คำศัพท์ สำหรับนักเล่นเครื่องเสียง ออดิโอไฟล์ (Audiophile)

Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » คำศัพท์ สำหรับนักเล่นเครื่องเสียง ออดิโอไฟล์ (Audiophile)

Estimated reading time: 3 นาที

คำศัพท์ สำหรับนักเล่นเครื่องเสียง ออดิโอไฟล์ (Audiophile)
เป็นบทความอีกบทความหนึ่งที่เราตั้งใจ พยายามสรุปเนื้อหาที่กระชับ ครอบคลุม และเป็นประโยชน์ไว้ในบทความนี้ เพื่อเสริมทักษะให้ผู้อ่านทุกท่าน ถ้าพร้อมแล้วมาอัพเดทบทความนี้ไปพร้อมๆ กันเลยครับ

Concentration and Subtle Sound (ความเข้มข้น และความเบาบางของเนื้อเสียง)

หากอธิบายง่ายๆ ก็คือ ความหนาแน่น หรือความเบาบาง ของเนื้อเสียงของดนตรีชิ้นต่างๆ เช่น ในหนึ่งเพลงเมื่อเราตั้งใจฟังอย่างพินิจพิจารณาอย่างตั้งใจ หากเสียงนักร้อง หรือเสียงดนตรีใดที่ฟังแล้ว เราสามารถสัมผัสเหมือนมีนักร้องมาร้องเพลงต่อหน้า หรือสัมผัสได้ถึงเสียงดนตรีชิ้นนั้นๆ มีความชัดเจนสมจริง เหมือนมีคนมาดีด สี ตี เป่า ข้างหูเรา ก็แสดงว่าซาวด์ หรือสิ่งที่เราสัมผัสด้วยหูของเรามีความเข้มข้น และชัดเจน แต่ถ้ารู้สึกแบบผิวเผิน เหมือนกับว่าเสียงชิ้นดนตรีนั้นลอยอยู่ตรงนั้นบ้างตรงนี้บ้างไม่มีความคงที่ แบบนี้หมายความว่าเนื้อเสียงไม่ชัดเจนนัก หรือชิ้นดนตรีนั้นๆ ให้เสียงที่มีมวล หรือเนื้อเสียงที่เบาบางนั่นเองครับ

    Dynamic Contrast (ไดนามิก-คอนทราสต์)

    คุณสมบัติที่ดีของเครื่องเสียงที่มีคุณภาพสูง เมื่อเราเร่งระดับเสียงขึ้น เครื่องเสียงที่ดีจะสามารถถ่ายทอดคุณภาพเสียงแบบต่อเนื่องมีความละเอียด ค่อยเป็นค่อยไปไม่กระตุก หรือก้าวกระโดดโผงผาง โดยเฉพาะ เครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า และเสียงร้อง เป็นต้น

    Dynamic Transient (ไดนามิก-ทรานเชี้ยนต์)

    คุณสมบัติที่ดีของเครื่องเสียงที่มีคุณภาพสูง เมื่อเราเร่งระดับเสียงขึ้นจาก 0 dB ขึ้นไปเรื่อยๆ เครื่องเสียงที่ดีจะสามารถถ่ายทอดคุณภาพเสียงแบบต่อเนื่อง มีความละเอียด ตอบสนองอย่างรวดเร็ว และสมจริง ถึงแม้เสียงจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันเพียงใดก็ตาม เครื่องเสียงที่ดีจะถ่ายทอดได้สมจริง รวดเร็วไม่แกว่ง เช่น สัญญาณเสียงที่เกิดจากการ เคาะ หรือตีเครื่องดนตรี ที่นักดนตรีกระทำต่อเครื่องดนตรีนั้นๆ เครื่องเสียงที่ดีนั้นต้องสามารถตอบสนองสัญญาณในลักษณะดังกล่าวที่ให้สปีดรวดเร็วสมจริง

    Impact (อิมแพ็คหัวเสียง)

    เสียงแรก หรือโน๊ตแรกของสัญญาณเสียงที่เครื่องดนตรีถูกกระทำ เครื่องเสียงที่มีคุณภาพ จะต้องให้หัวโน๊ตแรกของเสียงที่ประกอบด้วยความชัดเจน ความเร็วกระชับไม่แกว่ง ตัวเสียงที่มีความเข้มนวล มีมวลที่อิ่ม และสามารถสัมผัสได้ถึงขนาดของชิ้นดนตรีที่สมจริง เช่น หัวเสียงที่เกิดจากการเคาะคาเบลของกลองชุด จะให้ตัวเสียงที่มีขนาดเล็กกว่า หัวเสียงที่เกิดจากการตีกลองทอม หรือเหยียบกระเดื่องกลองเป็นต้น

    Image (อิมเมจ)

    ในความหมายก็คือ ลักษณะ หรือรูปลักษณ์เสียง ที่ให้รูปทรงเป็นชิ้นดนตรี เครื่องเสียงที่มีคุณภาพจะต้องสามารถให้รูปทรงของชิ้นดนตรีที่ชัดเจน ฟังมีมิติ และมีสัดส่วนที่สมจริง

    Soundstage (ซาวด์สเตจ)

    เสียงทั้งหมดที่เรียงรายโดยรอบในอากาศที่เราสามารถสัมผัสได้ถึงมิติเสียงที่สามารถบอกได้ว่า มีความกว้าง-ลึก ตื้น แคบของเวทีเสียง ซึ่งทั้งหมดนี้จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของชุดเครื่องเสียงส่วนหนึ่ง ที่สามารถจะบอกตำแหน่งของชิ้นดนตรี ที่มีมิติใกล้ไกลแตกต่างห่างกันออกไป อีกส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับการปรับตำแหน่งการวางลำโพงเป็นสำคัญ การวางลำโพงให้อยู่ตำแหน่งที่ดีที่สุดของการรับฟัง นั่นคือ ตำแหน่ง Sweet Spot และการปรับแต่งสภาพอะคูสติกในห้องสำหรับการรับฟังเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆที่ควรคำนึงถึง

    Sound Stage Width (ความกว้างของเวทีเสียง)

    อธิบายง่ายๆได้ดังนี้ครับ ชุดเครื่องเสียงที่แตกต่างกัน ย่อมให้มิติความกว้างของเวทีเสียงที่แตกต่างกัน แม้จะเปิดเพลงจากแหล่งกำเนิดเดียวกันก็ตาม นั่นก็เป็นเพราะคุณภาพที่แตกต่างกันส่วนหนึ่ง มิติเวทีเสียงที่กว้างขึ้นอยู่กับการจัดวางลำโพงด้วยส่วนหนึ่ง การจัดวางให้ลำโพง ทั้งซ้าย และขวาห่างออกไป ทำให้มีผลก็คือ ยิ่งห่างมิติของเวทีเสียงก็ยิ่งจะกว้างขึ้น แต่มิติเวทีเสียงที่กว้างมากเกินไป ใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะจะทำให้ความเข้มข้นของชิ้นดนตรีบริเวณตรงกลางเวทีนั้น มีมวลเสียงที่เจือจางเบาบางลง นั่นเองครับ

    Sound Stage Depth (ความลึกของเวทีเสียง)

    ระยะระหว่างชิ้นดนตรีที่อยู่ด้านหน้าสุดแนวระนาบตรงลงไปถึงชิ้นดนตรีที่อยู่ด้านหลังสุด เครื่องเสียงที่ดีๆ นั้นจะสามารถให้รายละเอียดความตื้นลึกของชิ้นดนตรี ตามตำแหน่งที่ถูกต้องและแผ่กว้าง ไม่ใช่หุบเข้าหาตรงกลางเวทีเป็นกระจุกเป็นก้อน เทคนิคการจัดวางลำโพงในข้อนี้คือ การขยับลำโพงทั้งสองข้างให้เข้าใกล้ชิดกันระดับหนึ่ง ข้อดีก็คือ จะทำให้ซาวด์มีความลึกของเวทีเสียงที่ชัดเจนขึ้น แต่ถ้าลำโพงทั้งสองข้างวางชิดกันมากเกินไป ชิ้นดนตรี ก็จะเบียดกันเป็นกระจุกอยู่ตรงกลาง ทำให้มิติเสียงโดยรวมแคบไม่กว้างครับ

    Size of Music Piece (ขนาดของชิ้นดนตรี)

    โดยปกติแล้ว ไม่ว่าเราจะรับฟังจากงานดนตรีที่เล่นบรรเลงสด หรือ เราฟังจากการบันทึกมาเบ็ดเสร็จ ในหนึ่งเพลงก็จะมีชิ้นดนตรีที่ใช้บรรเลง ที่เยอะพอสมควร ถึงเยอะมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะของแนวเพลง และขนาดของวงดนตรี
    เมื่อนำมาประกอบบรรเลงร่วมกัน ก็จะเกิดเป็นเสียงดนตรี ซึ่งก็จะมีเสียงหลักเสียงรอง และฮาร์มอนิกเสียง ต่างๆ ในระบบเสียงที่มีความสมบูรณ์เพียงพอก็จะจำแนกแยกแยะเสียงที่แตกต่างกันออกไปตามความจริง ตามหลักธรรมชาติของชิ้นดนตรีนั้นๆ เช่น เสียงขลุ่ย เสียงกีต้าร์ จะให้ขนาดเสียงตัวโน๊ตที่เล็กกว่าเมื่อเทียบกับเสียงกีต้าเบส ถึงแม้ว่าจะเล่นโน้ตตัวเดียวกันก็ตาม และในเครื่องดนตรีชิ้นเดียวกันก็จะให้ขนาดเสียงของตัวโน้ตแต่ละตัวที่ไม่ เท่ากันด้วย ความแตกต่างอันนี้จะเกิดจากระดับเสียงที่สูง-ต่ำไปตามออกเตปของตัวโน้ต เครื่องเสียงที่ดีๆ นั้นจะต้องสามารถแยกแยะคุณสมบัติดังกล่าวของเสียงออกมาได้อย่างชัดเจน และคุณสมบัติข้อนี้เรียกว่าเป็นรายละเอียดเบื้องลึก หรือ Inner Detail ของเสียงส่วนหนึ่ง

    Transparency (ความใส)

    หมายถึงลักษณะที่ทำให้สามารถสัมผัส มองเห็น หรือรับรู้ถึงรายละเอียดของชิ้นดนตรีบนเวทีทั้งหมด ตั้งแต่ระดับด้านหน้าจนลึกลงไป ถึงระนาบด้านหลังสุด เครื่องเสียงที่มีคุณภาพจะสามารถถ่ายทอดรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน ปราศจากความขุ่นมัว

    Three-dimensional Sound (ความเป็นสามมิติ)

    หมายถึง ภาพรวมของเวทีเสียงที่เกิดจากการจัดเรียงของชิ้นดนตรีขึ้นเป็นเวทีเสียง ที่ประกอบไปด้วยความกว้าง แคบ ความตื้น-ลึก และความต่ำ-สูง ก่อให้เกิดเสียงแบบสามมิติ
    ลักษณะรูปแบบเสียงแบบนี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องประกอบไปด้วย อิมเมจของชิ้นดนตรีแต่ละชิ้นก็ต้องมีรูปทรงที่สมบูรณ์ คุณสมบัติข้อนี้นอกจากจะต้องอาศัยประสิทธิภาพของชุดเครื่องเสียงที่ดีแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่านั้นต้องอาศัยความละเอียดพิถีพิถันในการจัดวางลำโพง และสภาพอะคูสติกภายในห้องฟังที่เหมาะสมอีกด้วย

    Hi-Res Audio (เสียงความละเอียดสูง)

    เสียงซึ่งใช้อัตราการสุ่มตัวอย่างสูงกว่าใน CD และ MP3 สำหรับการเข้ารหัสในการเล่นเพลง เสียงความละเอียดสูงมีลักษณะเฉพาะด้วยความคมชัดสมจริง และความแตกต่างในรายละเอียด จึงทำให้เพลงโปรดของคุณมีชีวิตชีวาโดยเก็บรักษาข้อมูลได้มากกว่ากระบวนการแปลงข้อมูลเพลงที่บันทึกแบบต้นฉบับให้เป็นไฟล์ MP3 รูปแบบไฟล์เสียงความละเอียดสูงต่างๆ ได้แก่ WAV, DSD, ALAC, FLAC และ AIFF เครื่องเสียงที่ดีจะสามารถถ่ายทอดคุณภาพเสียงได้อย่างสมจริง ตามที่เราได้ป้อน Input เข้ามา หากเราป้อนไฟล์เสียงที่มีความละเอียดต่ำ เช่น คุณภาพไฟล์แบบ MP3 เสียงก็จะมีความละเอียดต่ำไปด้วย

    และนี่ก็เป็นคำศัพท์ที่สำคัญๆ สำหรับนักเล่นเครื่องเสียง Audiophile ที่เรานำมารวมไว้ในบทความนี้ หวังว่าจะเกิดประโยชน์กับทุกท่านที่เข้ามาอ่าน และได้นำไปฝึกฝนทักษะการฟังสู่ความเป็นเลิศไปพร้อมๆ กันนะครับ

    • จัดส่งฟรี!! ทั่วประเทศ เพียงทำรายการสั่งซื้อออนไลน์ที่เว็บไซต์
    • มั่นใจ 100% ได้ของแท้
    • ราคาโปรโมชั่นนี้รวม VAT 7% เรียบร้อยแล้ว

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

    แอดไลน์ที่: @sounddd.shop (มี @ ข้างหน้าด้วยนะครับ)

    Facebook : SoundDD.Shop

    Website: www.sounddd.shop

    Tel:  02 435 8998 | 085 396 8888

    แชร์หน้านี้ :

    บทความ สาระความรู้

    ไมค์คาราโอเกะ คุ้มค่าราคาดี ที่ต้องมีติดบ้าน!

    วันนี้เรามีลิสต์ “ไมค์คาราโอเกะ คุ้มค่าราคาดี ที่ต้องมีติดบ้าน!” มาแนะนำกัน รับรองว่าแต่ละรุ่นที่เราคัดมานั้น ใช้งานดี เสียงเพราะ แน่นอน!

    Mixing และ Mastering คือ อะไร? แตกต่างกันหรือไม่? อย่างไร!?

    เจาะลึกรายละเอียดว่า Mixing และ Mastering คือ อะไร? พร้อมชี้ให้เห็นความต่างกันชัดๆ จะน่าสนใจแค่ไหน? อยากรู้ คลิกเลย!

    เคล็ดลับเลือกเพลงคู่ ร้องคาราโอเกะ สำหรับทุกโอกาส

    ร้องคาราโอเกะนั้นเป็นกิจกรรมความบันเทิงที่สนุกสนาน และจะสนุกสนานขึ้นเมื่อเราร้องคู่กับ คนในครอบครัว เพื่อน แฟน บทความนี้เรามีเพลงสำหรับร้องคู่มาแนะนำครับ

    Backing Track คือ อะไร? แจกวาร์ป Backing Track เพลงไทย

    พามาทำความรู้จักว่า Backing Tracks คืออะไร? เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินระดับโลก พร้อมแจกวาร์ปโหลด Backing Track เพลงไทยกันฟรีๆ อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

    ผลงานการติดตั้ง

    ผลงานการติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง)

    ขอขอบคุณ สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม จากทีมงาน SoundDD

    ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีแสดง ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) พระราม 2

    ขอขอบคุณ ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องเสียงเวที โดย บริษัท ซาวด์ดีดี กรุ๊ป จำกัด ด้วยครับ

    ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

    ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

    ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

    SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

    ใส่ความเห็น

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      เปิดใช้งานตลอด

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
      รายละเอียดคุกกี้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
      รายละเอียดคุกกี้

    บันทึก