ลำโพงไลน์อาร์เรย์ (Line Array) คืออะไร?

ลำโพงไลน์อาร์เรย์ (Line Array) คืออะไร? ลำโพงลายอาเรย์ แบบ Passive ลำโพงไลน์อะเรย์ แบบ Active ระบบลำโพงไลอาร์เรย์ที่ดี ควรจะเป็นยังไง รวมสาระน่ารู้ลำโพงแขวน
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » ลำโพงไลน์อาร์เรย์ (Line Array) คืออะไร?

Estimated reading time: 3 นาที

ลำโพงไลน์อาร์เรย์ (Line Array) คืออะไร? สวัสดีครับสำหรับวันนี้ก็มีเกร็ดความรู้มาฝากทุกท่านเช่นเคย สำหรับลำโพงแขวน Line-Array ก็ถือว่าเป็นลำโพงที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนหน้านี้ลำโพงแบบ พ้อยท์ซอซ (Point Source) จะเป็นที่นิยมอย่างมากก็ตาม

ลำโพงแบบ พ้อยท์ซอซ(Point Source)
ลำโพงแบบ พ้อยท์ซอซ(Point Source)

ทำไมต้อง ลำโพงไลน์อาร์เรย์ (Line Array) ?

อย่างไรก็ดีด้วยข้อจำกัดหลายอย่างของลำโพงแบบ พ้อยท์ซอซ (Point Source) ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์กับงานหรือไลท์สไตส์ในปัจจุบัน ที่ต้องการความรวดเร็ว ความกระทัดรัด การเซ็ทอัพที่มีความรวดเร็วแม่นยำในการกระจายเสียง ทำให้ปัจจุบันผู้ให้เช่าเกี่ยวกับระบบเสียง ต่างหันมาใช้ลำโพงแบบ Line Array ซึ่งให้ภาพลักษณ์ที่ดูทันสมัยมากกว่า

ลำโพงไลน์อาร์เรย์

และอีกหลายปัจจัย ที่ทำให้ต้องหันมาใช้ลำโพงลายอาเรย์ไว้ใช้งาน ก็เพราะลำโพงลายอาเรย์ คือ ลำโพงที่วางตัวในลักษณะเรียงตัวเป็นแนวยาว ซึ่งส่วนมากจะแขวนเป็นแนวดิ่ง ส่วนมากนิยมแขวนบริเวณที่สูง (การ FLYING ฟรายอิง)

ลำโพงแขวน

เพื่อให้ได้มุมกระจายเสียงที่ครอบคลุมแอเรียหรือพื้นที่ตามต้องการ

ลำโพงลายอาเรย์ ลำโพงไลอาร์เรย์
ลำโพงแขวน

หรือบางที ด้วยขนาดของพื้นที่หรือลักษณะของงานอาจจะไม่แขวนลำโพง ลำโพงลายอาเรย์ บนที่สูงเสมอไป อาจจะวางกับพื้นแล้วปรับตั้งองศาของลำโพงเอียงขึ้นมาหาผู้ฟังบนอัฒจรรย์ ก็สามารถทำได้เช่นกัน เราจะเห็นบ่อยในสนามกีฬา เป็นต้นเรียกการติดตั้งแบบนี้ว่า กราวด์สแต็ค(Ground stack) นั่นเองครับ

ลำโพง (Ground stack กราวด์สแต็ค
ลำโพง Ground stack กราวด์สแต็ค

ลำโพงไลน์อาร์เรย์ ในปัจจุบันมีมากมายหลายแบรนด์ส่วนใหญ่ก็จะมีโรงงานผลิตที่ประเทศจีน มีทั้งแบรนด์ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วที่ย้ายฐานผลิตมาอยู่ที่จีน หรือหลายค่ายในบ้านเราก็สั่งผลิตแบบ OEM มาเป็นแบรนด์ตัวเองก็มีเยอะครับ หรือบางค่ายก็ยังมีผลิตทางฝั่งยุโรปและอเมริกาอยู่ ซึ่งจะผลิตที่ใหนก็ไม่ได้จำกัดเรื่องของคุณภาพแต่อย่างใด

ซึ่งปัจจุบันต้องบอกว่าลำโพงแบบไลน์อาเรย์ มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆไปจนถึงขนาดใหญ่ 15 นิ้ว ซึ่งมีทั้ง 2 way และ 3 way ให้เลือกใช้งาน และที่สำคัญลำโพงแบบลายอาร์เรย์ มีทั้งแบบพาสซีพไม่มีแอมป์ขยาย

ลำโพงไลน์อาร์เรย์ แบบ Passive

และแบบแอคทีฟแบบมีแอมป์ขยายในตัว ซึ่งแบบแอคทีฟส่วนมากก็จะมี DSP(ดิจิตอลโปรเซสเซอร์) มาพร้อมให้ปรับใช้งาน

ลำโพงไลอาร์เรย์ Active

ไม่ว่าจะเป็น ครอสโอเวอร์ คอมเพรสเซอร์ ลิมิตเตอร์ หรือ ไทม์ดีเลย์ ก็สามารถจัดการได้แบบสะดวกและรวดเร็วและมีประสิทธิภาพผ่านระบบเชื่อมต่อผ่านคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อื่น

ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากมาย ซึ่งสอดคล้องกับวงการเครื่องเสียงบ้านเราที่มีการแข่งขันกันอย่างสูง จะเห็นว่าไม่ว่างานขนาดเล็กๆตามชุมชน หมู่บ้าน จนถึงงานระดับโปรเฟสชั่นเนลก็จะใช้ลำโพงแบบ Line-Array กันทั้งนั้น

แต่ลำโพง Line-Array ก็จะมีสแตนดาร์ดที่ควรจะมีอยู่ครับ ไม่ใช่เอาลำโพงอะไรก็ได้ไปแขวนก็จะเรียกว่าเป็นลำโพง Line-Array ทั้งหมด

เดี๋ยวเรามาดูรายละเอียดกันครับว่ามีอะไรบ้างเบื้องต้น

ลำโพงไลน์อาร์เรย์ นอกจากจะมีแบบ Passive และ Active แล้ว ยังจำแนกแยกแยะออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน

ลำโพงไลอาร์เรย์

1. เนียร์ฟิว (Near-Field) คือ ลำโพงลายน์อาเรย์ ที่ใช้ในการกระจายเสียงระยะใกล้ เพื่อให้เสียงครอบคลุมพื้นที่ระยะใกล้บริเวณหน้าเวทีเพื่อลดจุดบอดของเสียงที่จะเกิดขึ้นนั่นเองครับ

2. ฟาร์ฟิว (Far-Field) คือ ลำโพงลายน์อาเรย์ ที่ใช้ในการกระจายเสียงระยะไกลสำหรับผู้ฟังระยะไกล ซึ่งลำโพงแบบ Farfield ก็จะถูกกำหนดให้กระจายเสียงไปในทิศทางหรือโซนที่ถูกกำหนดไว้โดยเอ็นจิเนีย

ในลำโพง Line Array ระดับ Professional ที่มีความนิยมก็จะมีโปรดักส์ไว้รองรับทั้ง เนียร์ฟิว(NearField) และ ฟาร์ฟิว(FarField) Line Array Lound Speaker จุดประสงค์เพื่อเป็น Full System Set นอกจากนี้นอกจากตู้ Mid-Hi แล้ว Line-Array ระดับ Professional ก็จะออกแบบทั้งตู้ Mid-Low และตู้ Sub ที่เป็นซีรีย์เดียวกันด้วยเพื่อการเซ็ทอัพที่ง่ายและเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ลำโพงไลอาร์เรย์

แต่ส่วนมากบ้านเราจะใช้ลำโพงแบบยิงไกลซะส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังพบการสั่งประกอบตู้ซับชนิดแรงๆกระแทกตับ 555 ชนิดแบบจุกอกหายใจไม่ออก มาใช้ร่วมกันกับลำโพง FarField ซึ่งปัญหาที่เจอคือให้เสียงที่มีรอยต่อ ไม่เป็นก้อนเดียว กลางแหลมเสียงไปอีกแบบ ลำโพงซับมีโทนเสียงอีกแบบ ซึ่งการใช้ลำโพงแบบค่ายผสมนี้บอกได้เลยว่าปรับให้แมชชิ่งกันค่อนข้างยาก

ส่วนลำโพงแบบ เนียร์ฟิว Line Array ในคอนเสิร์ตระดับใหญ่ๆ หรืองานระดับ Professional จะพบลำโพง เนียร์ฟิว Line Array ด้วย

ลำโพงไลน์อะเรย์

แต่ที่นิยมและเห็นบ่อยในบ้านเราคือระบบ FrontField ที่มักจะใช้ลำโพงทั่วไปหรือลำโพงพ้อยท์ซอซมาวางตั้ง เพื่อช่วยลดจุดบอดด้านหน้าของเวทีแทน

โดยปกติมาตรฐานลำโพงแบบ ไลน์อาร์เรย์ ถูกออกแบบให้ผู้ใช้สามารถต่อพ่วงกันได้ทีละหลายๆใบอยู่แล้ว เพื่อรองรับตามสเกลงาน ถึงกระนั้นถึงจะต่อลำโพงกี่ใบก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็น 4 ใบต่อข้างหรือ 24 ใบต่อข้าง Line Array ที่ดีก็จะให้เสียงเป็นก้อนเดียวแบบไร้รอยต่อ เสมือนเราฟังลำโพงแค่ใบเดียว ถึงแม้ความเป็นจริงในระบบเราจะพ่วงต่อลำโพงจำนวนหลายใบก็ตาม

ลำโพง ลำโพงไลอาร์เรย์ ที่มีขนาดเท่ากันและตอบสนองความถี่เดียวกัน ต่อพ่วงเรียงเป็นแนวเดียวกัน โดยจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้มีความดังที่เพิ่มมากขึ้นหรือมีค่า SPL ที่สูงขึ้น และความเข้มของเสียงที่เพิ่มมากขึ้นด้วย เพื่อให้รองรับกับจำนวนผู้ชมผู้ฟังตามสเกลงานต่างๆที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ว่าผู้ฟังจะอยู่จุดใหนก็จะได้ยินเสียงที่ออกมาใกล้เคียงกัน แต่โทนเสียงหรือคาเรคเตอร์ของตู้ลำโพง ลำโพงไลอาร์เรย์ จะไม่เปลี่ยนโทนเสียงไป นี่คือ Line-Array System ที่ควรจะเป็น

หากการต่อพ่วงกันของตู้ลำโพงจำนวนหลายใบทำให้เกิดสีสันหรือคัลเลอร์ของเสียงที่มากหรือลดลงช่วงความถี่ใดความถี่หนึ่ง พูดง่ายๆคือเสียงผิดเพี้ยนไปจากเดิมก็คงจะเป็นอะไรที่ไม่ใช่มาตรฐานที่ควรจะเป็นสำหรับระบบ Line-Array System
ในช่วงท้ายเราจะมาดูจุดเด่นระหว่าง Passive Line-Array และ Active Line-Array กันนะครับว่ามีอะไรบ้างเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการชั่งน้ำหนักจัดซื้อลำโพง Line-Array มาใช้งาน

เพาเวอร์แอมป์

ลำโพงไลน์อาร์เรย์ แบบ Passive

ไม่มีแอมป์ขยายในตัว ต้องใช้เครื่องขยายเสียง

จุดเด่น

  • สามารถเลือกแอมป์ขยายเสียงที่เราชื่นชอบและคิดว่าแมชกับลำโพงได้อย่างอิสระเพื่อมาขับลำโพง Line-Array แบบ Passive
  • ราคาต่อใบมีราคาประหยัดกว่าถูกกว่า Active Line-Array ในสเปคซีรีย์เดียวกัน
  • ต่อเฉพาะสายลำโพง ไม่ต้องต่อหรือเดินสายไฟและสายสัญญาณเสียงมาที่ตู้ลำโพง

ข้อจำกัดหรือจุดด้อย

  • ขนย้ายอุปกรณ์จำนวนมาก เช่น ตู้ลำโพง แอมป์ขยาย โปรเซสเซอร์ ต่างๆทำให้การติดตั้งเซ็ทอัพใช้ระยะเวลายาวนาน
ลำโพงไลอาร์เรย์

ลำโพงไลน์อาร์เรย์ แบบ Active

มีแอมป์ขยายในตัว อาจไม่ต้องจำเป็นต้องใช้เครื่องขยายเสียงเพิ่ม

จุดเด่น

  • เป็นลำโพงที่ให้ความสะดวกและรวดเร็วในการติดตั้งอย่างยิ่ง ลดภาระในการขนย้ายอุปกรณ์เสียงและ เครื่องขยายเสียงจำนวนมากมาย
  • ลดจำนวนของสายสัญญาณในการต่อพ่วง ลดระยะเวลาในการติดตั้ง ทำให้ประหยัดเวลา
  • ตอบสนองแม่นยำ แอมป์กับลำโพง ออกแบบมาโดยเฉพพาะทำให้แมชชิ่งกัน ง่ายต่อการเซ็ทอัพและง่ายต่อการคอลโทรล

ข้อจำกัดหรือจุดด้อย

  • หากตู้ได้รับความเสียหายต้องยกไปทั้งใบเพื่อซ่อมแซมบำรุง
  • ราคาต่อใบมีราคาสูงกว่า ลำโพงไลน์อาร์เรย์ แบบ Passive

ไม่ว่าจะเป็นลำโพงแบบมีแอมป์และไม่มีแอมป์ ก็ไม่มีอะไรเพอร์เฟ็ค ไปซะทุกอย่าง ลำโพงทั้งสองแบบมีทั้งจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเราชอบจุดเด่นที่ตรงประเด็นหรือตรงคอนเซ็ปกับสเกลงานของเราหรือไม่ ตอบโจทย์ลักษณะงานของเรามากน้อยเพียงใด และยอมรับกับข้อจำกัดของลำโพงแต่ละแบบได้หรือไม่ นี่ต่างหากที่สำคัญ

หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย พบกันในบทความถัดไป ขอบคุณและสวัสดีครับ ดูสินค้า ลำโพงลายอาเรย์ คลิก

เขียนบทความ…SoundDD.Shop

โดย…บริษัท เอสพีเค ซาวด์ซิสเต็มส์ จำกัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอดไลน์ที่: @sounddd.shop (มี @ ข้างหน้าด้วยนะครับ)

Facebook : SoundDD.Shop

Website: www.sounddd.shop

Tel:  02 435 8998 | 085 396 8888

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

น้ำเข้าลำโพงโทรศัพท์ เสียงแตก แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

คุณลำลังประสบปัญหา ลำโพงเสียงแตก เบา ไม่ชัด จากน้ำที่เข้าลำโพงโดยไม่ตั้งใจหรือไม เรามีวิธีแก้มาฝากกันครับ

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้นจริงหรือ!?

เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นจริงหรือ!? บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND

พาชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND สุดพรีเมียมและให้เสียงคาราโอเกะอันเป็นเอกลักษณ์ของ JBL

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ พร้อมจออินเตอร์แอคทีฟ

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ด้วยชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ JBL EON208P ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก