เรียนรู้และเข้าถึงอุปกรณ์ปรับแต่งเสียง…อีควอไลเซอร์ (Equalizer) คืออะไร

อีควอไลเซอร์ ( Equalizer ) คืออะไร หรืออีกคำนึงก็คือ EQ เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะเคยได้ยินคำๆนี้มาแล้ว แต่อาจจะยังไม่ทราบว่ามันคืออะไร ทำหน้าที่อะไร เพราะอะไร...
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » เรียนรู้และเข้าถึงอุปกรณ์ปรับแต่งเสียง…อีควอไลเซอร์ (Equalizer) คืออะไร

Estimated reading time: 2 นาที

อีควอไลเซอร์ (Equalizer) คืออะไร หรืออีกคำนึงก็คือ EQ เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะเคยได้ยินคำๆ นี้มาแล้ว แต่อาจจะยังไม่ทราบว่ามันคืออะไร ทำหน้าที่อะไร เพราะอะไรถึงต้องมี

เรียนรู้และเข้าถึงอุปกรณ์ปรับแต่งเสียง…อีควอไลเซอร์ (Equalizer)

อีควอไลเซอร์ (Equalizer) หรือเรียกสั้นๆว่า “อีคิว” (Eq) มักพบเห็น ได้ทั้งอุปกรณ์ที่เป็นระบบอนาล็อก และ ภายในดิจิตอลมิกเซอร์แทบทุกรุ่น ซึ่งบางท่านอาจจะยังสงสัยในการทำงานของเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ ว่ามีวิธีการใช้งานแบบไหน มีประโยชน์ยังไง บทความนี้เราจะมาอธิบายเพื่อให้ท่าน ได้รู้จักอุปกรณ์ชนิดนี้ให้มากยิ่งขึ้น…

อีกทั้งยังสามารถใช้เพื่อปรับแต่งระดับสัญญาณของเสียง ไม่ให้เกิดอาการไมค์หวีดหอน (Feedback) การปรับสภาพอะคูสติกภายในห้อง หรือตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เสียงเกิดความสมดุลและลงตัวกับสภาพแวดล้อม ให้ได้มากที่สุด และเป็นตัวช่วยในการปรับเปลี่ยนสีสันทางด้านเสียง และยังเป็นตัวช่วยในสร้างความมีสเน่ห์ด้านดนตรี ได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย…

อีควอไลเซอร์ (Equalizer) หรืออีคิว (EQ) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้...

1. กราฟฟิคอีควอไลเซอร์ (Graphic Equalizer)

อีคิว(EQ) ประเภทนี้ถูกออกแบบมาให้ตัดแบ่งย่านความถี่เฉพาะ ตามที่ผู้ออกแบบกำหนดมาจากโรงงานโดยตรง ผู้ใช้งานไม่สามารถปรับเลื่อนค่าย่านความถี่ได้แต่อย่างไร ผู้ใช้งานมีหน้าที่เพิ่มหรือลดเกน (Gain) ค่าขยายของย่านความถี่ที่ต้องการเท่านั้นเอง จึงเหมาะสำหรับการใช้งานควบคุมการกระจายเสียงของลำโพงเป็นส่วนใหญ่ เพื่อปรับปรุงสภาพอะคูสติกของห้อง ซึ่งนิยมนำเอาไปใช้งานในงานระบบเสียง PA เป็นส่วนมาก หรือนำไปใช้ควบคุมลำโพงแบบ farfield ซึ่งเป็นลำโพงขนาดใหญ่ในสตูดิโอ เพื่อให้ได้อะคูสติกเสียงที่ถูกต้องภายในห้อง เป็นต้น อีคิว(EQ) ประเภทนี้ จะแบ่งเป็นความถี่ ส่วนใหญ่มีประมาณ 31 ความถี่ (Band)

ตัวอย่างวิธีการปรับเช่น  ถ้าเราต้องการความถี่ที่ 500 Hz จะปรับเพิ่มหรือลดก็แล้วแต่  เราก็ลด (cut) หรือ เพิ่ม (boost) ที่ปุ่ม 500 Hz. ได้เลยโดยที่ความถี่ข้างเคียงไม่ว่าจะเกิน 500 Hz หรือต่ำกว่า 500 Hz สัญญาณความถี่ที่ลด (cut) หรือเพิ่ม (boost) จะไม่เกี่ยวข้อง

2. พาราเมตริกอีควอไลเซอร์ (Parametric Equalizer)

อีคิว(EQ) ประเภทนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถเลื่อนหาย่านความถี่ได้อย่างอิสระ ผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนดย่านความถี่ด้วยตัวเอง จึงเหมาะสำหรับการใช้เพื่อปรับแต่งเสียงเฉพาะในแต่ละ channel บนมิกเซอร์ และเป็นอีคิว(EQ) ประจำเครื่องของมิกเซอร์ทุกๆยี่ห้อ การนำไปใช้งานอีคิว(EQ) ประเภทนี้ เช่นไว้ใช้ปรับแต่งกับเสียงร้องหรือเสียงเครื่องดนตรี เป็นต้น วิธีการปรับเหมือนกับ Graphic Equalizer เพียงแต่ความถี่ข้างเคียงจะขยับขึ้นตาม ตัวอย่างเช่น  ปรับความถี่ 500 Hz.ขึ้น ในด้านความถี่สูงกว่า 500 Hz หรือต่ำกว่า 500 Hz จะขยับขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

อีควอไลเซอร์ (Equalizer) มีส่วนประกอบของค่า parameter ต่างๆ ที่มีให้ปรับในอีคิว (EQ) ทั่วๆ ไป มีดังต่อไปนี้...

  1. Frequency คือ ค่าความถี่ที่จะปรับแต่ง เทคนิคการใช้งานจะเป้นการเลือกความถี่ใดความถี่หนึ่ง ที่เราต้องการปรับแต่งเสียง ก่อนลงมือทำการแต่งเสียง
  2. Gain คือ ค่าความดังของเสียง เปรียบเสมือนการปรับความดัง-เบา การเพิ่มหรือการลด การบูท หรือการคัท ระดับของช่วงความถี่ที่เรากำหนดค่า ของ Frequency และค่า Q ของอีคิว(EQ) ไว้นั่นเอง
  3. Q คือ ค่าที่ใช้กำหนดความกว้างของช่วงความถี่เสียง เป็นการกำหนดความกว้าง ความแคบ ของฐานความถี่จากกราฟในการอีคิว เช่น ใช้เพื่อการปรับในการเกลี่ยย่านความถี่ให้ได้ความสมดุล ความต่อเนื่องของย่านความถี่เสียง หรือการกำหนดค่า Q ให้แคบลง เพื่อลดเสียง หรือตัดเสียงในย่านเสียงที่ไม่ต้องการทิ้ง (ในแบบเฉพาะเจาะจงย่านความถี่) ซึ่งค่านี้ก็จะไปเกี่ยวข้องกับค่า Bandwidth ด้วย

ค่า Bandwidth = Frequency / Q (ค่า Frequency หารด้วย ค่า Q)
ตัวอย่างเช่น เราตั้งความถี่ที่จะปรับไว้ที่ 1000 Hz ค่า Q ตั้งไว้ที่ 10
ดังนั้น Bandwidth ก็จะเท่ากับ 1000 / 10 = 100 Hz หมายความว่าความถี่ที่มีผลกระทบในการปรับจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 950 Hz ถึง 1050 Hz นั่นเอง

วัตถุประสงค์ และประโยชน์ในการใช้งานของ อีควอไลเซอร์ (Equalizer) หลักๆ คือใช้เพื่อปรับคุณภาพเสียงภายในระบบ นั่นคือ เสียงทุ้ม เสียงกลาง เสียงแหลม ให้เกิดความสมดุลย์ และมีความดังของย่านความถี่เสียงออกมาเท่าๆ กันให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รีวิว Soundvision ESiGO 8 PRO ลำโพงพกพา ตัวจบทุกงาน!

ลำโพงบลูทูธ ไซซ์เล็กพกพาสะดวก เสียงดีเกินตัว มาพร้อมมิกเซอร์ Built-In มาให้ 3 ชาแนล จะน่าสนใจแค่ไหน!? อยากรู้ คลิกเลย!

พรีวิว SONOS MOVE 2 ลำโพงบลูทูธอัจฉริยะ ยกระดับความสามารถในทุกมิติ

อัปเกรด และยกระดับความสามารถจากรุ่นก่อนในทุกมิติ โดดเด่นด้วยดีไซน์ และคุณภาพเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของ SONOS อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

Emulators ที่ดีที่สุดจาก App Store ของ Apple

สวัสดีคอเกมทุกท่าน วันนี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับคอเกมกัน นั่นก็คือ Game Emulators ครับ มาดูไปพร้อมๆ กันเลย

SONY ULT POWER SOUND ลำโพงและหูฟังรุ่นใหม่ ให้เสียงเบสที่หนักแน่น

รู้สึกเหมือนได้ดำดิ่งสู่แถวหน้าของคอนเสิร์ต ไปซีรีส์ ULT POWER SOUND ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ใจคุณสั่น ด้วยเสียงเบสที่ทรงพลัง

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่) ด้วยสินค้าจากแบรนด์ Electro-Voice และ SOUNDVISION ไปรับชมกันเลยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุมบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด

วันนี้เราก็มีผลงานติดตั้งมาให้ชมกันอีกเช่นเคยครับ โดยผลงานในครั้งนี้เป็นระบบเสียงห้องประชุม บริษัท บางกอกแล็ป แอน คอสเมติค จำกัดมหาชน (BLC)

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก