มิกเซอร์อนาล็อก Vs มิกเซอร์ดิจิตอล แบบไหนดีที่ตอบโจทย์กับคุณ

Mixer-Analog-Vs-Mixer-Digital
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » มิกเซอร์อนาล็อก Vs มิกเซอร์ดิจิตอล แบบไหนดีที่ตอบโจทย์กับคุณ

เวลาอ่านโดยประมาณ : 1 นาที

เวลาอ่านโดยประมาณ : 3 นาที

    ก่อนที่เราจะเจาะลึกเราควรรู้ว่า มิกเซอร์ นั้นได้รับสัญญาณเสียงเข้าทาง Input และทำการผสมสัญญาณเสียงให้เหมาะสมกับความต้องการ ก่อนที่จะส่งสัญญาณเสียงที่ทำการมิกซ์ออกไปยังช่อง Output โดยที่มิกเซอร์นั้นแบ่งได้อยู่ 2 ประเภท คือ มิกเซอร์อนาล็อกและมิกเซอร์ดิจิตอล โดยหลายคนทั่วไปได้มีข้อสงสัยว่า แตกต่างกันอย่างไร ควรเลือกซื้อแบบไหนดีให้เหมาะกับการใช้งานที่ตอบโจทย์

    บทความนี้ทาง SoundDD.Shopได้รวบรวมความรู้ “มิกเซอร์อนาล็อก Vs มิกเซอร์ดิจิตอล” บทความนี้มีคำตอบ เพื่อคลายข้อสงสัยต่างๆ มาให้หลายคนเข้าใจ พร้อมแล้วก็ลุยกันเลยครับ

มิกเซอร์อนาล็อก Vs มิกเซอร์ดิจิตอล แตกต่างกันอย่างไร ?

มิกเซอร์อนาล็อก เครื่องผสมสัญญาณเสียงแบบอนาล็อก (Mixer Analog) เป็น Mixer ที่ยังคงเป็นที่นิยม เหมาะสำหรับคนเริ่มต้นใช้งานมิกเซอร์ ราคาที่ไม่สูง ถ้าทำความเข้าใจแล้วก็ใช้งานง่ายมาก รองรับสัญญาณแบบ Analog ต้องปรับแต่งมิกซ์สัญญาณเสียงด้วยมือตัวเอง รับสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์กำเนิดเสียงต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก เช่น ไมโครโฟน เครื่องดนตรี หรืออุปกรณ์เสริม Compresspor ฯลฯ ทำงานร่วมกับอนาล็อกมิกเซอร์ปรับแต่งตามที่ต้องการ

Mixer-Analog

ข้อดีของมิกเซอร์อนาล็อก

  • ใช้งานง่าย ปรับแต่งมิกซ์เสียงได้รวดเร็ว เครื่องผสมสัญญาณเสียงแบบอนาล็อก มีการปรับแต่งที่ไม่มากทำให้การใช้งานไม่ยุ่งยาก ใช้งานง่าย
  • ออกแบบมาให้เรียบง่าย เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ ไม่จำเป็นต้องตั้งค่า Preset ต่ออุปกรณ์ในจำนวนมาก และยังไม่ต้องแปลงเสียงเป็นแบบดิจิตอล
  • ราคาที่ไม่แพงจนเกินไป เนื่องจาก การปรับแต่งที่ไม่มากและไม่แม่นยำเท่ากับมิกเซอร์ดิจิตอล
  • เหมาะสำหรับผู้เริ่มใช้มิกเซอร์ ไม่ยุ่งยากในการปรับแต่งมิกซ์เสียง

ข้อจำกัดของมิกเซอร์อนาล็อก

  • การเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมที่มีอย่างจำกัด หากต้องการเชื่อมต่อลำโพง ไมโครโฟน หรืออุปกรณ์อื่นๆหลายตัว พร้อมๆกันนั้นจะได้ยากถ้าไม่ใช่มิกเซอร์อนาล็อกที่ราคาสูง ในระดับไฮเอนด์ หรืออาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้แบบดิจิตอล
  • มิกเซอร์อนาล็อกคุณภาพที่สูง การประมวลผลจำนวนมากไม่เกิดการแปลงสัญญาณคุณภาพที่สูง ทำให้มีขนาดไฟล์ที่ใหญ่
  • ไม่สามารถป้องกันเสียงรบกวนได้ เครื่องผสมสัญญาณเสียงแบบอนาล็อกนั้นไม่สามารถป้องกันสัญญาณเสียงรบกวนจากภายนอก

มิกเซอร์ดิจิตอล (Mixer Digital) ถูกพัฒนาเพื่อความรวดเร็ว ลดความยุ่งยากในการใช้งาน การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม รองรับสัญญาณได้ทั้งแบบ Digital และ Analog ยังสามารถควบคุมผ่านอุปกรณ์ต่างๆเช่น คอมพิวเตอร์หรือติดตั้งโปรแกรมควบคุมตัวมิกเซอร์โดยเฉพาะเอง เหมาะสำหรับงานหลายๆงาน ที่มีความซับซ้อน ยุ่งยาก ตัวเดียว ตอบโจทย์ได้อย่างแน่นอน!! แต่ตัวมิกเซอร์นั้นมีราคาที่สูงตามประสิทธิภาพ

ข้อดี ข้อจำกัด ดิจิตอลมิกเซอร์

ข้อดีของมิกเซอร์ดิจิตอล

  • การเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมได้เป็นจำนวนมาก มีพอร์ตมากมายสำหรับอุปกรณ์มากมาย ให้ใช้งานพร้อมกันได้
  • การถ่ายโอนเสียงดิจิตอลที่ชัดเจน คุณภาพสูง ไร้เสียงรบกวน
  • ปรับแต่งมิกซ์เสียงได้ตามที่ต้องการ มีฟังก์ชั่นการปรับแต่งมากมายให้มิกซ์เสียงตามความชอบ
  • สามารถตั้ง Preset ได้ เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน และรวดเร็ว
  • สบายต่อผู้ใช้งาน ปรับตั้งค่าผ่านแอปพลิเคชั่นหรือโปรแกรมของตัวมิกเซอร์ได้

ข้อจำกัดของมิกเซอร์ดิจิตอล

  • ราคาที่แพงมากจนเกินไป มีฟังก์ชั่นการปรับแต่งที่มากทำให้มีราคาที่สูง
  • เหมาะสำหรับมืออาชีพ มีความซับซ้อนในการใช้งาน ปรับแต่งมิกซ์ ถ้าไม่ได้มีความรู้โดยเฉพาะ
  • ยุ่งยากในการปรับแต่ง จะตั้งค่า Preset การมิกซ์เสียงปรับแต่งต่างๆต้องมีความรู้ในเรื่องมิกเซอร์ดิจิตอล ทำให้ยุ่งยากแต่ต้องศึกษาในการมิกซ์ตั้งค่าฟังก์ชั่นต่างๆ

มิกเซอร์ มีอายุการใช้งานได้นานแค่ไหน ?

การใช้งานมิกเซอร์นั้น เราไม่มีทางคาดเดาได้เลยว่ามันจะใช้งานได้นานแคไหน อยู่ที่ความดูแล รักษามิกเซอร์นั้นมากกว่าจะสามารถทำให้มิกเซอร์อยู่กับเราไปได้นาน โดยเราจะแนะนำปัจจัยดังนี้

Mixer

1. การดูแลรักษามิกเซอร์

เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการดูแลรักษาความสะอาดกับมิกเซอร์ ช่วยให้มิกเซอร์ยังใหม่และป้องสิ่งสกปรกไม่ให้ติดข้างหรือทำให้มิกเซอร์ร้อนจนเกินไป

2. ระบายความร้อนเวลาใช้งาน

การใช้งานมิกเซอร์ไปนานๆจะทำให้เกิดความร้อน ดังนั้นเราควรมีพัดลม หรือเปิดแอร์ เพื่อระบายความร้อนในขณะใช้งานมิกเซอร์ เพื่อให้ใช้มิกเซอร์อยู่กับเราไปได้นาน

3. อุปกรณ์กันการกระชากไฟ

เป็นสิ่งที่อันตรายอาจทำให้มิกเซอร์ชำรุดได้ในทันที เราควรมีอุปกรณ์กันกระชากไฟ หรือเครื่องสำรองไฟไม่ให้มิกเซอร์ดับไปโดยทันที

4. อย่าใช้งานมิกเซอร์หนักเกินกำลัง

ตรวจสอบข้อมูลการใช้พลังงานก่อนที่จะนำอุปกรณ์ต่างๆมาเชื่อมต่อกับมิกเซอร์ ว่าคุณใช้ 220v หรือ 110v ที่มิกเซอร์รองรับไหว

สรุป


มิกเซอร์นั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท มิกเซอร์ดิจิตอลและมิกเซอร์อนาล็อก แต่ละประเภทนั้นมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไปอยู่ที่ความต้องการของผู้ใช้ ราคา ความสามารถในการใช้งานมิกเซอร์ ลักษณะงานที่นำไปใช้ว่าใช้อุปกรณ์ในการมิกเซอร์มากน้อยเพียงใดถึงจะตอบโจทย์ของผู้ใช้ โดยเราจะสรุปแบบสั้นๆ ให้ดังนี้

  • เครื่องผสมสัญญาณเสียงแบบอนาล็อกมีการปรับแต่งน้อยกว่าเครื่องผสมสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล
  • เครื่องผสมสัญญาณเสียงแบบดิจิตอลมักมีช่องอินพุตสำหรับอุปกรณ์ภายนอกที่มาก
  • การใช้งานพื้นฐานจะเป็นของเครื่องผสมสัญญาณเสียงแบบแอนะล็อกและถ้ามือาชีพจะเป็นของเครื่องผสมสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล

    มิกเซอร์นั้นก็มีอายุการใช้งานตามการดูแลของผู้ใช้ว่าดูแลรักษาถูกวิธีหรือไม่ โดยวิธีดูแลก็ไม่ยากสำหรับผู้ใช้ แค่ทำความสะอาดมิกเซอร์อยู่สม่ำเสมอ ระบายความร้อนในเวลาที่ใช้งาน ใช้อุปกรณ์เสริมช่วยในการกระชากไฟ อย่าใช้มิกเซอร์หนักจนเกินขีดความสามารถ ถ้าผู้ใช้ดูแลวิธีตามที่กล่าวมา มิกเซอร์จะอยู่กับคุณได้นาน รับรองเลยครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก: Playbutton

บทความที่คุณอาจสนใจ..

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

Mixing และ Mastering คือ อะไร? แตกต่างกันหรือไม่? อย่างไร!?

เจาะลึกรายละเอียดว่า Mixing และ Mastering คือ อะไร? พร้อมชี้ให้เห็นความต่างกันชัดๆ จะน่าสนใจแค่ไหน? อยากรู้ คลิกเลย!

เคล็ดลับเลือกเพลงคู่ ร้องคาราโอเกะ สำหรับทุกโอกาส

ร้องคาราโอเกะนั้นเป็นกิจกรรมความบันเทิงที่สนุกสนาน และจะสนุกสนานขึ้นเมื่อเราร้องคู่กับ คนในครอบครัว เพื่อน แฟน บทความนี้เรามีเพลงสำหรับร้องคู่มาแนะนำครับ

Backing Track คือ อะไร? แจกวาร์ป Backing Track เพลงไทย

พามาทำความรู้จักว่า Backing Tracks คืออะไร? เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินระดับโลก พร้อมแจกวาร์ปโหลด Backing Track เพลงไทยกันฟรีๆ อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

ZEN Blue 3 มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ จาก iFi Audio

มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ ที่คุณอาจไม่เคยสัมผัสที่ไหนมาก่อนกับ ZEN Blue 3 สินค้าใหม่ล่าสุดจากแบรนด์ iFi Audio เป็นยังไงไปชมกัน!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง)

ขอขอบคุณ สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม จากทีมงาน SoundDD

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีแสดง ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) พระราม 2

ขอขอบคุณ ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องเสียงเวที โดย บริษัท ซาวด์ดีดี กรุ๊ป จำกัด ด้วยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก