RMS วัตต์ คืออีหยัง? Program, Peak มัดรวมมาให้แล้ว อยากรู้ คลิกดิ!

RMS วัตต์ คือ
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » RMS วัตต์ คืออีหยัง? Program, Peak มัดรวมมาให้แล้ว อยากรู้ คลิกดิ!

Estimated reading time: 11 นาที

RMS วัตต์ หรือ Root Mean Square Watts(รูท-มีน-สแควร์-วัตต์)  คือ ค่าสำคัญที่เอาไว้ใช้บอกกำลังวัตต์พื้นฐานที่ลำโพงใบนั้นๆ ใช้ ว่าใช้กำลังไฟในการขับดอกลำโพงเท่าไหร่ โดยส่วนมากจะเป็นค่าสำหรับวัดกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) ในบทความนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับ วัตต์ พร้อมลงลึกเกี่ยวกับ RMS, Program และ Peak ในทุกแง่มุม เรียกว่ามัดรวมเกร็ดความรู้มาให้แบบจัดเต็ม โดยที่ผมจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด แม้แต่คนที่ไม่มีพื้นฐานก็สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ(มั้ง) ถ้าพร้อมจะรู้เรื่อง RMS วัตต์ แล้ว ไปชมกันเลยครับ

สารบัญ

ก่อนที่จะไปลงรายละเอียด เกี่ยวกับ RMS Watts ทีมงานขออนุญาตปูพื้นฐานเกี่ยวกับ วัตต์ ให้เพื่อนๆ ได้มีพื้นฐานเพื่อที่จะง่ายต่อการทำความเข้าใจในหัวข้อถัดๆ ไปครับ

วัตต์ คืออะไร?

วัตต์ คือ อะไร?

วัตต์(Watts) คือ หน่วยของไฟฟ้า ใช้ตัวย่อ W ตั้งชื่อตามวิศวกรชาวสก็อตแลนด์ คุณ เจมส์ วัตต์ เป็นค่ามาตรฐานสำหรับบอกปริมาณการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ เพื่อคาดการณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นต้องการ หรือกล่าวง่ายๆ คือ ค่าที่ใช้บอกกำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์เหล่านั้น ต้องการเพื่อที่จะใช้งาน ช่วยให้การวางแผน และใช้งาน เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นระบบ แบบแผนมากยิ่งขึ้น เช่น ลำโพง Sounvision ACS-1500 MkII มีกำลังขับ RMS ที่ 900 วัตต์ หมายถึง ACS-1500 MkII จำเป็นต้องใช้พลังงาน ขั้นต่ำ 900 วัตต์ เป็นอย่างน้อยเพื่อใช้งาน

เจมส์ วัตต์

ขอบคุณภาพประกอบจาก Interesting Engineering

เปรียบเสมือน “หน่วยนับ” ของสิ่งที่จับต้องไม่ได้อย่าง “ไฟฟ้า” เช่น ลำโพงใบนี้ใช้ไฟกี่วัตต์ หูฟังตัวนี้กำลังขับกี่วัตต์ บลาๆ เรียกว่าเป็น ค่ากลาง ที่ทุกประเทศทั่วโลก เลือกใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า สามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ แม้จะผลิตมาจากคนละซีกโลกนั่นเอง

กลับไปที่สารบัญ

ลำโพงที่วัตต์เยอะกว่า ดีกว่าลำโพงที่วัตต์น้อยกว่า?

คำตอบคือ ไม่เสมอไป

เมื่อพูดถึงวัตต์ ในเชิงของระบบเสียง มักที่จะมีคำถามตามมาเป็นกระบุง “ลำโพงที่วัตต์มากกว่าดีกว่าลำโพงที่วัตต์น้อยกว่า?”, “วัตต์มากกว่า หมายความว่าเสียงดังกว่า?”, “วัตต์มากกว่าหมายถึงเสียงดีกว่า??” บลาๆๆ เพื่อที่จะให้เพื่อนๆ เข้าใจ และทราบคำตอบของปัญหาเหล่านั้น ผมขออนุญาตชี้แจง ข้อดี และข้อจำกัดของลำโพงวัตต์เยอะ ออกมาเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ดังนี้ครับ

ข้อดี

  • รองรับกำลังขับที่มาก และจัดการกับกำลังวัตต์ได้ดีกว่า : ลำโพงที่รองรับวัตต์เยอะๆ จะจัดการ(Handle) กับกำลังไฟฟ้าที่ทรงพลังจาก แอมป์ ได้ดีกว่า ตอบสนองต่อไดนามิก และความดังของเสียงได้ยอดเยี่ยมกว่าลำโพงวัตต์น้อย ซึ่งนับเป็นข้อดีที่สำคัญมากๆ ในงาน ดนตรีสด(Livesound) โดยเฉพาะงานที่ต้องการเน้น ไดนามิกของเสียง อย่างเช่น คอนเสิร์ตของวงดนตรี Heavy Metal, Hip-Hop และการรับชมภาพยนต์
  • ไดนามิก ของเสียงที่ดีกว่า(Greater Dynamic Range) : ลำโพงที่มีกำลังวัตต์สูงกว่า โดยส่วนมากจะให้ ไดนามิก ของเสียงได้ดีกว่าลำโพงที่มีกำลังวัตต์น้อย นอกจากนี้ยังมีผลต่อการตอบสนองรายละเอียดของเสียงที่เบา และดังได้ดีกว่า ซึ่งช่วยให้เสียงที่ได้จากลำโพงที่มีวัตต์เยอะ มีความคมชัด และเที่ยงตรงมากกว่า
  • ลดความผิดเพี้ยน(Distortion) ที่ระดับความดังสูง(Higher Volumes) : 1 ในปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในลำโพงแทบทุกใบ คือ Distortion(ความผิดเพี้ยน) ที่มากขึ้นเมื่อเพิ่มระดับเสียง ยิ่งระดับเสียงใกล้ Max Volumes เสียงยิ่งแตกพร่า โดยที่ลำโพงที่รองรับกำลังวัตต์ที่สูงกว่า ก็จะยิ่งมีความผิดเพี้ยนที่ต่ำ เมื่อเทียบกับลำโพงที่มีกำลังวัตต์น้อยกว่า(ในระดับความดังที่ใกล้เคียงกัน)
  • เหมาะกับสถานที่ขนาดกลาง-ใหญ่ : ในงานที่มีขนาดสถานที่ใหญ่ แน่นอนว่าลำโพงที่มีกำลังวัตต์เยอะจะตอบโจทย์ได้ดีกว่าลำโพงที่กำลังวัตต์น้อยกว่า เนื่องจากให้ความดังครอบคลุมพื้นที่ได้ดี และให้ประสิทธิภาพของเสียงที่ดีกว่าอย่างชัดเจน โดยเฉพาะงานคอนเสิร์ต ทั้งในร่ม และกลางแจ้ง

ข้อจำกัด

  • กระเป๋าฉีก: ลำโพงที่มีกำลังวัตต์สูงกว่า มักจะมีราคาสูงกว่า สาเหตุเป็นเพราะลำโพงเหล่านี้ จำเป็น ต้องเลือกใช้ โครงสร้าง และวัสดุที่มีความแข็งแรงกว่า หมายความว่าต้นทุนในการผลิตก็จำเป็นต้องเพิ่มขึ้นตาม เพื่อที่จะจัดการกับกำลังที่มากกว่าของแอมป์(Handle increased power levels)
  • ขนาด และน้ำหนัก : เช่นเดียวกับเรื่องราคา ลำโพงที่มีกำลังวัตต์มากกว่า จำเป็นต้องมีขนาด และน้ำหนักที่มากกว่าเช่นกัน ส่วนสาเหตุก็เหมือนกับราคา คือ เพื่อจัดการกับพลังงานที่มากกว่า วัสดุที่จะควบคุมพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมต้องใหญ่ และหนักขึ้นนั่นเอง
  • ไม่เหมาะกับงานขนาดเล็ก หรือระบบเสียงที่ใช้ระดับความดังต่ำ : หากคุณมีระบบเสียงที่ใช้แอมป์ที่มีกำลังไม่มาก หรือใช้ในงานที่ไม่ได้ต้องการระดับความดังของเสียงมาก ลำโพงที่มีกำลังวัตต์สูงก็ดูจะเป็นทางเลือกที่ สิ้นเปลืองทรัพยากร(กินไฟ, ราคาลำโพง) ของคุณโดยใช่เหตุ แนะนำให้เลือกระบบเสียงที่ เหมาะกับงาน จะดีที่สุดครับ
  • วัตต์ที่มากกว่า ไม่ได้หมายความว่า คุณภาพเสียงจะดีกว่า : ถึงแม้ว่ากำลังวัตต์ที่มากกว่า จะมีข้อดีในหลากหลายสถานการณ์ แต่กำลังวัตต์ที่มากกว่า ไม่ได้การันตีว่าคุณภาพเสียงที่ได้จะดีกว่า คุณภาพเสียงนั่นประกอบด้วยปัจจัยเสริมหลายๆ อย่าง เช่น โครงสร้างภายในตู้ลำโพง, ความไวในการตอบสนอง(Sensitivity) และคุณภาพของวัสดุดอกลำโพง เป็นต้น
กลับไปที่สารบัญ

วัตต์เยอะกว่า แต่เสียง อาจจะไม่ดังกว่า เสมอไป

เป็นอีก 1 ข้อสังเกตุที่เจอบ่อยที่สุด เป็นข้อที่ลูกค้า ผู้ใช้งานถามกันเข้ามาเยอะ ผมเลยขออนุญาต แยกมาอธิบายในหัวข้อเดี่ยวๆ ไปเลย เพื่อที่จะขยายความได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ถึงแม้ว่าโดยส่วนมากแล้วลำโพงที่กำลังวัตต์มากกว่า มักที่จะให้เสียงที่ดังกว่า แต่ก็ไม่ใช่ว่าลำโพงที่วัตต์มากกว่าจะให้เสียงที่ดังกว่าเสมอไป จริงๆ แล้วมันมีปัจจัยสำคัญนอกจากกำลังวัตต์อีก 1 อย่าง นั่นคือ Sensitivity หรือค่าความไวในการตอบสนองต่อเสียงของดอกลำโพง(คำอย่างสั้น แปลเป็นไทยอย่างยาว ฮ่าๆ)

วัตต์เยอะกว่า แต่เสียงไม่ได้ดังกว่า

ขอบคุณตัวอย่างภาพประกอบจากเฟซบุ๊กเพจ AT Prosound

จากภาพหากคุณเป็นคนที่ดูสเปคลำโพงด้วยตาเพียงอย่างเดียว คุณจะต้องบอกว่าลำโพงใบขวาดังกว่าใบซ้ายแน่นอน ก็วัตต์มันเยอะกว่ากันตั้ง 600 วัตต์ แต่ถ้าหาก สังเกตุที่ Sensitivity คุณจะเห็นว่ามันมีค่าต่างกันอยู่เล็กน้อย ซึ่งถ้าวัดความดังจริงๆ ของลำโพงทั้ง 2 ใบ คุณจะแปลกใจมั้ย!?? ถ้าผมบอกว่าลำโพงใบซ้าย ดังกว่าลำโพงใบขวา แม้ว่าจะมีกำลังขับน้อยกว่าถึง 600 วัตต์ หากคุณแปลกใจ มานี่! เดี๋ยวผมจะอธิบายเพิ่ม

(ถ้าไม่อยากรู้สามารถข้ามไปอ่านหัวข้อถัดไป คลิกที่นี่)

วิธีคำนวณความดังลำโพง

ระดับความดังของลำโพง(Sound Pressure Level) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Max SPL เป็นค่า ที่บอกระดับความสูงสุดของลำโพง มีวิธีคำนวณดังนี้

วิธีคำนวณ Max SPL

ยกตัวอย่าง

ลำโพง Soundvision ACS-1500 MkII มีกำลังขับ RMS วัตต์ ที่ 900 วัตต์, Peak วัตต์ ที่ 3600 วัตต์ และ Sensitivity ที่ 95dB เราก็นำไปแทนค่าในสมการ แบบนี้ครับ

SPL (db) = (10 Log P) + Sensitivity

SPL (RMS) = 29.542 + 95 → SPL (RMS) = 124.542 dB

SPL (Peak) = 35.563 + 95 → SPL (Peak) = 130.563 dB
ปล1. 10 Log 900 = 29.542
ปล2. 10 Log 3600 = 35.563

กลับไปที่สารบัญ

3 ประเภทของ วัตต์ ที่คุณจำเป็นต้องรู้จัก


3 ประเภทของวัตต์

ในวงการเครื่องเสียง จะมีประเภทของวัตต์ทั้งหมด 3 แบบ ที่นิยมใช้ เพื่อบ่งบอกกำลังขับที่ ลำโพง หรือแอมป์นั้นๆ รองรับ ดังนี้ครับ

  1. RMS วัตต์ : วัตต์ที่บอกกำลังไฟที่ใช้งานต่อเนื่อง โดยที่อุปกรณ์ไม่เสียหาย
  2. Program วัตต์ : วัตต์ที่มีกำลังไฟสูงกว่า RMS วัตต์ ประมาณ 1 เท่า เรียกอีกอย่างว่า Music Watts หรือ Music Program Watts
  3. Peak วัตต์ : วัตต์ที่บอกว่า ลำโพง หรือแอมป์ รองรับกำลังไฟสูงสุดที่เท่าไหร่ จะมีกำลังไฟสูงกว่า Program วัตต์ อีก 1 เท่า(กำลังไฟสูงกว่า RMS วัตต์ 4 เท่า)

ปล.ขออนุญาตกล่าวถึง วัตต์ แค่นี้เพื่อปูให้เพื่อนๆ เข้าใจพื้นฐานตรงกัน ไม่งั้นเนื้อหาอาจจะหลุดประเด็นจาก RMS วัตต์ หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ วัตต์ เพิ่มเติมช่วยคอมเมนท์กันเข้ามา แล้วผมจะมาทำให้ในบทความถัดๆ ไปครับ

กลับไปที่สารบัญ

หลังจากที่ปูพื้นฐานเกี่ยวกับ วัตต์ กันพอสมควรแล้ว ก็เข้าถึงเนื้อหาหลักในบทความนี้ กับการเจาะลึกเกี่ยวกับ Rms, Program และ Peak วัตต์ ว่าแต่ละแบบ คืออะไร? แตกต่างกันยังไง และแยกประเภทเพื่ออะไร!? เวลาจะเลือกลำโพงต้องดูกำลังขับ วัตต์ แบบไหนกันแน่ ไปต่อกันเลยครับ ~

RMS วัตต์ : วัตต์ใช้จริง ไม่ติงนัง

เริ่มต้นกันที่ RMS วัตต์ ค่าแรกที่น่าจะผ่านหูผ่านตาคนเล่นลำโพงกันมากที่สุด ย่อมาจาก Root Mean Square Watts อ่านว่า รูท-มีน-สแคว-วัตต์

RMS วัตต์คืออะไร?

RMS วัตต์คืออะไร?


RMS วัตต์ คือ ค่าที่บ่งบอก กำลังไฟขั้นต่ำที่จ่ายให้กับลำโพงอย่างต่อเนื่องโดยที่ลำโพง ไม่ฉีกขาด(เสียหาย) เป็นการบอกปริมาณการใช้ไฟฟ้า ปกติ ของลำโพงใบนั้นๆ สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า Continuous Watts(คอน-ทิ-นิว-อัส-วัตต์) แปลตรงตัวได้ว่า กำลังวัตต์ที่จ่ายอย่างเนื่อง เป็นค่ามาตรฐานที่ลำโพงทุกแบรนด์จะระบุไว้ในใบสเปคว่า ลำโพงใบนี้ ใบนั้น กำลังขับ RMS เท่าไหร่ เพื่อให้ผู้ใช้งานอย่างเราๆ สามารถนำลำโพงแต่ละแบรนด์มาจับคู่กับแอมป์ต่างแบรนด์ที่มีกำลังขับ เหมาะสมกัน เพื่อให้ได้ระบบเสียงอย่างที่เราต้องการนั่นเองครับ

RMS วัตต์ คือ

ทำไมต้องมี RMS วัตต์


หากคุณกำลังมองหาระบบเสียงสักชุด RMS วัตต์ เป็นสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้จัก เพื่อที่จะแมทชิ่ง(Matching) ลำโพงกับแอมป์ ให้ได้ระบบเสียงที่ทำงานร่วมกันได้ใกล้เคียงกับความต้องการ และมีเสถียรภาพมากที่สุด ซึ่งมันเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ส่งผลกระทบมาก เพราะถ้าหากคุณ แมทชิ่ง ลำโพงกับแอมป์ผิด ดันไปเลือกลำโพงที่รองรับกำลังขับน้อย แต่ใช้แอมป์ที่มีกำลังขับมาก ก็อาจจะทำให้ดอกลำโพงขาดได้ง่ายๆ และถ้าหากคุณเลือกใช้ลำโพงที่ต้องการกำลังขับมาก แต่เลือกแอมป์ที่มีกำลังขับน้อย ก็อาจจะทำให้แอมป์ของคุณมีอายุการใช้งานที่สั้นลงนั่นเองครับ

เพื่อที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องมองหาที่ปรึกษาที่รู้เรื่องระบบเสียงดี เพื่อที่จะให้คุณได้รับระบบเสียงอย่างที่คุณต้องการ ซาวด์ดีดีของเรามีทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์คอยให้คำแนะนำในการเลือกซื้อระบบเสียง และที่สำคัญคือเราให้คำปรึกษาฟรี ติดต่อเรา

กลับไปที่สารบัญ

Program Watts : จุดเชื่อมต่อระหว่าง ไดนามิก และความเสถียร

Program วัตต์คืออะไร?

Program Watts คืออะไร?


Program Watts(โปร-แกรม-วัตต์) คือ ค่าที่บ่งบอกปริมาณกำลังวัตต์ที่ให้ประสิทธิภาพได้ดีที่สุดของลำโพงใบนั้นๆ อยู่ในตำแหน่งระหว่าง RMS วัตต์ และ Peak วัตต์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เป็นจุดแกว่งขึ้นลง ของกำลังวัตต์ เพื่อขยับดอกลำโพงให้เคลื่อนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดของลำโพง เป็นช่วงของกำลังวัตต์ที่ทำให้เกิดไดนามิกของเสียงได้ดีที่สุด จะเรียกว่าเป็นกำลังวัตต์ ที่เป็นหัวใจสำคัญในงานดนตรี ก็ดูจะไม่ผิด สามารถเรียกอีกชื่อนึงได้ว่า Music Program Watts หรือ Music Watts

Program วัตต์ คือ

Music Watts เป็นช่วงกำลังวัตต์ที่ถ่ายทอด Dynamics Nuances of Music(แปลไงวะเนี่ย ฮ่าๆ) สำเนียง และอารมณ์ของดนตรี ออกมาให้เป็นรูปธรรมได้ดีที่สุด โดยที่ Music Watts จะส่งผลสอดคล้องไปกับ ความดัง ความชัดเจน และรายละเอียดของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น แต่ผมว่าจริงๆ ก็อย่าไปรู้มันเยอะเลย เริ่มปวดหัวละ เอาเป็นว่าทักมา ปรึกษาทีมงานซาวด์ดีดี ง่ายกว่าเยอะ

กลับไปที่สารบัญ

Peak Watts : แค่ขึ้นไปแตะ พี่เอามาขิงกันอย่างกะวัตต์จริง

PEAK วัตต์คืออะไร?

Peak วัตต์ คืออะไร?


Peak Watts(พีค-วัตต์) คือ ค่าที่บ่งบอกว่าลำโพงใบนั้นๆ สามารถรองรับกำลังไฟสูงสุดได้ที่กี่วัตต์ ในบางจังหวะ โดยที่ดอกไม่ขาด ย้ำว่าบางจังหวะ โดยจะเป็นเพียง วัตต์การตลาด เพราะในการใช้งานจริง กำลังไฟที่ทำขึ้นไปถึง Peak วัตต์ จะเป็นการแกว่งขึ้นไป แตะๆ แล้วก็ไหลกลับลงมาที่ Program และ RMS วัตต์ ตามลำดับ แต่ก็ไม่ใช่ว่า Peak วัตต์จะไม่สำคัญ ในความเป็นจริงแล้วก็เป็นจุดสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง…

Peak วัตต์ คือ

Peak วัตต์สำคัญ และส่งผลอย่างไร?


ในงานดนตรีสด(Live Sound), โฮมเธียร์เตอร์(Home Theater) หรือละครเวที Peak วัตต์ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะลำโพงที่รองรับ Peak วัตต์ที่สูงกว่า จะให้เสียงที่ทรงพลัง กระหึ่ม และประสบการณ์การฟังที่ดีกว่าอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างเช่น ลำโพงที่วัตต์พีคเยอะๆ เจอจังหวะตุ่งแช่ในหนังผี บอกเลยว่า แฮร่ มาที ต้องมีสะดุ้งกันมั้งแหละ เรียกว่า Peak วัตต์ เป็นตัวช่วยเพิ่มอรรถรส เติมเต็มอารมณ์ร่วมให้กับผู้ฟังได้ดียิ่งขึ้นนั่นเองครับ

กลับไปที่สารบัญ

วิธีหากำลังขับ RMS, PROGRAM และ PEAK วัตต์ ของ ลำโพง

วิธีการคำนวณหา RMS วัตต์ Program วัตต์ และ PEAK วัตต์ ของลำโพง หายังไง? จริงๆ ถ้าผู้ผลิตเครื่องเสียงทุกแบรนด์ เขาระบุกำลังวัตต์ทุกแบบมาให้ในใบสเปค ทุกอย่างมันคงง่ายกว่านี้เยอะ ปัญหามันอยู่ตรงที่บางแบรนด์ ให้เฉพาะ RMS กับ Peak วัตต์ บางเจ้าให้เฉพาะ Peak วัตต์ ในหัวข้อนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาหา กำลังวัตต์ของลำโพง ทั้ง 3 ค่า ไม่ว่าจะเป็น RMS, Program และ Peak โดยที่วิธีการคำนวณก็ง่ายสุดๆ ไปชมกันเลยครับ ~

วิธีหากำลังขับ RMS, PROGRAM และ PEAK วัตต์ ของ ลำโพง

อย่างที่ได้บอกไปว่าลำโพงจะถูกแบ่งประเภทของกำลังขับ ออกเป็นทั้งหมด 3 แบบ คือ

  1. RMS วัตต์
  2. Program วัตต์
  3. Peak วัตต์

โดยที่ผู้ผลิตลำโพง Active(โดยส่วนมากลำโพง Passive ที่ไม่มีแอมป์ในตัวจะระบุมาทั้ง 3 ค่า) บางแบรนด์ กลับระบุกำลังขับของลำโพงเพียงแค่ 1 แบบบ้าง 2 แบบบ้าง ไอผู้ใช้อย่างเราก็ว้าวุ่นเลยทีนี้ เพื่อที่จะหากำลังขับที่เหลือ ผมจะสาธิตการหากำลังวัตต์ลำโพงด้วยการยกตัวอย่างดังนี้ครับ

ตัวอย่างที่ 1 กำลังวัตต์ JBL IRX112BT


JBL IRX112BT
JBL IRX112BT
สเปค JBL IRX112BT

จากภาพจะเห็นว่าใน สเปคชีท(Specsheet) ของ JBL IRX112BT จะบอกเพียง Peak วัตต์ โดยที่จะมีค่าอยู่ที่ 1,300 วัตต์ หากเพื่อนๆ อยากจะทราบ Program วัตต์ ให้เอา 2 ไปหาร

JBL IRX112BT Program วัตต์:

    • 1300/2 = 650 วัตต์

ถ้าหากอยากรู้ว่า JBL IRX112BT มีกำลังขับ RMS ที่เท่าไหร่ ก็ให้เอา 2 ไปหาร Program วัตต์ หรือเอา 4 ไปหาร Peak วัตต์ จะได้ดังนี้ครับ

JBL IRX112BT Peak วัตต์:

    • 650/2 = 325 วัตต์ หรือ 1300/4 = 325 วัตต์เช่นกัน

หมายความว่า ลำโพง JBL IRX112BT จะมีกำลังขับ RMS 325 วัตต์, Program 650 วัตต์ และ Peak 1,300 วัตต์ นั่นเองครับ

ตัวอย่างที่ 2 กำลังวัตต์ Soundvision ACS-1500 MkII


Soundvision ACS-1500 MkII
Soundvision ACS-1500 MkII
สเปค Soundvision ACS-1500 MkII

จากภาพจะเห็นว่าใน สเปคชีท(Specsheet) ของ Soundvision ACS-1500 Mk2 จะบอกกำลังขับเพียงแค่ว่า 900W / 1800W(MAX) แล้ว 900 วัตต์ คือ RMS วัตต์ ใช่มั้ย? หรือ 1800W(MAX) คือ Peak วัตต์!?

ถ้าเอาตามหลัก โดยปกติแล้วผู้ผลิตมักที่จะให้กำลังขับ RMS หรือไม่ก็ Peak เป็นส่วนใหญ่ ผมจะขอแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้ครับ

กรณีที่ 1 900W คือ RMS วัตต์

เพราะฉะนั้น 1800W ที่บอกว่า MAX แท้จริงแล้วเป็นเพียง Program วัตต์(900*2 = 1800) และ Peak วัตต์จริงๆ ของ ACS-1500 MkII = 3600 วัตต์(900*4 = 3600)

กรณีที่ 2 1800W คือ Peak วัตต์

หากเป็นในกรณีนี้ หมายความว่า 900W ที่เราคิดว่าเป็น RMS ในกรณีที่ 1 นั้นผิด แท้จริงแล้ว 900W จะต้องเป็น Program วัตต์(1800/2 = 900) และ RMS วัตต์จริงๆ ของ ACS-1500 MkII = 450 วัตต์(1800/4 = 450) นั่นเองครับ

แต่จริงๆ แล้วกำลังขับของ ACS-1500MkII เป็นกำลังขับในกรณีที่ 1 นั่นคือ RMS 900 วัตต์, Program 1800 วัตต์ และ Peak 3600 วัตต์

เกร็ดความรู้ : ถ้าถามว่ารู้ได้ยังไง? ว่าเป็นในกรณีที่ 1 คำตอบคือดูจากคำที่ทางแบรนด์เลือกใช้กำกับด้านหน้าจะเห็นเป็นคำว่า Rated Power ซึ่งโดยส่วนมาก(เท่าที่ทราบ) จะนิยมใส่ค่าเป็นกำลังวัตต์ RMS นั่นเองครับ


กลับไปที่สารบัญ

สรุป


ก็จบกันไปแล้วกับบทความ RMS วัตต์ คืออะไร? หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ พี่ๆ ได้บ้างไม่มากก็น้อย อย่างน้อยที่สุด ก็น่าจะช่วยให้เพื่อนๆ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ วัตต์ เพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้เข้าใจกันได้ทั้งหมดเลย(เพราะผมทำน๊านนานนน) ไม่ว่าจะเป็น RMS, Program และ Peak วัตต์ หากยังมีคำถามสงสัยอะไรเพิ่มเติม หรืออยากได้ระบบเสียงดีดี สามารถติดต่อเข้ามาปรึกษาทีมงานมืออาชีพของซาวด์ดีดีฟรี คลิกที่นี่ วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ ~

คำถามที่พบบ่อย (FAQs)

วัตต์(Watts) คือ หน่วยของไฟฟ้า ใช้ตัวย่อ W ตั้งชื่อตามวิศวกรชาวสก็อตแลนด์ คุณ เจมส์ วัตต์ เป็นค่ามาตรฐานสำหรับบอกปริมาณการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ เพื่อคาดการณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นต้องการ หรือกล่าวง่ายๆ คือ ค่าที่ใช้บอกกำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์เหล่านั้น ต้องการเพื่อที่จะใช้งาน ช่วยให้การวางแผน และใช้งาน เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นระบบ แบบแผนมากยิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติม…

ไม่เสมอไป ถึงแม้ว่าโดยส่วนมากแล้วลำโพงที่กำลังวัตต์มากกว่า มักที่จะให้เสียงที่ดังกว่า แต่ก็ไม่ใช่ว่าลำโพงที่วัตต์มากกว่าจะให้เสียงที่ดังกว่าเสมอไป จริงๆ แล้วมัน มีปัจจัยสำคัญนอกจากกำลังวัตต์อีก 1 อย่าง นั่นคือ Sensitivity หรือค่าความไวในการตอบสนองต่อเสียงของดอกลำโพง อ่านเพิ่มเติม…

ในงานระบบเสียง จะมีกำลังวัตต์ทั้งหมด 3 ประเภท คือ

  1. RMS วัตต์
  2. Program วัตต์
  3. Peak วัตต์

RMS วัตต์ คือ ค่าที่บ่งบอก กำลังไฟขั้นต่ำที่จ่ายให้กับลำโพงอย่างต่อเนื่องโดยที่ ดอกลำโพงไม่ฉีกขาด(เสียหาย) เป็นการบอกปริมาณการใช้ไฟฟ้า ปกติ ของลำโพงใบนั้นๆ สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า Continuous Watts(คอน-ทิ-นิว-อัส-วัตต์) อ่านเพิ่มเติม…

Program Watts(โปร-แกรม-วัตต์) คือ ค่าที่บ่งบอกปริมาณกำลังวัตต์ที่ให้ประสิทธิภาพได้ดีที่สุดของลำโพงใบนั้นๆ อยู่ในตำแหน่งระหว่าง RMS วัตต์ และ Peak วัตต์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เป็นจุดแกว่งขึ้นลง ของกำลังวัตต์ เพื่อขยับดอกลำโพงให้เคลื่อนที่ได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นช่วงของกำลังวัตต์ที่ทำให้เกิดไดนามิกของเสียงได้ดีที่สุด จะเรียกว่าเป็นกำลังวัตต์ ที่เป็นหัวใจสำคัญในงานดนตรี ก็ดูจะไม่ผิด สามารถเรียกอีกชื่อนึงได้ว่า Music Program Watts หรือ Music Watts อ่านเพิ่มเติม…

Peak Watts(พีค-วัตต์) คือ ค่าที่บ่งบอกว่าลำโพงใบนั้นๆ สามารถรองรับกำลังไฟสูงสุดได้ที่กี่วัตต์ ในบางจังหวะ โดยที่ดอกไม่ขาด ย้ำว่าบางจังหวะ โดยจะเป็นเพียง วัตต์การตลาด เพราะในการใช้งานจริง กำลังไฟที่ทำขึ้นไปถึง Peak วัตต์ จะเป็นการแกว่งขึ้นไป แตะๆ แล้วก็ไหลกลับลงมาที่ Program และ RMS วัตต์ ตามลำดับ อ่านเพิ่มเติม…

บทความที่คุณอาจสนใจ..

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

Mixing และ Mastering คือ อะไร? แตกต่างกันหรือไม่? อย่างไร!?

เจาะลึกรายละเอียดว่า Mixing และ Mastering คือ อะไร? พร้อมชี้ให้เห็นความต่างกันชัดๆ จะน่าสนใจแค่ไหน? อยากรู้ คลิกเลย!

เคล็ดลับเลือกเพลงคู่ ร้องคาราโอเกะ สำหรับทุกโอกาส

ร้องคาราโอเกะนั้นเป็นกิจกรรมความบันเทิงที่สนุกสนาน และจะสนุกสนานขึ้นเมื่อเราร้องคู่กับ คนในครอบครัว เพื่อน แฟน บทความนี้เรามีเพลงสำหรับร้องคู่มาแนะนำครับ

Backing Track คือ อะไร? แจกวาร์ป Backing Track เพลงไทย

พามาทำความรู้จักว่า Backing Tracks คืออะไร? เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินระดับโลก พร้อมแจกวาร์ปโหลด Backing Track เพลงไทยกันฟรีๆ อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

ZEN Blue 3 มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ จาก iFi Audio

มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ ที่คุณอาจไม่เคยสัมผัสที่ไหนมาก่อนกับ ZEN Blue 3 สินค้าใหม่ล่าสุดจากแบรนด์ iFi Audio เป็นยังไงไปชมกัน!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง)

ขอขอบคุณ สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม จากทีมงาน SoundDD

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีแสดง ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) พระราม 2

ขอขอบคุณ ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องเสียงเวที โดย บริษัท ซาวด์ดีดี กรุ๊ป จำกัด ด้วยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก