Bluetooth Codec ทำความรู้จักกับ บลูทูธโคเดก คืออะไร? มีกี่ประเภท?

Bluetooth Codec โคเดก SBC AAC aptX LDAC HWA
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » Bluetooth Codec ทำความรู้จักกับ บลูทูธโคเดก คืออะไร? มีกี่ประเภท?

เวลาอ่านโดยประมาณ : 1 นาที

เวลาอ่านโดยประมาณ : 2 นาที

เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันก้าวหน้าไปอย่างมากจึงทำให้สายแจ็ค 3.5 TS นั้นไม่ค่อยจำเป็นต่อสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมา จึงทำให้เทคโนโลยี Bluetooth นั้นเกิดการแพร่หลายไปอย่างมาก และมีตัวแปลงสัญญาน (โคเดก:Codec) ที่แตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ต่างกัน มีความเสถียรที่ต่างกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญในการเลือกใช้งาน. หากเพื่อนๆ ท่านไหนกำลังมองหาหูฟังไร้สายที่รองรับ โคเดก ที่มีบิตเรทสูง เช่น aptx หรือ ACC (สำหรับ iPhone) ที่อยากให้รับสัญญานได้แบบรวดเร็ว และเสถียร ทาง SoundDD ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับ Bluetooth Codec ไว้ให้เพื่อนๆ ทราบในบทความนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว.

Bluetooth Codec โคเดก SBC AAC aptX LDAC HWA

ทำความรู้จักกับรูปแบบไฟล์เสียงใน โคเดค ต่างๆ


  • Uncompressed: จะเป็นไฟล์เสียงที่มีคุณภาพมากที่สุดที่ไม่มีการบีบอัด หรืออาจจะเรียกว่าไฟล์ต้นฉบับเลยก็ว่าได้ แต่จะแลกมาด้วยไฟล์เสียงที่มีขนาดใหญ่ (WAV, LCPM, BWF)
  • Compressed Lossless: เป็นไฟเสียงที่ถูกบีบอัดแต่ยังคงรายละเอียดเสียงไว้ในคุณภาพที่ดีอยู่ และช่วยลดเวลาการประมวลผลในการเปิดไฟล์ประเภทนั้นๆ (FLAC, ALAC)
  • Compressed Lossy: ไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดไฟล์ที่เล็กมาก สามารถพบเจอไฟล์เสียงประเภทนี้ได้มากบนแพลตฟอร์มต่าง แต่จะสูญเสียรายละเอียดเสียงจากต้นฉบับไปอย่างมาก (MP3, AAC, WMA, ATRAC)

อ่านเพิ่มเติมคลิก

Bluetooth Codec โคเดก SBC AAC aptX LDAC HWA

Bluetooth Codec คืออะไร?


เป็นตัวแปลงสัญญานคุณภาพของบลูทูธ ที่ส่งจากอุปกรณ์ต้นทางไปยัง หูฟังตัวโปรดของเพื่อนๆ โดยจะมีการเข้ารหัส และถอดรหัสข้อมูลเสียงดิจิทัลในรูปแบบเฉพาะ.

สัญญานบลูทูธ ที่มี bit rate อัตราที่ต่ำ จะส่งผลให้พื้นที่ข้อมูล Bandwidth มีจำนวนที่น้อยในการจัดเก็บ และส่งข้อมูลไปยังปลายทาง ซึ่งก็หมายความว่า ยิ่งอัตรา bit rate ต่ำ การบีบอัดก็มีขนาดที่เล็ก แต่คุณภาพเสียงก็แย่ลง. แต่ถ้า อัตรา bit rate สูง ก็จะมีคุณภาพเสียงที่ดี และการบีบอัดก็จะมีขนาดใหญ่ตาม. ซึ่ง โคเดก แต่ละตัวก็จะมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกันดังต่อไปนี้.

Bluetooth Codec โคเดก SBC AAC aptX LDAC HWA

โคเดก Low-complexity sub-band codec (SBC)


เป็นตัวแปลงสัญญาณบังคับมาตราฐานหลักในการฟังเพลงแบบ Bluetooth ไร้สาย และค่าเริ่มต้นสำหรับหูฟังบลูทูธทุกรุ่น อัตราการส่งข้อมูลจะอยู่ที่ (192-320kbps) และการบีบอัดข้อมูลก็จะใช้หลักการคล้ายๆ กับไฟล์ MP3 หรือเทียบเท่าคุณภาพ CD นั่นก็คือตัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นบางอย่างออกไป เช่น ความถี่เสียงที่คนเราไม่ค่อยได้ยินทิ้งไปเลย และเป็นการจัดส่งข้อมูลโดยสูญเสียข้อมูลจำนวนมาก.

โคเดกในรูปแบบนี้จะมีคุณภาพการบีบอัดแบบ Compressed Lossy

Bluetooth Codec โคเดก SBC AAC aptX LDAC HWA

โคเดก Qualcomm aptX / aptX HD


ซึ่ง โคเดก รูปแบบนี้จะเป็นกรรมสิทธิ์ของ Qualcomm ที่มีบิตเรทอยู่แค่ 352kbps ซึ่งมากกว่า SBC อยู่เพียงแค่นินเดียว และมีการหยิบใช้โคเดคประเภทนี้ไปใช้งานกันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งหาพบกันได้บน Android Smartphone และไม่สนับสนุนบนอุปกรณ์ Apple (iOS).

แต่ทำไมในปัจจุบันถึงเลือกเทคโนโลยี aptX ไปใช้มากกว่า SBC หล่ะ? เพราะว่ามีอัตราการส่งข้อมูลที่มากขึ้น ช่วยรักษาข้อมูลได้มากขึ้น. ตัวโคเดกแบบ aptX มีอัตราการส่งข้อมูลอยู่ที่ 48kHz/16-bit LPCM audio data (352kbps) และโคเดกแบบ aptX HD จะมีอัตราการส่งข้อมูลอยู่ที่ 48kHz/24-bit LPCM audio data (576kbps).

โคเดกในรูปแบบนี้จะมีคุณภาพการบีบอัดแบบ Compressed Lossless มีอัตราบิตที่ดีพอที่จะทำให้ทุกอย่างทำงานได้อย่างราบรื่น และให้เสียงที่ยอดเยี่ยมกว่า SBC และเป็นที่นิยมสำหรับหูฟังบลูทูธ หรือบนอุปกรณ์บลูทูธทั่วไป.

Bluetooth Codec โคเดก SBC AAC aptX LDAC HWA

โคเดก Advanced audio coding (AAC)


เป็น Codec รูปแบบมาตรฐานสากลที่บริษัทบางแห่งหยิบนำไปใช้ เช่น Dolby Laboratories Inc., Sony Corp., Nokia Corp. และยังสามารถหาได้จากผลิตภัณฑ์ของ Apple โดยเฉพาะ. ซึ่งเพื่อนๆ คนไหนที่ใช้อุปกรณ์ Android จะไม่ได้สิทธิการใช้ฟอร์แมตนี้แบบมีประสิทธิภาพสูงสุดได้เลย. 

AAC จะมีอัตราการส่งข้อมูลอยู่ที่ 250kbps มีขนาด, ความเสถียร, คุณภาพเสียงที่มากกว่ารุ่นก่อนในอัตราบิตเดียวกัน และมีคุณภาพการบีบอัดแบบ Compressed Lossless.

Bluetooth Codec โคเดก SBC AAC aptX LDAC HWA

โคเดก LDAC (SONY)


เป็น Codec เหมือนของทาง Qualcomm แต่โคเดกตัวนี้ถูกพัฒนาโดย Sony และประกาศเป็น License Free สามารถส่งสัญญาณได้เร็วกว่าเทคโนโลยี่ไร้สายอื่นๆ ถึง 3 เท่า และให้เสียงระดับ Hi-res ผ่าน Bluetooth ด้วยความเร็วสูงแบบ Hi-Res 24-bit/96 kHz โดยมี bit-rate สูงสุดถึง 990 kBit/s และมีคุณภาพการบีบอัดแบบ Compressed Lossless

สามารถหาได้จากอุปกรณ์ Android ตั้งแต่ Android 8.0 “Oreo” หรือในหูฟังรุ่นท็อปสุดของ Sony อย่างตัว WH-1000XM4 และ WF-1000XM4 ได้. นอกจากนั้นหูฟังบางแบรนด์ก็ยังหยิบตัวโคเดกนี้ไปใช้แล้วด้วยอย่างแบรนด์ Edifier.

สำหรับผลิตภัณฑ์ของ Apple ยังไม่มีรุ่นใดเลยที่สนับสนุน LDAC เนื่องจากทางแบรนด์เน้นความเสถียรในการเชื่อมต่อมากกว่าเรื่องของคุณภาพเสียง จึงเป็นที่ค้นพบได้ง่ายบนอุปกรณ์ Android.

Bluetooth Codec โคเดก SBC AAC aptX LDAC HWA

โคเดก HWA (Hi-Res Wireless Audio) LHDC and LLAC codecs


ซึ่ง LHDC นั้นน่อมาจาก low-latency และ high-definition audio codec และ LLAC ย่อมาจาก Low Latency Audio Code แต่ปัจจุบันก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น HWA (Hi-Res Wireless Audio) ภายใต้การพัฒนาของบริษัท Huawei ตั้งแต่ Smartphone รุ่น P20 pro เป็นต้นมา และประกาศเป็น License Free.

การส่งข้อมูลสัญญานเสียงที่สามารถทำได้ในระดับเดียวกับ LDAC แต่จะพ่วงความสามารถของ aptX Low Latency เข้าไปด้วย โดย HWA นั้นมี Audio format 24-bit/96 kHz รองรับ Bit-rate ที่ 400/560/900 kBit/s และมีคุณภาพการบีบอัดแบบ Compressed Lossless.

Bluetooth Codec โคเดก SBC AAC aptX LDAC HWA

สรุป


ไม่ว่าอัตราการส่งข้อมูลจะดี หรือ kbps จะดีแค่ไหน ก็ต้องดูอุปกรณ์ทั้งตัวรับ และตัวส่งด้วยว่าตัวชิปบนอุปกรณ์นั้นๆ สามารถถอดรหัสไฟล์เสียง หรือ Codec นั้นได้รึเปล่า. แต่ในทางที่แนะนำโคเดกแบบ aptX เป็นทางออกที่ดีที่สุดเพราะว่าหาใช้ได้ง่าย แล้วเข้ากับอุปกรณ์ได้แทบทุกรุ่น มีคุณภาพ ความเสถียรในระดับที่ดี และเป็นที่แพร่หลายเป็นอย่างมาก.

ถ้าหากเพื่อนๆ อยากได้เสียงที่มีคุณภาพที่มากขึ้นนั้นก็ต้องดูความเหมาะสมให้เข้ากันกับอุปกรณ์นั้นๆด้วย. ส่วนวันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ~

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก SOUNDGUYS, 

บทความที่คุณอาจสนใจ..

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รีวิว Soundvision ESiGO 8 PRO ลำโพงพกพา ตัวจบทุกงาน!

ลำโพงบลูทูธ ไซซ์เล็กพกพาสะดวก เสียงดีเกินตัว มาพร้อมมิกเซอร์ Built-In มาให้ 3 ชาแนล จะน่าสนใจแค่ไหน!? อยากรู้ คลิกเลย!

พรีวิว SONOS MOVE 2 ลำโพงบลูทูธอัจฉริยะ ยกระดับความสามารถในทุกมิติ

อัปเกรด และยกระดับความสามารถจากรุ่นก่อนในทุกมิติ โดดเด่นด้วยดีไซน์ และคุณภาพเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของ SONOS อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

Emulators ที่ดีที่สุดจาก App Store ของ Apple

สวัสดีคอเกมทุกท่าน วันนี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับคอเกมกัน นั่นก็คือ Game Emulators ครับ มาดูไปพร้อมๆ กันเลย

SONY ULT POWER SOUND ลำโพงและหูฟังรุ่นใหม่ ให้เสียงเบสที่หนักแน่น

รู้สึกเหมือนได้ดำดิ่งสู่แถวหน้าของคอนเสิร์ต ไปซีรีส์ ULT POWER SOUND ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ใจคุณสั่น ด้วยเสียงเบสที่ทรงพลัง

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่) ด้วยสินค้าจากแบรนด์ Electro-Voice และ SOUNDVISION ไปรับชมกันเลยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุมบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด

วันนี้เราก็มีผลงานติดตั้งมาให้ชมกันอีกเช่นเคยครับ โดยผลงานในครั้งนี้เป็นระบบเสียงห้องประชุม บริษัท บางกอกแล็ป แอน คอสเมติค จำกัดมหาชน (BLC)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก