ปัญหา Wi-Fi ช้า เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรดี?

ปัญหา Wi-Fi ช้า เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรดี?
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » ปัญหา Wi-Fi ช้า เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรดี?

Estimated reading time: 4 นาที

อินเทอร์เน็ตช้าถือเป็นปัญหาของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ออฟฟิศก็ตาม ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงปัจจัยที่ทำให้เน็ตช้าก่อนว่ามีอะไรบ้าง พร้อมทั้งวิธีแก้ไข ซึ่งหากคุณเป็นผู้ที่ประสบปัญหาเหล่านี้แล้วลองทำตามวิธีต่างๆ ตามอินเทอร์เน็ตแล้วยังไม่หาย ลองทำตามวิธีของเราดูครับ พร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลย

อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันอย่างไร?

อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่ออย่างไร?

ก่อนที่จะไปถึงวิธีแก้ปัญหาเราก็จะมาพูดถึงว่าอินเอตร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร เพื่อที่จะรู้ว่าปัจจัยที่แท้จริงที่ทำให้เน็ตช้านั้นอยู่ส่วนไหนกันบ้าง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ปลายทาง, ระหว่างทาง และต้นทาง

ปลายทาง: ส่วนที่หนึ่งปลายทางหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ เช่น Youtube, facebook, google และอื่น ๆ ซึ่งในส่วนของผู้ให้บริการนั้นมักจะไม่มีปัญหา เนื่องจากผู้ให้บริการเว็บไซต์เหล่านี้ใช้ SLA ที่ย่อมาจาก Service Level Agreement คือข้อตกลงระดับการให้บริการ เป็นสัญญาจ้างผู้ให้บริการภายนอกและเทคโนโลยีที่ระบุระดับการบริการที่ Suppliers (ซัพพลายเออร์) สัญญาว่าจะส่งมอบให้กับลูกค้า เช่น เวลาทำงาน เวลาจัดส่ง เวลาตอบสนอง และเวลาแก้ปัญหา เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นที่ปลายทาง ก็จะมีเวลากำหนดว่าจะแก้ปัญหาและกลับมาใช้งานตามปกติในเวลาเท่าไหร่ สรุปง่ายๆ ในส่วนของปลายทางนี้มักจะไม่มีปัญหาเพราะมี SLA แต่ถ้ามีปัญหาเราก็จะทำอะไรในส่วนนี้ไม่ได้

ระหว่างทาง: ส่วนที่สองหรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นก็มี SLA เป็นของตัวเองเช่นกัน แต่จะมีระดับของการให้บริการอยู่ หากเราใช้ Corporate Internet ซึ่งเป็นระบบอินเทอร์เน็ตที่ถูกออกแบบมาสำหรับใช้ในองค์กร ซึ่งมักจะมี SLA ระบุมาอย่างชัดเจน แต่ในส่วนของผู้ให้บริการเน็ตบ้านที่เราใช้ทั่วไปแล้ว มักจะไม่มี SLA ระบุมาอย่างชัดเจน และการแก้ไขส่วนใหญ่จะเป็นการที่เราโทรหรือติดต่อไปที่ผู้ให้บริการเน็ตตอนที่อินเทอร์เน็ตเรามีปัญหานั่นเอง นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดมาจากความเสียหายของสัญญาณ อย่างที่เราทราบกันว่าสายไฟเบอร์นั้นถูกโยงมาจากเสาไฟฟ้า ในบางครั้งการเกิดอุบัติเหตุ (รถชนและอื่นๆ) กับเสาไฟเป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นควบคุมไม่ได้และไม่อยากให้เกิดขึ้นและนี่คือปัญหาของส่วนที่สองที่ทำให้เกิดปัญหาอินเทอร์เน็ตช้าครับ

ต้นทาง: ส่วนสุดท้ายหรืออินเทอร์เน็ตที่อยู่ในบ้านของเรานั่งเอง ซึ่งเป็นการลากสายไฟเบอร์เข้ามาที่บ้านของเราและติดตั้ง ONU (Optical Network Unit) ซึ่งเป็นเราเตอร์ ที่มีเสาอากาศและปล่อย Wi-Fi ให้สมาชิกในบ้านนั้นได้ใช้งานกัน ซึ่งบางครั้ง Wi-Fi ที่เราใช้งานจากเราเตอร์นั้นก็ช้า ทั้งๆ ที่อินเทอร์เน็ตของเราก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร แน่นอนว่ามันเกิดจาก Wi-Fi ซึ่งเราจะไปดูก่อนว่า Wi-Fi ทำงานอย่างไร และ Wi-Fi ช้าเป็นเพราะอะไร

Wi-Fi ทำงานอย่างไร

การสร้างสัญญาณ Wi-Fi คือการใช้อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายเช่นเราเตอร์ (router) ทำหน้าที่สร้างสัญญาณ Wi-Fi โดยใช้คลื่นวิทยุ ซึ่งมีความถี่ในช่วง 2.4 และ 5 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ณ ปัจจุบัน และทำการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต, หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความสามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi อุปกรณ์จะสแกนหาสัญญาณ Wi-Fi และขอรหัสผ่าน (หากมีการตั้งรหัสผ่านไว้) เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi ที่ถูกสร้างขึ้นโดยอุปกรณ์เราเตอร์ โดยตัวเราเตอร์นั้นจะปล่อยสัญญาญจากเสาเราเตอร์ ในรูปแบบ Omnidirectional หรือรอบทิศทาง

โดยปกติเราเตอร์ WiFi จะเชื่อมต่อกับเต้ารับอีเทอร์เน็ตหรือโมเด็ม DSL/เคเบิล/ดาวเทียม ผ่านสายเคเบิลเครือข่ายสำหรับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จากนั้นจะบรอดคาสต์ชื่อ WiFi (SSID) ไปยังอุปกรณ์โดยรอบ เมื่ออุปกรณ์ต้องการเข้าร่วมเครือข่ายไร้สาย อุปกรณ์จะส่งสัญญาณเพื่อแจ้งให้เราเตอร์ทราบ เมื่อเราเตอร์ได้รับและยอมรับคำขอ การเชื่อมต่อจะถูกสร้างขึ้น

สาเหตุที่ทำให้ Wi-Fi ช้า

เกิดจากอุปกรณ์


เนื่องจากการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย Wi-Fi นั้นเป็นเรื่องการสื่อสาร 2 ทาง ระหว่างเราเตอร์และอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ที่เราใช้งานไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต, โน๊ตบุ๊ค อุปกรณ์เหล่านี้ต่างก็มีเสาอากาศเช่นกันแต่เป็นเสาอากาศที่มีขนาดเล็กและมีกำลังส่งน้อยเพราะว่าทำงานอยู่บนแบตเตอรี่ ซึ่งทางผู้ผลิตโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตเองก็ต้องปรับแต่งอุปกรณ์ให้สมดุลเพื่อไม่ให้ใช้พลังจากแบตเตอรี่มากเกินไป เพราะจะทำให้แบตเตอรี่หมดไว นอกจากนี้ขณะที่เราใช้โทรศัพท์ มือของเราที่จับโทรศัพท์ก็ถือเป็นการไปบังเสาอากาศอีก (ยังไม่รวมเคสโทรศัพท์) ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่กล่าวมานี้ ทำให้การส่งข้อมูลของอุปกรณ์ของเราและเราเตอร์นั้นไม่ราบรื่นทำให้เป็นที่หนึ่งจุดที่ทำให้ช้านั่นเองครับ

อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ


จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ Access Point มีจำนวนที่เยอะทำให้ Wi-Fi ช้า ที่เป็นแบบเพราะเพราะสื่อกลางที่เราใช้ในการส่งข้อมูลนั้นคือ คลื่นวิทยุ ซึ่งเวลาที่คลื่นวิทยุส่งข้อมูลนั้นจะเป็นการส่งข้อมูลแบบ Half Duplex คือการส่งข้อมูลสองทิศทางแบบสลับกัน หมายความว่าถ้าเราจะส่งข้อมูลในขณะนั้น หากมีอุปกรณ์อื่นที่กำลังส่งข้อมูลอยู่ อุปกรณ์ของเราจะอยู่ในสถานะรอคิว เพราะว่าเราส่งข้อมูลแบบ Half Duplex เป็นการผลัดกันส่งผลัดกันรับซึ่งเป็นคลื่นวิทยุที่อยู่บนแชนเนลเดียวกัน ยิ่งมีผู้ใช้งานบน Access Point มากเท่าไหร่ก็จะมีคนต่อคิวส่งมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเราใช้งานเครือข่าย Wi-Fi ร่วมกันกับอุปกรณ์อื่นๆ ก็มีโอกาสที่จะมีอุปกรณ์ที่ทำการส่งข้อมูลเป็นเวลานานๆ ทำให้ทำอุปกรณ์อื่นๆ ส่งข้อมูลช้าไปด้วย

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นคือ หลายบริษัทหรือหลายบ้านมักใช้กล้องวงจรปิดแบบ Wi-Fi ซึ่งกล้องวงจรปิดจะเขียนข้อมูลบน NVR (ระบบคอมพิวเตอร์ที่บันทึกและจัดเก็บฟุตเทจวิดีโอบนฮาร์ดดิสก์) ผ่าน Wi-Fi อยู่ตลอดเวลา นั่นหมายความว่าคิวในการส่งข้อมูลนั้นแทบจะไม่มีเหลือให้ผู้ใช้อื่นในย่านนั้นเลยเลย นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุครับว่าทำไมในบ้านคุณ Wi-Fi ถึงช้า

อุปสรรคภายในบ้าน


เคยสังเกตุไหมว่าในบางครั้งหรือบางสถานที่เราอยู่ใกล้ตัวเราเตอร์ Wi-Fi มีการใช้งานปกติความความเร็วปกติ แต่ถ้าเราเดินย้ายไปใช้งานที่ห้องอื่น Wi-Fi มีความเร็วที่แย่ลงเรื่อยๆ นั่นเกิดมาจากอุปสรรคภายในบ้านเช่น ปูน, โลหะ, กระเบื้อง, กระจก, หรืออื่นๆ ที่ทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง

การใช้แชนเนล


เนื่องจากเวลา Access Point ปล่อยคลื่นออกมานั้นจะมีการระบุว่าอุปกรณ์ตัวนี้จะปล่อยออกมาในความถี่ที่เท่าไหร่และปล่อยออกมาที่ความกว้าง (Channel Width) เท่าไหร่ หรือกี่เมกะเฮิรตซ์ ทั้งสองอย่างนี้จะสอดคล้องกันในเรื่องของการใช้งาน โดยแชนเนลจะมีตั้งแต่ 36 ไปจนถึง 165 ซึ่งแชนเนลเหล่านี้จะมีใน Presets ของเราเตอร์ทุกตัวอยู่แล้ว

เมื่อปรับ Channel Width ให้กว้างขึ้นข้อมูลก็จะถูกส่งได้มากขึ้น ซึ่ง Channel Width ก็จะมี 20MHz, 40MHz, 80MHz, 160MHz โดย Channel Width ที่มีความกว้างน้อยก็จะมีเราเตอร์ที่แชนเนลไม่ชนกันมากขึ้น ในทางกลับกัน Channel Width ที่มีความกว้างมากก็จะมีเราเตอร์ที่แชนเนลไม่ชนกันน้อยลง Channel Width ที่น้อยการส่งข้อมูลก็น้อยลงไปด้วย ทำให้ผู้บริการส่วนใหญ่จะตั้งค่า Channel Width มาที่ 80MHz หรือตั้งค่าให้สูงที่สุด นั่นหมายถึงจำนวนเราเตอร์ที่แชนเนลไม่ชนกันจะน้อยลง

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเมื่อเราติดตั้งอินเทอร์เน็ต เราที่เป็นผู้เสียเงินใช้บริการอินเทอร์เน็ตก็อยากให้เน็ตเรานั้นแรงๆ ตัวเราหรือทีมงานที่ติดตั้งก็จะไปปรับ Channel Width ให้กว้างขึ้น Channel Width นั้นก็ปรับเสมือนถนน เมื่อถนนกว้างขึ้นรถก็จะวิ่งได้มากขึ้น แต่อย่าลืมไปว่า Channel Width ที่มีความกว้างมากก็จะมีเราเตอร์ที่แชนเนลไม่ชนกันน้อยลง เมื่อเปิด Access Point ที่เราตั้งค่าให้มีกำลังส่งสูงๆ จะทำให้สัญญาณเราไปชนกับเราเตอร์อื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น ทำให้เกิดการหักล้างเป็นสาเหตุที่ทำให้ Wi-Fi ช้านั้นเอง

วิธีแก้ปัญหา

วิธีแก้ปัญหา

การเดิน LAN หรือใช้ Mesh Wi-Fi


การเดิน LAN ไปที่ห้องต่างๆ ในกรณีที่บ้านของคุณหรือในบริเวณที่ใช้งานมีพื้นที่กว้างและมีหลายห้อง การเดิน LAN ไปยังห้องนั้นๆ เพื่อตั้ง Access point ที่ปลายทาง หรือการใช้ Mesh Wi-Fi หรือ Mesh router ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานกับระบบ WiFi ที่ใช้ภายในบ้านหรืออาคาร มีไว้เพื่อกำจัดพื้นที่จุดอับสัญญาณเพื่อให้อินเทอร์เน็ตสามารถใช้งานได้อย่างครอบคลุมทั่วทั้งบ้าน ทำให้สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดอาการอืดอาดของสัญญาณ Wi-Fi

อัปเกรดเทคโนโลยี Wi-Fi


Wi-Fi 6 ที่ใช่งานกันปัจจุบันจะมีความสามารถที่เรียกว่า OFDMA (Orthogonal frequency-division multiple access) คือการแบ่งคลื่นออกเป็น subcarriers คือการแบ่งช่องสัญญาณออก เป็นการจัดสรรความถี่ขนาดเล็ก ทำให้สามารถส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์หลายเครื่องพร้อมกันได้ หรือสรุปง่ายๆ คือหนึ่งรอบของการส่งข้อมูลจะเคลียร์ User ได้เร็วขี้น แต่การใช้เทคโนโลยี Wi-Fi ที่ใหม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ใหม่พอๆกันด้วย เช่น เราใช้เราเตอร์ Wi-Fi 6 มือถือที่ใช้ก็ควรเป็น Wi-Fi 6 ด้วยเช่นกัน หากมือถือของเราเป็น Wi-Fi 5 ก็จะสื่อสารกันที่ Wi-Fi 5 ไม่ใช่ Wi-Fi 6 นั่นเอง 

แชร์หน้านี้ :

วิดีโดตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพการทำงานของ OFDMA

การลดกำลังส่งลง


เมื่อติดตั้งเราเตอร์ส่วนใหญ่ เรามักจะปรับค่ากำลังส่งของเราเตอร์ไว้ที่ระดับสูง เพื่อต้องการให้กำลังส่งนั้นทั่วถึงทั้งบ้าน จุดนี้ทำให้กำลังส่งของเราเตอร์เราไปชนกับเราเตอร์บ้านอื่นๆ การลดกำลังส่งลงจะทำให้สัญญาณเราไม่ชนกับบ้านอื่นๆ คำถามที่ตามมาก็คือ ถ้าเราลดกำลังส่งลงสัญญาณมันก็ไม่ทั่วถึงทั้งบ้านสิ ทางแก้ก็คือข้อแรกครับใช้ LAN หรือ Mesh Wi-Fi นั่นเอง

สรุป


ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือ หนึ่งอุปสรรค์ภายในบ้านที่สามารถแก้ด้วยการเดิน LAN ไปที่ปลายทางหรือการใช้ Mesh Wi-Fi สองเกิดจากจำนวนผู้ใช้แก้ด้วยการอัปเกรดเทคโนโลยี Wi-Fi แต่ต้องใหม่เหมือนกันทั้งหมด สามคือแชนเนล ซึ่งการปรับแต่งแชนเนลในบ้านนั้นแต่บ้านหรือแต่ละจุดนั้นมีสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน วิธีการดูนั้นเราอาจจะต้องโหลดซอฟแวร์มาสแกนดูเพื่อการตั้งค่าแชนเนลที่เหมาะสม 

จบกันไปแล้วนะครับสำหรับ ปัญหา Wi-Fi ช้า หวังว่าทุกคนจะได้รับสาระความรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ไม่มากก็น้อย หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขออภัยมา ณ ที่นี้ โดยสามารถติชมผ่านทางคอมเม้นต์ด้านล่างได้ เพื่อให้ผู้เขียนนำข้อผิดพลาดไปปรับปรุงแก้ให้ดีขึ้นในบทความต่อๆ ไป สำหรับบทความนี้ผู้เขียนขอตัวลาไปก่อนและพบกันใหม่บทความหน้า ขอบคุณที่ติดตามกันจนจบ สวัสดีครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก [แบไต๋] WiFi ที่บ้านช้า ต้องทำอย่างไรดี?

คำถามที่พบบ่อย (FAQs)

การเปลี่ยนมาใช้เราเตอร์ที่มีเสาสัญญาณเยอะๆ นั้นไม่ได้ช่วยให้ Wi-Fi เร็วขึ้น 100 เปอร์เซ็น เนื่องจากการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย Wi-Fi นั้นเป็นเรื่องการสื่อสาร 2 ทาง ระหว่างเราเตอร์และอุปกรณ์ ต่อให้เราเตอร์เรามีกำลังสูงแรงแค่ไหน แต่อุปกรณ์ของเรานั้นไม่ได้มีกำลังสูงเหมือนเราเตอร์ เพราะทำงานแบตเตอรี่ และมีเสาอากาศที่เล็ก ทำให้อาจก็ปัญหาการรับส่งข้อมูลช้าได้

Mesh Wi-Fi เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายประเภทหนึ่งที่ใช้ระบบของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันเพื่อขยายและปรับปรุงความครอบคลุมของ Wi-Fi ในพื้นที่เฉพาะ ซึ่งเราเตอร์ Wi-Fi แบบดั้งเดิมมีข้อจำกัดในการให้สัญญาณที่แรงและเชื่อถือได้ทั่วทั้งพื้นที่ขนาดใหญ่หรือในพื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น ผนังและพื้น โดยระบบ Mesh Wi-Fi แก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการสร้างเครือข่ายที่เชื่อมต่อถึงกัน เพื่อมอบประสบการณ์ Wi-Fi ที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

Wi-Fi 6 หรือที่รู้จักในชื่อ 802.11ax คือเทคโนโลยี Wi-Fi รุ่นใหม่ ซึ่งต่อมาจาก Wi-Fi 5 (802.11ac) โดยได้รับการปรับปรุงหลายประการจากรุ่นก่อน ซึ่งออกแบบมาเพื่อมอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้น ในการจัดการกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของเครือข่ายไร้สายสมัยใหม่ (เพื่อใช้ประโยชน์จาก Wi-Fi 6 ทั้งเราเตอร์หรือ Access Point และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อจะต้องรองรับมาตรฐานใหม่ด้วยเช่นกัน

การวางตำแหน่งของเราเตอร์ (router) มีผลมากต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายไร้สาย การวางเราเตอร์ให้สูงหรือในที่โล่งจะช่วยให้สัญญาณ Wi-Fi กระจายไปทั่วพื้นที่ได้ดีกว่า ที่สำคัญคืออย่าวางติดกับผนัง โดยให้วางห่างจากผนังหรือสิ่งของอื่นๆ ประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อให้เราเตอร์ได้ระบายความร้อน และกระจายสัญญาณได้ทั่วถึงโดยไม่มีอะไรมากั้น นอกจากนี้ยังไม่ควรวางติดกับระบบกันไฟฟ้า, และโครงสร้างที่มีโลหะ

บทความที่คุณอาจสนใจ..

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รีวิว Soundvision ESiGO 8 PRO ลำโพงพกพา ตัวจบทุกงาน!

ลำโพงบลูทูธ ไซซ์เล็กพกพาสะดวก เสียงดีเกินตัว มาพร้อมมิกเซอร์ Built-In มาให้ 3 ชาแนล จะน่าสนใจแค่ไหน!? อยากรู้ คลิกเลย!

พรีวิว SONOS MOVE 2 ลำโพงบลูทูธอัจฉริยะ ยกระดับความสามารถในทุกมิติ

อัปเกรด และยกระดับความสามารถจากรุ่นก่อนในทุกมิติ โดดเด่นด้วยดีไซน์ และคุณภาพเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของ SONOS อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

Emulators ที่ดีที่สุดจาก App Store ของ Apple

สวัสดีคอเกมทุกท่าน วันนี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับคอเกมกัน นั่นก็คือ Game Emulators ครับ มาดูไปพร้อมๆ กันเลย

SONY ULT POWER SOUND ลำโพงและหูฟังรุ่นใหม่ ให้เสียงเบสที่หนักแน่น

รู้สึกเหมือนได้ดำดิ่งสู่แถวหน้าของคอนเสิร์ต ไปซีรีส์ ULT POWER SOUND ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ใจคุณสั่น ด้วยเสียงเบสที่ทรงพลัง

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่) ด้วยสินค้าจากแบรนด์ Electro-Voice และ SOUNDVISION ไปรับชมกันเลยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุมบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด

วันนี้เราก็มีผลงานติดตั้งมาให้ชมกันอีกเช่นเคยครับ โดยผลงานในครั้งนี้เป็นระบบเสียงห้องประชุม บริษัท บางกอกแล็ป แอน คอสเมติค จำกัดมหาชน (BLC)

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก