เข้าใจง่าย 11 นาที คลื่นความถี่ไมค์ลอย VHF, UHF Wireless 2.4GHz (กสทช.)

คลื่นความถี่ไมค์ไร้สาย
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » เข้าใจง่าย 11 นาที คลื่นความถี่ไมค์ลอย VHF, UHF Wireless 2.4GHz (กสทช.)

Estimated reading time: 2 นาที

    หลังจากที่ กสทช. ได้ทำการออกประกาศให้ปรับจูนความถี่ เราจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวดำเนินการจัดการ ไมโครโฟนไร้สายเดิมอย่างไรให้ถูกหลักคลื่นความถี่ที่ กสทช. กำหนด ทาง SoundDD.Shop ได้รวบรวมข้อสรุปเกี่ยวกับการปรับจูนความถี่ไมโครโฟนไร้สายได้อย่างถูกต้อง

    หากคุณกำลังมองหา ไมโครโฟน คุณภาพดีและคุ้มค่า คุณสมบัติที่ครบตอบโจทย์ความต้องการสามารถ คลิกที่นี่ ช้อปกันได้เลยครับ

ไมโครโฟนไร้สายใช้ความถี่อะไรบ้าง และย่านไหนที่ไม่ต้องปรับจูนความถี่ ?

ย่านความถี่สำหรับไมโครโฟนไร้สายในปัจจุบัน มีดังนี้

  1. ย่านความถี่ UHF คือ ไมโครโฟนไร้สายที่ใช้ย่านความถี่ 794-806 MHz (ปัจจุบันปรับมาตรฐานใหม่เป็น 803-806 MHz และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 จะเพิ่มย่านความถี่ 694-703 MHz และ 748-758 MHz)
  2. ย่านความถี่ VHF คือ ไมโครโฟนไร้สายที่ใช้ย่านความถี่ 88-108 MHz และ 165-210 MHz
  3. ย่านความถี่ที่อนุญาตให้มีการใช้งานเป็นการทั่วไป (unlicensed) เช่น ไมโครโฟนไร้สายที่ใช้ย่านความถี่ 2.4 GHz หรือ 5 GHz โดยไมโครโฟนไร้สาย ย่านความถี่ VHF ย่านความถี่ 2.4 GHz หรือย่านความถี่ 5 GHz จะไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ในครั้งนี้

 

ไมโครโฟนไร้สายเดิมต้องดำเนินการอย่างไร ?

หลังจากที่ กสทช. ออกประกาศให้ปรับจูนความถี่จะขึ้นอยู่กับว่าไมโครโฟนไร้สายเดิมเป็นตามกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้

1. ปรับจูนความถี่เองได้โดยผู้ใช้งาน

– ให้ดำเนินการปรับจูนความถี่ให้อยู่ในช่วง 803-806 MHz ภายใน วันที่ 31 มีนาคม 2564 หากไม่ทราบวิธีปรับจูนความถี่ กรุณาติดต่อผู้จำหน่ายหรือผู้นำเข้า เพื่อสอบถามวิธีการปรับจูนความถี่
– หากไมโครโฟนไร้สายใช้งานความถี่ในช่วง 794-803 MHz และไม่ดำเนินการปรับจูน ความถี่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป จะไม่สามารถใช้งานได้

2. ปรับจูนความถี่ได้โดยผู้จำหน่ายหรือผู้นำเข้า

– ให้ดำเนินการนำเครื่องไปให้ผู้จำหน่ายหรือผู้นำเข้าปรับจูนความถี่ให้อยู่ในช่วง 803-806 MHz ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ทั้งนี้ อาจมีค่าใช้จ่ายในการปรับจูนความถี่ โดยขึ้นอยู่กับผู้จำหน่ายหรือผู้นำเข้า
– หากไมโครโฟนไร้สายใช้ความถี่ในช่วง 794-803 MHz และไม่ดำเนินการปรับจูน ความถี่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป จะไม่สามารถใช้งานได้

3. ไม่สามารถปรับจูนความถี่ได้
ให้สังเกตความถี่ใช้งานบนอุปกรณ์ หรือติดต่อผู้จำหน่ายหรือผู้นำเข้า เพื่อสอบถามความถี่

– หากไมโครโฟนไร้สายใช้ความถี่ในช่วง 803-806 MHz จะสามารถใช้งานได้ต่อไป
– หากไมโครโฟนไร้สายใช้ความถี่ในช่วง 794-803 MHz ให้ใช้งานได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 เท่านั้น โดยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป จะไม่สามารถใช้งานได้

ไมโครโฟนไร้สาย มีมาตรฐานแตกต่างจากของเดิมหรือไม่อย่างไร ?

หลังจากที่ กสทช. ออกประกาศให้ปรับจูนความถี่จะขึ้นอยู่กับว่าไมโครโฟนไร้สายเดิมเป็นตามกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้

มาตรฐานไมโครโฟนไร้สาย เพิ่มการทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า (Electrical Safety Requirements) (เฉพาะในส่วนที่ต้องเสียบปลั๊กไฟบ้าน) ตามมาตรฐาน IEC 60950 – 1 หรือ มอก. 1561 – 2556: หรือฉบับปัจจุบัน ดังนั้น การจดทะเบียนไมโครโฟนไร้สายแบนด์ใหม่ ต้องใช้การทดสอบทั้ง 2 ส่วน ทั้งคลื่นความถี่และความปลอดภัยทางไฟฟ้า ผู้ขอจดทะเบียนสามารถใช้รายงานผลการทดสอบ (test report) จากหน่วยทดสอบที่ได้รับการรับรองตาม ISO 17025 ได้ทั้ง 2 ส่วน (คลื่นความถี่และความปลอดภัยทางไฟฟ้า)
หากต้องการส่งเครื่องทดสอบภายในประเทศเอง ในกรณีที่นำเข้ามาเพียงชุดเดียวแนะนำให้ส่งทดสอบคลื่นความถี่ที่สำนักงาน กสทช. (สำนักมาตรฐานและเทคโนโลยีโทรคมนาคม-ทท.) ก่อน หลังจากนั้น จึงส่งทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า ที่ ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) อุทยานวิทยาศาสตร์ ภายใน มธ. ศูนย์รังสิต หรือ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI) บางปู ทั้งนี้ ขอให้ตรวจสอบคลื่นความถี่ตามมาตรฐานใหม่ ดังนี้

  1. 694 – 703 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) (โดยให้ใช้เฉพาะคลื่นความถี่ 694.4 – 702.8 MHz)
  2. 748 – 758 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) (โดยให้ใช้เฉพาะคลื่นความถี่ 748.2 – 757.8 MHz)
  3. 803 – 806 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) (โดยให้ใช้เฉพาะคลื่นความถี่ 803.2 – 805.8 MHz)

ขอบคุณข้อมูลจาก กสทช

บทความที่คุณอาจสนใจ..

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

Mixing และ Mastering คือ อะไร? แตกต่างกันหรือไม่? อย่างไร!?

เจาะลึกรายละเอียดว่า Mixing และ Mastering คือ อะไร? พร้อมชี้ให้เห็นความต่างกันชัดๆ จะน่าสนใจแค่ไหน? อยากรู้ คลิกเลย!

เคล็ดลับเลือกเพลงคู่ ร้องคาราโอเกะ สำหรับทุกโอกาส

ร้องคาราโอเกะนั้นเป็นกิจกรรมความบันเทิงที่สนุกสนาน และจะสนุกสนานขึ้นเมื่อเราร้องคู่กับ คนในครอบครัว เพื่อน แฟน บทความนี้เรามีเพลงสำหรับร้องคู่มาแนะนำครับ

Backing Track คือ อะไร? แจกวาร์ป Backing Track เพลงไทย

พามาทำความรู้จักว่า Backing Tracks คืออะไร? เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินระดับโลก พร้อมแจกวาร์ปโหลด Backing Track เพลงไทยกันฟรีๆ อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

ZEN Blue 3 มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ จาก iFi Audio

มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ ที่คุณอาจไม่เคยสัมผัสที่ไหนมาก่อนกับ ZEN Blue 3 สินค้าใหม่ล่าสุดจากแบรนด์ iFi Audio เป็นยังไงไปชมกัน!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง)

ขอขอบคุณ สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม จากทีมงาน SoundDD

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีแสดง ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) พระราม 2

ขอขอบคุณ ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องเสียงเวที โดย บริษัท ซาวด์ดีดี กรุ๊ป จำกัด ด้วยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก