คู่มือ…การใช้มิกเซอร์(MIXER)ให้เป็นมือโปร

คู่มือ...การใช้มิกเซอร์ (MIXER) ให้เป็นมือโปร วิธีใช้มิกเซอร์ ตั้งค่ามิกเซอร์ เครื่องผสมสัญญาณเสียง สอนวิธีใช้มิกเซอร์ ไม่ต้องมีพื้นฐานก็เป็นมือโปรได้
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » คู่มือ…การใช้มิกเซอร์(MIXER)ให้เป็นมือโปร

Estimated reading time: 7 นาที

ก่อนจะไปถึง วิธีใช้มิกเซอร์ ตั้งค่ามิกเซอร์ เครื่องผสมสัญญาณเสียง สอนวิธีใช้ มิกเซอร์ ขอเกริ่นก่อนว่า มิกเซอร์ หรืออุปกรณ์ผสมเสียง ท่านที่ทำงานด้านระบบเสียงอาจจะรู้จัก และคุ้นหน้า คุ้นตา เจ้าตัวอุปกรณ์ที่เรียกว่า “มิกเซอร์” นี้ดีอยู่แล้ว แต่บางท่านที่ไม่คุ้นหน้า หรือเป็นมือใหม่ทางด้านเครื่องเสียง อาจจะยังสงสัยว่า ไอ้เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้มันมีหน้าที่อะไรนร้า… ทำไมปุ่มกด ปุ่มหมุน มันเต็มไปหมดเลย ชวนให้เราสงสัยว่าแต่ละปุ่มแต่ละตำแหน่งมันทำหน้าที่อะไรบ้าง ดังนั้น เรา SoundDD.Shop จะนำพาท่านให้รู้จักกับมิกเซอร์ และการทำงานของปุ่มต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น

สารบัญ

มิกเซอร์คืออะไร?

มิกเซอร์ก็คืออุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณเสียงจาก ไมโครโฟน เครื่องดนตรีต่างๆหรือ ซอสเสียงจากแหล่งกำเหนิดเสียงเช่น เครื่องเล่น CD MP3 NOTEBOOK เป็นต้น ก็สามารถมาอินพุทเข้ามาในมิกเซอร์เพื่อทำการปรับแต่งเสียงผสมสัญญาณเสียงให้มีความเหมาะสม และส่งสัญญาณเสียงออกไปหาอุปกรณ์ต่างๆเช่น เครื่องขยายเสียงเป็นต้น

ก่อนอื่นเลยที่เราจะรู้จักการใช้งาน ตั้งค่า มิกเซอร์นั้น เราควรรู้จักปุ่มต่างๆบนมิกเซอร์ กันดีกว่าว่าใช้งานทำอะไรกันบ้าง

ปุ่มทั้งหมดบนมิกเซอร์

1. ภาคอินพุท Mic / Line

ภาคอินพุท Mic / Line

Mic/Line Input เป็นช่องที่รับสัญญาณอินพุท (Input) จากแหล่งต้นเกิดเสียงชนิดต่างๆ (Source) เช่น ไมโครโฟน อุปกรณ์เครื่องดนตรี เครื่องเล่นเพลเยอร์ชนิดต่างๆ มาเสียบอินพุทเข้าส่วนแจ็คมีทั้งแบบ XLR, Phone TRS /TS, RCA, Mini Jack 3.5 MM. และในแบบ Combo Jack ซึ่งสามารถเสียบใช้งานได้ทั้งในแบบ XLR และ Phone TRS /TS ในช่องเดียวกัน

การใช้งานก็ขึ้นอยู่กับ ระดับความแรงสัญญาณที่ป้อนเข้าสู่มิกเซอร์ เช่น ช่องสัญญาณไมโครโฟนมีความแรงอยู่ที่ +4 dB u และสัญญาณแบบไลน์มีความแรงอยู่ที่ -10 dB v และ ไม่ควรเสียบใช้งานไมโครโฟน ที่ช่อง Line Input(เพราะจะทำให้เสียงไมค์เบามาก) ควรเสียบใช้งานที่ช่อง Mic Input เป็นต้น

2. Phantom +48V

PHANTOM-48V

ปุ่มนี้ทำหน้าที่จ่ายไฟให้ กับไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condenser) เช่น ไมค์จ่อไฮแฮดกลอง และอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ไฟเลี้ยง เช่น กล่องดีไอบ๊อกซ์ (DI Box) ชนิดแอคทีฟ (Active) ไฟที่ออกมาจะเป็นไฟ DC ซึ่งมีแรงดันระหว่าง 12-48 V (โวลต์) ในดิจิตอลมิกเซอร์ และในอนาล็อกมิกเซอร์บางรุ่นจะแยกปล่อยไฟได้อิสระในแต่ละช่องสัญญาณ หรือบางรุ่นอาจจะเป็นปุ่มเดียวแล้วปล่อยไฟ 48 โวลต์ ไปให้ทุกช่องสัญญาณแล้วแต่การออกแบบและดีไซน์ครับ

3. Gain

Gain

ทำหน้าที่ปรับระดับอัตราการขยาย ความแรงของสัญญาณขาเข้าของมิกเซอร์  ว่าต้องการให้มีระดับ ความแรงที่เท่าไหร่ ซึ่งในมิกเซอร์บางรุ่น จะใช้ชื่อเรียกว่าปุ่มทริม (Trim) และ มิกเซอร์บางตัวจะมีปุ่มเกน (Gain)การปรับเกนบนมิกเซอร์ถือว่าสำคัญมาก  เราควรปรับให้อยู่ในระดับความแรงของสัญญาณที่เหมาะสมอย่างที่สุด เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงทีดี และมีคุณภาพ

4. Phase

ทำหน้าที่ในการปรับแก้ไขเฟสที่ไม่ถูกต้อง ที่อาจเกิดจากการต่อขั้วสายสัญญาณผิดพลาดหรือสลับขั้ว หรือการวางไมค์ที่ก่อให้เกิดการกลับเฟสกัน (มักเกิดจากการวางไมค์มากกว่าสองตัวขึ้นไป) ให้คืนสัญญาณอยู่ในสภาพปกติ ซึ่งในบางครั้งเราสามารถสังเกตุได้จากการฟังเสียงว่ามีเสียงในบางย่านความถี่หายไป หรือ เบาลงหรือไม่ ซึ่งเราสามารถลองกดปุ่มนี้ได้เลย โดยไม่มีผลกระทบต่ออุปกรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น

5. Pad

Pad

ปุ่มนี้สามารถลดทอน ความแรงของสัญญาณที่เข้ามา โดยส่วนมากจะลดระดับความแรงลงอีก –20dB (หรือตามที่มิกเซอร์ระบุ) โดยปกติแล้วปุ่มนี้เราจะใช้ก็ต่อเมื่อ สัญญาณที่เข้ามานั้นมีความแรงจนเกินกว่า ที่ช่องสัญญาณขาเข้าจะรับได้ เพื่อรักษาระดับ ก่อนสัญญาณเข้าสู่ขาเข้า (Gain) ในระบบ มิกเซอร์บางยี่ห้อจะใช้คำว่า MIC ATT (Microphone Attenuation) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกัน

6. Low Pass-Filter (LPF / High-Cut)

Low pass-filter มีความสามารถในการ กรองย่านความถี่สูง ที่เราไม่ต้องการออก เพื่อไม่ให้ผ่านไปได้ แต่ยอมให้ความถี่ต่ำผ่านได้โดยสะดวก เช่น เราตั้งความถี่ไว้ที่ 100 Hz สัญญาณที่มากกว่า 100 Hz จะไม่สามารถผ่านได้ แต่สัญญาณที่ต่ำกว่า 100 Hz จะผ่านได้โดยสะดวก ซึ่งในมิกเซอร์บางรุ่นจะใช้คำว่า “High Cut” (คัดเสียงสูงทิ้ง) โดยส่วนมาก จะใช้กับกลุ่มเครื่องดนตรีที่ให้เสียง ย่านเสียงต่ำ เช่น Kick Drum ของกลอง, เบส

7. High Pass-Filter (HPF / Low-Cut)

Pad

high pass-filter มีความสามารถในการกรองย่านความถี่ต่ำ ที่เราไม่ต้องการออก เพื่อไม่ให้ผ่านไปได้ แต่ยอมให้ความถี่สูงผ่านไปได้ เช่น เราตั้งความถี่ไว้ที่ 100 Hz สัญญาณที่มากกว่า 100 Hz จะสามารถผ่านไปได้โดยสะดวก แต่สัญญาณที่ต่ำกว่า 100 Hz จะไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งในมิกเซอร์บางรุ่นจะใช้คำว่า “Low Cut” (คัดเสียงต่ำทิ้ง) โดยส่วนมากจะใช้กับไมโครโฟนในงานร้อง และพูด เป็นต้น

8. Mute

MUTE

ปุ่ม Mute เมื่อกดปุ่มนี้ลงก็จะทำหน้าที่หยุดการทำงานของแต่ละชาแนลชั่วคราว

9. Solo

SOLO

ปุ่มนี้สามารถกดเพื่อเช็คสัญญาณเสียงที่เข้ามาได้อย่างอิสระเราสามารถรู้ด้วยว่าสัญญาณที่เข้ามาน้อยหรือแรงเพียงใด ซึ่งเราสามารถตรวจสอบความผิดปกติของสัญญาณขาเข้า เช่น เสียงจี่ เสียงฮัม Noise ที่เข้ามารบกวนของแต่ละช่องได้ ด้วยเฮดหรือหูฟัง

10. Mute Group

เป็นปุ่มสำหรับปิด-และเปิดการทำงานหลายๆ ช่องสัญญาณพร้อมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งการใช้งาน จะต้องตั้งค่าให้แต่ละช่องสัญญาณที่เราต้องการ Mute ให้อยู่ใน Group เดียวกันเสียก่อน เช่น การตั้งค่า Mute Group ของกลุ่มกลองชุด เราสามารถกดปุ่มเดียวแล้วทำให้ช่องสัญญาณของกลุ่มกลองชุดที่ตั้งค่าไว้ทั้งหมดปิด (Mute) พร้อมกัน และสามารถเปิดใช้งานพร้อมกันได้ทั้งหมดนั่นเอง ซึ่งทำให้สะดวกโดยไม่ต้องคอยกดปุ่ม (Mute) ทีละช่องให้เสียเวลานั่นเอง

11. Insert

เป็นช่องที่เป็น อินและเอาท์ในช่องเดียว ช่องนี้มีไว้สำหรับสำหรับต่อการใช้งานกับอุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆเช่น EQ, Compressor, effect และ Processer ต่างๆ เป็นต้น เพื่อปรับแต่งเสียงเฉพาะชาแนลนั่นเองซึ่งแจ็คที่ใช้งานในช่องนี้จะเป็นแจ็ค TRS Phone ¼’’

12. Equalizer

อีควอไลเซอร์ หรือบางท่านเรียกว่า EQ จะมีหน้าที่ในการปรับแต่งแต่งเสียง ปรับโทนเสียงของแต่ละช่องสัญญาณ ที่เราต้องการปรับบนมิกเซอร์ โดยส่วนมากบน อนาล็อกมิกเซอร์จะมีให้เลือกปรับ 3 Band สามารถปรับเสียง (ทุ้ม-กลาง-แหลม) แต่ก็มีมิกเซอร์รุ่นขนาดใหญ่ๆ ที่สามารถเลือกย่านความถี่เสียงในการปรับได้เช่นกัน

ส่วนดิจิตอลมิกเซอร์ จะมีให้เลือกปรับทั้งในแบบพาราเมติกอีคิว และ กราฟฟิกอีคิว ภายในตัว ซึ่งสามารถปรับได้โดยละเอียด ทั้งการปรับค่าความถี่ (Frequency) การปรับความกว้างของช่วงความถี่เสียง Bandwidth (Q) และการปรับเกน (Gain) ดัง-เบาของแต่ละความถี่เสียง ซึ่งเราสามารถเลือกปรับได้อย่างอิสระ และหลากหลายเพิ่มความสะดวกสบายในการปรับแต่งเสียงเป็นอย่างยิ่ง

13. EQ Bypass

ตั้งค่า MIXER

ปุ่มปิดหรือเปิด ในการใช้อีคิวหรือจะไม่ใช้ เพื่อเปรียบเทียบการใช้อีคิวและไม่ใช้ว่าสัญญาณเสียงก่อนใช้อีคิว และหลังใช้จะเป็นอย่างไร เพื่อให้ง่ายต่อการปรับแต่ง และเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของคุณภาพของเสียง ทั้งก่อนและหลังใช้อีคิว นั่นเอง โดยปุ่มคำสั่งใช้งานนี้ มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการปรับแต่งเสียง

14. Studio level

ทำหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงที่ออกมาจากมิกเซอร์ เพื่อส่งเข้าไปยังห้องที่บันทึกเสียง ก็คือห้อง Studio นั่นเอง

15. Control room level

ทำหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงที่ได้ยินทั้งหมดจากมิกเซอร์ ที่อยู่ภายในห้องควบคุมเสียง

17. Auxiliary Send Masters (AUX SEND)

ทำหน้าที่ควบคุมความดัง-เบาของสัญญาณทั้งหมด ที่มาจาก aux จากแต่ล่ะช่องเสียงในมิกเซอร์ หากเราปิด Aux Send Master ถึงแม้เราจะส่งสัญญาณจาก Aux ในแต่ละ Channel ก็จะไม่มีผล ในทางตรงกันข้ามหากเราเพิ่มระดับความแรงของ Aux Send Master ความแรงของสัญญาณจาก Aux ในแต่ล่ะช่องเสียงบนมิกเซอร์ก็จะดังทั้งหมดโดยส่วนมากจะใช้เป็นตัวควบคุมระดับเสียงดัง-เบา ที่ส่งสัญญาณออกไปยังมอนิเตอร์ทั้งหมด

18. Pre / Post

Pre หมายถึงก่อนเฟดเดอร์ สัญญาณที่เข้ามาในแต่ละช่องเสียงของมิกเซอร์สามารถปรับลดหรือเพิ่มความดังเสียงได้โดยไม่ผ่านเฟดเดอร์ของมิกเซอร์

Post หมายถึงหลังเฟดเดอร์ สัญญาณที่เข้ามาในแต่ละช่องเสียงของมิกเซอร์ จะมีผลดัง-เบาตามเฟดเดอร์หลัก เมื่อเราลดเฟดเดอร์ลงสัญญาณที่เข้ามาก็จะลดลงตามไปด้วย

18. Pan

ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายตำแหน่งสัญญาณเสียง การปรับน้ำหนักหรือการเทน้ำหนักของเสียง ให้ไปทางซ้าย หรือทางขวา ก่อนออกสู่ลำโพง ใช้ในกรณีที่เราต้องการมิกซ์เสียงให้เป็นแบบระบบสเตอริโอ (Stereo) หรือ ทำการบาลานซ์เสียง เช่น การบาลานซ์เสียงกลองชุดให้เกิดมิติของเสียง และทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายโอนสัญญาณลงร่องเสียง (Track) เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องบันทึกเสียงอีกด้วย

19. Group or Bus

ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่เข้ามาจากหลายช่องเสียง (Channel) เพื่อรวมสัญญาณให้ออกที่ output เดียว เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องบันทึกเสียง หรือเครื่องขยายเสียง หรือ ช่องเสียงภายในมิกเซอร์เอง เช่น เราสามารถจัดกรุ๊ปหรือบัสเสียงกลุ่มนักร้องและเครื่องดนตรี จากหลาย ๆ ช่องเสียงบนมิกเซอร์ ให้ออกเป็นช่องเสียงเดียวได้ด้วยการควบคุมเฟดเดอร์เพียงตัวเดียว เพื่อความสะดวกต่อการควบคุมความดัง-เบาของสัญญาณทั้งหมด การส่งสัญญาณบัสหรือกรุ๊ปทำได้ด้วยการใช้แพน (Pan) เป็นตัวจ่ายสัญญาณว่าไปทางไหนควบคู่ไปกับช่องเลือกสัญญาณ (Track Selected)

20. Track Selected

ในมิกเซอร์ที่มีราคาแพงนั้นจะอยู่บนสุดเป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายสัญญาณได้อย่างอิสระว่าจะให้ออกไปสู่ช่องเสียงใด ที่เครื่องบันทึกเสียงแบบมัลติแทรค ซึ่งอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า ไดเร็กต์แอสไซน์ (Direct Assign)

21. Direct Output

ทำหน้าที่ดักสัญญาณที่เข้ามาโดยไม่ผ่านปุ่มต่าง ๆ บนมิกเซอร์เพื่อให้สามารถนำสัญญาณสด ๆ นี้ไปพ่วงกับอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียง (Effects) หรือเครื่องบันทึกเสียงได้โดยตรงตามแต่ วัตถุประสงค์ที่ต้องการ

22. Effect Send

ทำหน้าที่จ่ายสัญญาณออกมาจากตัวมิกเซอร์ ในแต่ละช่องเสียงไปสู่เครื่องเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เช่น รีเวิร์บ (Reverb) หรือดีเลย์ ซึ่งมักใช้ปุ่ม Aux เป็นตัวส่งสัญญาณ

23. Effect Return

เป็นช่องสำหรับรับสัญญาณของอุปกรณ์เสียงต่างๆ ที่ถูกป้อนมาจากช่อง Effect Send อีกทีหนึ่ง เพื่อการได้ยินเสียงที่ส่งออกมานั่นเอง (เช่นเครื่องมัลติเอฟเฟค) เป็นต้น ลองนึกภาพตามง่ายๆครับ ถ้าเราจะต่อเอฟเฟคใช้งานก็ให้ต่อช่อง Effect send ออกไปเข้าช่องอินพุทเอฟเฟค แล้วต่อช่องเอ้าท์พุทของเอฟเฟคมาเข้าที่ช่อง Effect Return ครับ

24. Stereo Master Fader

มีอยู่สองลักษณะคือแบบ สไลด์โวลุ่ม (Slide Volume) และแบบหมุน (โรตาลี่) ทำหน้าที่เป็นตัวปรับความดังเบาของสัญญาณทั้งหมดบนมิกเซอร์ ก่อนที่จะออกไปสู่เครื่องมือชนิดต่างๆ

25. Group or Buss Output Faders

Group or buss output faders บางที่เรียกว่า กรุ๊ปเฟดเดอร์ (Subgroup Faders) ทำหน้าที่ควบคุมการส่งออกของสัญญาณที่มาจากกรุ๊ป หรือบัสอินพุตเฟดเดอร์ (Buss Input Fader) โดยจะแยกเป็น สเตอริโอ ซึ่งมีแพน (Pan) ทำหน้าที่ควบคุมการส่งสัญญาณไปทางซ้าย หรือขวาเพื่อผลของการมิกซ์เสียง (Mix down) หรือการจัดตำแหน่งสัญญาณ

26. Stereo Buss Input

ทำหน้าที่รองรับสัญญาณจากแหล่งสัญญาณอื่นๆ เพื่อให้สามารถนำสัญญาณมาใช้สัญญาณร่วมกัน เช่น กรณีที่ใช้มิกเซอร์สองตัวโดยตัวแรกใช้สำหรับรองรับสัญญาณจากเครื่องดนตรีและเสียงร้อง ส่วนตัวที่สองใช้สำหรับกลุ่มคีย์บอร์ด แต่เราต้องการควบคุมสัญญาณทั้งหมดจากมิกเซอร์ตัวแรก เราสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณจากมิกเซอร์ในตัวที่สอง จากภาคเอาต์พุตสเตอริโอ (Output Stereo) แล้วต่อเข้าที่ สเตอริโอบัส (Stereo Buss) ที่ว่านี้ในมิกเซอร์ตัวแรก ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมระดับความแรงเบาของสัญญาณจากมิกเซอร์ตัวที่สองได้ที่มิกเซอร์ในตัวแรก ในภาคสเตอริโอบัสของมิกเซอร์ตัวแรก นั่นเอง

27. Solo In Place

ปุ่มนี้สามารถเลือกที่จะเช็คสัญญาณ สลับระหว่างหูฟัง และชุดลำโพงหลัก PA ได้ โดยปกติหากเรากดปุ่ม Solo สัญญาณช่องไหน เสียงก็จะไปออกที่หูฟัง แต่หากเรากดปุ่ม Solo In Place สัญญาณจะสลับไปดังที่ชุดลำโพงหลัก PA แทนหูฟัง เพื่อใช้ในการปรับแต่งเสียงในชุดลำโพง PA โดยทั่วไปจะใช้ปุ่มนี้เฉพาะตอนซาวด์เช็คก่อนเริ่มการแสดงเท่านั้น ไม่สามารถที่จะใช้ขณะทำการแสดงได้ มิกเซอร์บางยี่ห้อจะใช้ตัวย่อว่า เอสไอพี

28. VCA , DCA

ทำหน้าที่เพื่อจัดกลุ่มสัญญาณ Input ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อให้ง่ายแก่การ Balance เสียง หลักการทำงานเหมือนกับ Group แต่จะต่างตรงที่ Group นั้นนำสัญญาณเสียงของแต่ละช่องสัญญาณ Input มารวมกันแล้วส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ที่ต่างๆ

ส่วน VCA, DCA นั้นทำหน้าที่ควบคุมสัญญาณ Input ก่อนที่จะส่งออกไป เช่น เราได้ทำการ Balance เสียงในกลุ่มกลองชุดไว้ทั้งหมดแล้ว เราสามารถที่จะขยับเฟดเดอร์ VCA, DCA เพื่อควบคุมสัญญาณ เพื่อปรับความดัง-เบาทั้งหมด ได้โดยไม่ต้องคอยปรับสไลด์ชาแนลในกลุ่มเสียงกลองทีละช่อง โดยไม่เสีย Balance ของช่องทั้งหมดอีกด้วย นี่คือข้อดีของ VCA, DCA นั่นเอง

29. PAN to Group

เป็นปุ่มคำสั่งที่เราสามารถเลือกการ Pan ไปด้านไหนของแต่ละช่อง ว่าจะให้มีผลต่อตำแหน่งของสัญญาณ และส่งไปที่ Group ด้วยหรือไม่ ซึ่งโดยปกติมิกเซอร์ขนาดเล็กจะไม่มีปุ่มคำสั่งนี้ให้เลือกใช้ สัญญาณการ Pan ของแต่ละช่อง จะส่งตามไปที่ Group ด้วยเสมอ

โดยส่วนมากปุ่มคำสั่งนี้ จะใช้เพื่องานบันทึกเสียง ที่ไม่ต้องการส่งสัญญาณการ Pan ในช่องนั้นๆ เพื่อไม่ให้มีผลต่อตำแหน่งของสัญญาณส่งตามไปที่ Group ด้วย

สรุป

มิกเซอร์จึงถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักสำหรับการควบคุมและถ่ายทอดสัญญาณเสียงในระบบเสียงเลยก็ว่าได้ ซึ่งในปัจจุบันมีมิกเซอร์หลากหลายรุ่นหลากหลายแบรนด์ ออกมาให้เราเลือกใช้งานทั้งในแบบอนาล็อค และในแบบดิจิตอลผู้ใช้งานจะต้องคำนวนและรู้ว่า เราจะใช้งานลักษณะใหน ต้องการมิกเซอร์กี่ชาแนลเพื่อให้เพียงพอกับสเกลงานของเรา นอกจากนี้ยังมีฟีดเจอร์และฟังก์ชั่นอื่นๆให้ร่วมพิจรณาในการที่จะเลือกมิกสักตัวที่เหมาะสมมาใช้งานอีกด้วย

สำหรับบทความเรื่อง คู่มือการใช้มิกเซอร์ เบื้องต้น ก็หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ และสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการเลือกและใช้งานมิกเซอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบคุณครับ

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้นจริงหรือ!?

เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นจริงหรือ!? บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!!

พาชมบรรยากาศงาน SC OPEN HOUSE 2024 ณ อาคาร วิชัย กรุ๊ป

พาชมภาพบรรยากาศ SC OPEN HOUSE 2024 การอัพเดตผลิตภัณฑ์ใหม่เช่น ชุดไมค์ประชุม, โซลูชันห้องประชุม, Network Switch สำหรับระบบ AV พร้อมชม Solutions สำหรับห้องรูปแบบต่างๆ

คู่มือการเลือก ซื้อหูฟังบลูทูธ เลือกยังไงให้คุ้ม เหมาะกับคุณมากที่สุด

ตีแผ่คู่มือการเลือกซื้อหูฟังบลูทูธ ไล่ตั้งแต่ ราคา ยี่ห้อ ไปจนถึงคุณสมบัติสำคัญที่คุณควรพิจารณา อยากรู้ คลิกดิ!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND

พาชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND สุดพรีเมียมและให้เสียงคาราโอเกะอันเป็นเอกลักษณ์ของ JBL

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ พร้อมจออินเตอร์แอคทีฟ

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ด้วยชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ JBL EON208P ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก