) และ โวลท์ไลน์ (VoltLine)

โอห์ม (Ohm) และ โวลท์ไลน์ (VoltLine)
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » ข้อแตกต่างของ ระบบเสียง โอห์ม (Ohm) และ โวลท์ไลน์ (VoltLine)

Estimated reading time: 2 นาที

คุณรู้หรือไม่ว่า ข้อแตกต่างของ ระบบเสียง โอห์ม (Ohm) และ โวลท์ไลน์ (VoltLine) คืออะไร ? ในปัจุบันที่เราได้ยินได้ฟังกันไม่ว่าจะเป็นระบบเสียงในบ้าน ร้านอาหารระบบประกาศตามห้างสรรพสินค้า หรืองานกลางแจ้งทั่วไป หรืองานคอนเสิร์ต ก็หนีไม่พ้นระบบเสียง 2 ระบบที่กล่าวมาข้างต้นครับ คือ ระบบโอห์มและระบบโวลท์ไลน์ นั่นเอง มาดูกันครับว่าระบบเสียงแบบใหนควรเป็นระบบ โอห์ม แบบใหนควรเป็นระบบ โวลท์ไลน์ เพราะอะไร

แชร์หน้านี้ :

ระบบโอห์ม

ระบบเสียง โอห์ม (Ohm) และ โวลท์ไลน์ (VoltLine) ระบบโอห์มและระบบโวลท์ไลน์ ระบบเสียงแบบใหนควรเป็นระบบ โอห์ม แบบใหนควรเป็นระบบ โวลท์ไลน์ เพราะอะไร

จุดเด่นระบบเสียงแบบโอห์ม

ในระบบเสียงแบบนี้ จะมีความสามารถในการตอบสนองย่านความถี่ที่ครบถ้วนให้รายละเอียดเสียงที่มีมิติ พบใช้งานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเสียงที่ใช้ในบ้านหรือโฮมยูทไม่ว่าจะเป็นชุดดูหนังฟังเพลง ชุดคาราโอเกะ ในบ้านและร้านอาหาร รวมถึงเครื่องเสียงที่ใช้งาน อีเว้นท์ หรือ คอนเสิร์ต ก็จะใช้งานแบบระบบโอห์มทั้งหมด

ลำโพงที่ใช้งานในระบบนี้ในสเปคหรือหลังตู้ก็จะระบุให้เราทราบว่าลำโพงใบนี้กี่โอห์มเช่น 4, 8, 16 โอห์มเป็นต้น (โอห์มคือความต้านทานเป็นหน่วยทางไฟฟ้า)

แอมป์ขยายที่ใช้งานประเภทนี้จะเป็นแอมป์แบบ Low impedance (โลอิมพีแดนซ์) ซึ่งก็จะมีอิมพีแดนซ์ค่าความต้านทานรวมระหว่าง 4, 8, 16 และบางรุ่นสามารถโหลดได้ต่ำถึง 2 โอห์มเลยทีเดียว (ยกเว้นแอมป์สำหรับรถยนต์)

ระบบเสียง โอห์ม (Ohm) และ โวลท์ไลน์ (VoltLine) ระบบโอห์มและระบบโวลท์ไลน์ ระบบเสียงแบบใหนควรเป็นระบบ โอห์ม แบบใหนควรเป็นระบบ โวลท์ไลน์ เพราะอะไร

ข้อจำกัดระบบเสียงแบบโอห์ม

1.ไม่แนะนำให้เดินสายลำโพงเป็นระยะทางไกลๆ เพราะจะทำให้เกิดการสูญเสียของสัญญาณ ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพของเสียงดร็อปลง และส่งผลถึงความร้อนของอุปรณ์โดยเฉพาะ เพาเวอร์แอมป์ด้วย

2.ไม่ควรต่อลำโพงมากเกินกว่าที่ เพาเวอร์แอมป์รับอิมพีแดนซ์ใหว

เช่น เพาเวอร์แอมป์ ในสเปคระบบุว่า

  • ให้กำลังวัตต์ 250 ที่ 8 โอห์มต่อชาแนล
  • ให้กำลังวัตต์ 500 ที่ 4 โอห์มต่อชาแนล

แอมป์แบบนี้หากเรามีลำโพงที่มีค่าอิมพีแดนซ์ของลำโพงแต่ละใบมีค่า 8 โอห์ม มาต่อขนานพ่วงกันเราจะสามารถต่อพ่วงกันได้มากสุด ข้างละ 2 ใบเท่านั้น

ระบบเสียงโอห์ม

ซึ่งเมื่อนำค่าอิมพีแดนซ์ของลำโพงแต่ละใบคือ 8 โอห์มมาหารกันจะเท่ากับ 4 โอห์ม ก็สามารถต่อใช้งานได้ หากจะนำลำโพงมาต่อเพิ่มมากกว่านี้ แนะนำว่าไม่สมควรอย่างยิ่งและไม่ควรปฏิบัติ เพราะจะทำให้ระบบเกิดความเสียหายได้โดยเฉพาะเพาเวอร์แอมป์ ที่ไม่สามารถรับโหลดของอิมพีแดนซ์ได้ต่ำกว่าสเปคระบุไว้นั่นเอง

ระบบโวลไลน์ ( Volt Line )

ระบบเสียง โอห์ม (Ohm) และ โวลท์ไลน์ (VoltLine) ระบบโอห์มและระบบโวลท์ไลน์ ระบบเสียงแบบใหนควรเป็นระบบ โอห์ม แบบใหนควรเป็นระบบ โวลท์ไลน์ เพราะอะไร

จุดเด่นระบบเสียงแบบโวล์ไลน์

ในระบบเสียงแบบทั่วไป เช่นระบบเสียงแบบ โอห์มซึ่งมีข้อจำกัดในการเดินสายลำโพงระยะไกลและมีข้อจำกัดการต่อใช้งานของลำโพงจำนวนมากๆ

ซึ่งระบบเสียงระบบโวลท์ไลน์ก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกับระบบโอห์มคือ สามารถเดินสายลำโพงได้ระยะไกลขึ้นเป็นกิโลและสามารถต่อพ่วงลำโพงได้เยอะมากขึ้นโดยคำนวนจากกำลังวัตต์ของแอมป์ขยายเป็นหลัก ไม่ได้คำนวนจากค่าอิมพีแดนซ์ของลำโพงและเครื่องขยายแต่อย่างใด

ซึ่งเราจะพบระบบเสียงระบบนี้ได้ตาม ระบบประกาศในชุมชน หอกระจายข่าว ระบบประกาศตามห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้าทั่วไป เนื่องจากระบบเสียงแบบนี้ค่อนข้างเน้นไปที่ย่านเสียงกลางเป็นหลัก จึงเป็นที่นิยมใช้กับลักษณะงานที่กล่าวไปข้างต้น

ระบบเสียง โอห์ม (Ohm) และ โวลท์ไลน์ (VoltLine) ระบบโอห์มและระบบโวลท์ไลน์ ระบบเสียงแบบใหนควรเป็นระบบ โอห์ม แบบใหนควรเป็นระบบ โวลท์ไลน์ เพราะอะไร

หลักการทำงานคร่าวๆของระบบโวลท์ไลน์

ใช้ทรานฟอเมอร์หรือหม้อแปลง แปลงสัญญาณจากแอมป์ขยายปกติแบบโลอิมพีแดนซ์เป็นแอมป์แบบไฮอิมพีแดนซ์ ค่าหรือหน่วยของแอมป์ขยายระบบนี้มีค่าเป็นโวลท์ ซึ่งส่วนมากก็จะพบ 70 v และ 100 v เป็นส่วนมาก

ส่วนลำโพงที่จะใช้งานร่วมกับแอมป์แบบไฮอิมพีแดนซ์หรือโวลท์ไลน์นี้ก็จะต้องเป็นลำโพงที่สามารถรองรับกับโวลท์ไลน์ได้เช่นเดียวกัน โดยด้านในลำโพงชนิดนี้จะมีหม้อแปลงหรือแมชชิ่งไลน์ เพื่อรับกระแสสัญญาณจากแอมป์ขยายชนิดเดียวกันนี้ได้เช่นกัน ซึ่งเราสามารถคำนวนการต่อระบบนี้แบบง่ายๆ เช่น มีแอมป์ระบบโวลท์ไลน์ขนาด 100 วัตต์ 1 เครื่องเราสามารถนำโพงขนาด 10 วัตต์ มาต่อพ่วงกัน 10 ตัว ได้เลย (ไม่ควรต่อลำโพงพ่วงกันเกินกำลังวัตต์ของแอมป์ขยายแต่สามารถต่อน้อยกว่ากำลังวัตต์ของแอมป์ขยายได้)

ระบบเสียง โอห์ม (Ohm) และ โวลท์ไลน์ (VoltLine) ระบบโอห์มและระบบโวลท์ไลน์ ระบบเสียงแบบใหนควรเป็นระบบ โอห์ม แบบใหนควรเป็นระบบ โวลท์ไลน์ เพราะอะไร

ข้อจำกัดของระบบเสียงแบบโวล์ไลน์

ตอบสนองย่านความถี่ไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะย่านความถี่เสียงต่ำและสูง จึงทำให้เครื่องเสียงระบบไลน์โวลท์นี้ขาดรายละเอียดและมิติของเสียงอีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอดไลน์ที่: @sounddd.shop (มี @ ข้างหน้าด้วยนะครับ)

Facebook : SoundDD.Shop

Website: www.sounddd.shop

Tel:  02 435 8998 | 085 396 8888

เขียนบทความ…SoundDD.Shop

โดย…บริษัท เอสพีเค ซาวด์ซิสเต็มส์ จำกัด

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รีวิว Soundvision ESiGO 8 PRO ลำโพงพกพา ตัวจบทุกงาน!

ลำโพงบลูทูธ ไซซ์เล็กพกพาสะดวก เสียงดีเกินตัว มาพร้อมมิกเซอร์ Built-In มาให้ 3 ชาแนล จะน่าสนใจแค่ไหน!? อยากรู้ คลิกเลย!

พรีวิว SONOS MOVE 2 ลำโพงบลูทูธอัจฉริยะ ยกระดับความสามารถในทุกมิติ

อัปเกรด และยกระดับความสามารถจากรุ่นก่อนในทุกมิติ โดดเด่นด้วยดีไซน์ และคุณภาพเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของ SONOS อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

Emulators ที่ดีที่สุดจาก App Store ของ Apple

สวัสดีคอเกมทุกท่าน วันนี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับคอเกมกัน นั่นก็คือ Game Emulators ครับ มาดูไปพร้อมๆ กันเลย

SONY ULT POWER SOUND ลำโพงและหูฟังรุ่นใหม่ ให้เสียงเบสที่หนักแน่น

รู้สึกเหมือนได้ดำดิ่งสู่แถวหน้าของคอนเสิร์ต ไปซีรีส์ ULT POWER SOUND ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ใจคุณสั่น ด้วยเสียงเบสที่ทรงพลัง

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่) ด้วยสินค้าจากแบรนด์ Electro-Voice และ SOUNDVISION ไปรับชมกันเลยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุมบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด

วันนี้เราก็มีผลงานติดตั้งมาให้ชมกันอีกเช่นเคยครับ โดยผลงานในครั้งนี้เป็นระบบเสียงห้องประชุม บริษัท บางกอกแล็ป แอน คอสเมติค จำกัดมหาชน (BLC)

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก