คลาสของเพาเวอร์แอมป์ POWER AMP แต่ละ CLASS ต่างกันอย่างไร ?

เพาเวอร์แอมป์ POWER AMP แต่ละ CLASS
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » คลาสของเพาเวอร์แอมป์ POWER AMP แต่ละ CLASS ต่างกันอย่างไร ?

Estimated reading time: 4 นาที

คลาสของเพาเวอร์แอมป์ ที่ควรรู้ POWER AMPLIFIER แต่ละ CLASS ต่างกันอย่างไร? ในบทความนี้เรามาทำความรู้จักเบื้องต้น และเป็นพื้นฐานกันนะครับ โดยจุดประสงค์หลักของบทความนี้ เพื่อเสริมความรู้ให้กับทุกท่าน รวมถึงมือใหม่ที่กำลังสนใจ เพื่อให้ได้รับเกร็ดความรู้ เป็นประโยชน์ หากอ่านแล้วชอบก็อย่าลืมแชร์กันนะครับ

1. คลาส เอ (Class A)

ข้อดี

  • ให้คุณภาพเสียงที่มีคุณภาพสูงเหมือนหรือใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด
  • ค่าความเพี้ยนที่ตํ่ามากๆ เสียงรบกวนน้อย

ข้อจำกัด

  • ความร้อนที่ค่อนข้างจะสูงเพราะมีการป้อนกระแสไฟให้ทรานซิสเตอร์หรือตัวขยายอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่มีสัญญาณอินพุทไหลเข้ามาก็ตาม
  • กำลังขับที่ได้นั้นก็ค่อนข้างน้อยเนื่องจากการสูญเสียพลังงานส่วนใหญ่ไปกับความร้อนนั่นเอง โดย Class A จะเหมาะ หรือนิยมใช้ฟังเพลงที่มีความละเอียดสูง ไม่เน้นเบสที่ตูมตาม หรือหนักแน่น เช่นแนวเพลงที่ฟังสบายๆสไตส์คลาสสิค เป็นต้น

2. คลาส บี (Class B)

Amp-Class-B

ข้อดี

  • เมื่อไม่มีสัญญาณอินพุตป้อนเข้ามา ก็จะไม่มีกระแสไหลผ่านทรานซิสเตอร์ จะมีกระแสไหลผ่านได้ก็ต่อเมื่อมีสัญญาณอินพุตป้อนเข้ามาเท่านั้น
  • ไม่ค่อยมีความร้อน สามารถทำเป็นแอมป์ที่มีกำลังขับสูงๆได้

ข้อจำกัด

  • คุณภาพเสียงที่มีความเพี้ยนสูงห่างไกลต้นฉบับมากๆ

3. คลาส เอบี (Class AB)

Amp-Class-AB

ข้อดี

  • ปล่อยให้มีกระแสปริมาณต่ำๆ ไหลผ่านตัวขยายจำนวนหนึ่ง แม้ว่าจะไม่มีสัญญาณอินพุตเข้ามาเลย การทำงานปิดเปิดก็จะเป็นไปตามสัญญาณอินพุตทั่วไป เพียงแต่ว่าวงจรนี้ จะไม่มีการปิดของกระแสทั้งหมด แม้ว่าจะไม่มีอินพุตเข้ามาเลยก็ตาม
  • คุณภาพเสียงที่ค่อนข้างดี กำลังขับที่มาก และเกิดความร้อนน้อย
  • นำไปขับได้ทั้งลำโพงประเภทกลางและแหลม หรือแม้แต่ดอกลำโพงเสียงต่ำหรือวูฟเฟอร์ก็สามารถขับได้

ข้อจำกัด

  • คุณภาพเสียงที่สู้คลาส A ไม่ได้

4. คลาส ดี (Class D)

Amp-Class-D

การออกแบบจัดวางชุดขยายสัญญาณเสียงที่แตกต่างกับ คลาส เอ ,คลาส บี หรือคลาส เอบี โดยสิ้นเชิง ซึ่งเครื่องขยายของคลาส เอ, บี, เอบี, ภาคขยายสัญญาณขาออก จะทำหน้าที่ขยายแรงหรือให้กำลังตามความแรงของสัญญาณขาเข้า

แอมป์คลาส D เป็นการออกแบบให้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการขยาย ซึ่งแทนที่จะเสียกำลังไปในเรื่องของความร้อน เนื่องจากไม่ได้ทำงานตลอดเวลา เพราะความถี่สูงจะถูกตัดออกไปในช่วงระหว่างภาคจ่ายไฟบวก และลบ ทำให้อุปกรณ์ไม่ได้ทำงานตลอดเวลา ความร้อนจึงต่ำ ในด้านประสิทธิภาพนั้นจึงสูงกว่า คลาส เอบี หลายเท่า

แอมป์ Class D หลายท่านเข้าใจผิดว่าเป็นแอมป์ดิจิตอล แต่แท้จริงแล้ว อาจจะคล้ายๆกัน ในแง่ของลักษณะในเชิงการทำงานแบบเปิด และปิด แต่ไม่ใช่ในแง่ของการทำงานเพื่อขยายสัญญาณเสียง

ข้อจำกัดของ Class D คือ มักจะจำกัดการทำงานที่ความถี่ค่อนข้างต่ำ เพราะการขยายสัญญาณในภาคขาออกต้องทำการกรองคลื่นที่เป็น pwm ที่เป็น square wave ออกเพื่อให้กลับมาเป็นสัญญาณความถี่ในแบบ sine wave โดยมาก เครื่องขยายเสียง Class D ทั่วไปจะกรองความถี่ที่ 500 Hz ดังนั้นความถี่ที่ใช้งานได้ดีคือ จะสูงไม่เกิน 250 Hz หรือมากกว่าเล็กน้อย

แอมป์ คลาส D โดยทั่วไปเหมาะหรือตอบสนองสำหรับขับลำโพงความถี่ต่ำ หรือดอกซับส่วนการตอบสนองสำหรับลำโพงกลางแหลมนั้นถือว่ายังเป็นข้อจำกัดอยู่หากเปรียบเทียบกับคลาส AB (นอกซะจากเป็นแอมป์ Class D ระดับ Professional Full range จริงๆที่จะตอบสนองความถี่ได้กว้าง และให้คุณภาพเสียงกลางแหลมเป็นที่น่าพอใจซึ่งก็จะตามมาด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง)

5. คลาส อี (Class E)

Amp-Class-E

เครื่องขยายเสียง Class E ทำงานโดยใช้หลักการ สวิทชิ่ง แบบอ่อนๆ คือ ไม่ได้ใช้สวิทชิ่งเป็นหลักในการขยายสัญญาณโดยจะปล่อยให้มีสัญญาณหรือกระแสไหลผ่านจำนวนต่ำๆ เพื่อกระตุ้นการทำงานของภาคขาออกอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเพี้ยนที่เรียกว่า ครอสโอเวอร์ ดิสทอร์ชั่น หรือ switching distortion ซึ่งถือได้ว่ามีการออกแบบวงจรภาคจ่ายไฟที่ดีมาก จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูง

6. คลาส จี (Class G)

Amp-Class-G

เป็นเครื่องขยายเสียงที่ใช้ไฟเลี้ยงตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไป และจะทำงานโดยภาคขยายเสียงจะปรับไปใช้ไฟเลี้ยงที่สูงขึ้นหากสัญญาณขาเข้ามี ความแรงมากขึ้น จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่จะมีปัญหาในช่วงการเปลี่ยนจากภาคจ่ายไฟ ที่จะปรับใช้ในแต่ละความแรงของสัญญาณขึ้นลงตลอดเวลา จึงก่อให้เกิดความร้อน และการสูญเสียพลังงานในที่สุด

สรุปง่ายๆ ก็คือ แอมป์คลาส G เป็นการออกแบบให้มีประสิทธิภาพให้สูงขึ้นมาอีกขั้น โดยลดการสูญเสียแรงดันของทรานซิสเตอร์ พื้นฐานใกล้เคียงกับคลาส AB และมีประสิทธิภาพเท่าคลาส D หรือ T แต่การออกแบบวงจรจะมีความสลับซับซ้อนกว่ามาก

7. คลาส เฮช (Class H)

Amp-Class-H

ดีตรงที่ความร้อนน้อยกว่า คลาส A, AB ครับ แต่ภาคขยายยังคงเป็นคลาส AB เพียงแต่คลาส H ได้เพิ่มภาคจ่ายไฟที่สามารถปรับแรงดันได้ ใช้แหล่งจ่ายไฟตั้งแต่ 2 ระดับขึ้นไป เป็นวิธีการแก้ไขความเพี้ยนของรอยต่อระหว่างการขยายสัญญาณของทรานซิสเตอร์ชุดล่าง และชุดบนในแบบคลาส G

คลาส H มีความคล้ายกับ Class G ยกเว้น เรียลโวลท์เตจ ที่โมดูเลทสัญญาณอินพุทเท่านั้น ที่ไม่มีเพาเวอร์ซัพพลาย Rail จะสูงกว่าสัญญาณเอาท์พุทเล็กน้อย ปล่อยโวลเทจให้กับทรานซิสเตอร์ตัวเล็ก และระบายความร้อนทรานซิสเตอร์เอาท์พุท วงจรที่คล้ายกับที่ใช้ในแอมป์ Class D นี้ก็คือ มีโมดูเลทเพาเวอร์ซัพพลาย Rail ที่เหมือนกัน ในส่วนของความสลับซับซ้อนแอมป์แบบนี้ มีความเหมือนกับแอมป์ Class D แต่ทำงานได้เหมือนกับแอมป์ Class AB

ลักษณะเด่นของแอมป์คลาส H เมื่อเปิดวอลลุ่มเครื่องขยายเสียงเบา หรือน้อยก็จะทำให้แอมป์ใช้ไฟน้อยเมื่อเปิดดังมากก็จะใช้ไฟมาก

8. คลาส เอส (Class S)

คือ การทำงานของภาคขยายเสียงที่ทำงานแบบ Switching ที่มีการทำงานแบบเปิด/ปิด อยู่ตลอดเวลา และต้องใช้วงจรกรองความถี่แบบ low pass ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น Class D

9. คลาส ที (Class T)

แอมป์คลาสนี้ออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยใช้ภาคประมวลผลสัญญาณแบบดิจิตอล ไตรพาส ทำให้วงจรทำงานได้กว้าง และเต็มช่วงสัญญาณความถี่ คือ ตั้งแต่ 20 Hz-20KHz (ความสามารถที่หูมนุษย์ได้ยิน ยี่สิบเฮิร์ต ถึง ยี่สิบกิโลเฮิร์ต )

Class T เป็นแอมป์ที่พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อลดจุดด้อยของ CLASS D ที่มีจุดด้อยในเรื่องตอบสนองความถี่เสียงย่านความถี่สูง โดยใช้ความสามารถในเชิงดิจิตอลเข้ามาช่วย เพิ่มความถี่ของการทำงานแบบ Switching ทำให้ Switching ที่ความถี่สูงขึ้น จึงตอบสนองความถี่ได้กว้าง และมีประสิทธิภาพ

ทำให้แอมพ์คลาส T สามารถใช้งานได้ทั้งซับวูฟเฟอร์ และกลางแหลม แอมป์ คลาส T ให้ประสิทธิภาพสูงกว่าแอมป์ คลาส AB

ดูสินค้าเพาเวอร์แอมป์

สรุป

คลาสของเพาเวอร์แอมป์ แต่ละคลาส มีจุดเด่น จุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป โดยที่บางคลาสนั้นจะไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว หรือบางครั้งแพงจนเกินไป จนไม่ค่อยพบเห็นมากนัก หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกท่าน หากขาดตกบกพร่องประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

บทความที่คุณอาจสนใจ..

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

Mixing และ Mastering คือ อะไร? แตกต่างกันหรือไม่? อย่างไร!?

เจาะลึกรายละเอียดว่า Mixing และ Mastering คือ อะไร? พร้อมชี้ให้เห็นความต่างกันชัดๆ จะน่าสนใจแค่ไหน? อยากรู้ คลิกเลย!

เคล็ดลับเลือกเพลงคู่ ร้องคาราโอเกะ สำหรับทุกโอกาส

ร้องคาราโอเกะนั้นเป็นกิจกรรมความบันเทิงที่สนุกสนาน และจะสนุกสนานขึ้นเมื่อเราร้องคู่กับ คนในครอบครัว เพื่อน แฟน บทความนี้เรามีเพลงสำหรับร้องคู่มาแนะนำครับ

Backing Track คือ อะไร? แจกวาร์ป Backing Track เพลงไทย

พามาทำความรู้จักว่า Backing Tracks คืออะไร? เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินระดับโลก พร้อมแจกวาร์ปโหลด Backing Track เพลงไทยกันฟรีๆ อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

ZEN Blue 3 มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ จาก iFi Audio

มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ ที่คุณอาจไม่เคยสัมผัสที่ไหนมาก่อนกับ ZEN Blue 3 สินค้าใหม่ล่าสุดจากแบรนด์ iFi Audio เป็นยังไงไปชมกัน!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง)

ขอขอบคุณ สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม จากทีมงาน SoundDD

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีแสดง ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) พระราม 2

ขอขอบคุณ ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องเสียงเวที โดย บริษัท ซาวด์ดีดี กรุ๊ป จำกัด ด้วยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก