ระบบเสียง 1 ทาง, 2 ทาง, 3 ทาง, 4 ทาง, 5 ทาง มีจุดเด่นอะไรบ้างและแตกต่างกันอย่างไร?

ระบบเสียง 1 ทาง, 2 ทาง, 3 ทาง, 4 ทาง, 5 ทาง มีจุดเด่นอะไรบ้างและแตกต่างกันอย่างไร? วันนี้เรามาดูว่า ระบบเสียงแบบ 1 way, 2 way, 3 way, 4 way, 5 way ต่อยังไง
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » ระบบเสียง 1 ทาง, 2 ทาง, 3 ทาง, 4 ทาง, 5 ทาง มีจุดเด่นอะไรบ้างและแตกต่างกันอย่างไร?

Estimated reading time: 3 นาที

สวัสดีสมาชิกทุกท่านที่ติดตามกันประจำในเพจนี้และต้อนรับสมาชิกที่เข้ามาใหม่ทุกท่านสู่เกร็ดความรู้และบทความที่คิดและคัดกรองมาสำหรับทุกท่านให้ได้เสพเพื่อประโยชน์ เพื่อนำไปต่อยอดกับระบบเสียงของเราให้มีศักยภาพกันต่อไป วันนี้เรามาดูว่า “ระบบเสียง 1 ทาง, 2 ทาง, 3 ทาง, 4 ทาง, 5 ทาง” มีจุดเด่นอะไรบ้างและแตกต่างกันอย่างไร? ระบบเสียงแบบไหนตรงกับเพื่อนๆสมาชิกใช้งานอยู่ เรามาติดตามดูพร้อมๆกันเลยครับ

ระบบเสียงทั้งหมดในบทความนี้

ระบบเสียงแบบ 1 ทาง (1 way)

ระบบเสียง 1 ทาง 1 way

ลักษณะแนวเสียง

  • ออกแนวเสียงแบบรวมๆ ทั้งทุ้มกลางและแหลม

ยกตัวอย่าง เช่น ใช้ปรีหรือมิกเซอร์ และใช้แอมป์ขยายเพียงเครื่องเดียวหรือหลายเครื่องเพื่อต่อพ่วงและเพิ่มกำลังขับลำโพง ที่เป็นลำโพงแบบฟูลเรนจ์ หรือลำโพงเสียงแหลมในตู้เดียวชนิดเดียว ระบบนี้จะไม่มีลำโพงแยกความถี่ แบบ Low, Mid , High และจะไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น แอคทีฟครอสโอเวอร์ มาแบ่งความถี่แต่อย่างใด เรียกระบบเสียงนี้ว่าระบบเสียงแบบ 1 ทาง ระบบเสียงแบบนี้จะพบการใช้งานทั่วไป เช่นงาน ที่ต้องใช้ในการเรียนการสอน งานประกาศ งานแอโรบิคทั่วไป

ข้อดี

  • ใช้อุปกรณ์น้อย ขนย้ายสะดวก ใช้งานง่าย ประหยัดงบประมาณ

ข้อจำกัด

  • ตอบสนองความถี่ แคบ ไม่ครอบคลุมเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเสียงแบบ 2 และ 3 ทาง

ระบบเสียงแบบ 2 ทาง (2 way)

ระบบเสียง 2 ทาง 2 way

ลักษณะแนวเสียง

  • แนวเสียงตอบสนองความถี่ได้ครอบคลุมเสียงมากขึ้น ทั้งย่านความถี่ที่ต่ำและกลางแหลมเมื่อเปรียบเทียบกับระบบ 1 ทาง

จะต้องใช้เครื่องขยายเสียง (Amplifier) เพิ่มขึ้นมากกว่า ระบบเสียงแบบ 1 ทาง อย่างน้อยระบบแบบ 2 ทาง นี้ก็จะใช้เครื่องขยายเสียงถึง 2 เครื่องเพื่อแยกขับลำโพง ถึง 2 แบบ จุดประสงค์หลัก เพื่อลดจุดบอดและเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบเสียงแบบ 2 ทางนี้มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบเสียงแบบ 1 ทาง หลักการทำงานของระบบเสียงแบบ 2 ทาง ก็จะประกอบไปด้วย ปรีหรือมิกเซอร์แบบระบบเสียงแบบ 1 ทาง แต่ที่เพิ่มเข้ามาในระบบคือ แอมป์ขยายอย่างน้อยต้องมี 2 เครื่อง เครื่องที่ 1 ใช้ขับลำโพงกลางแหลม เครื่องที่ 2 ใช้ขับลำโพงซับวูฟเฟอร์ และที่ขาดไม่ได้ในระบบนี้คือ อิเล็กทรอนิกส์ครอสโอเวอร์ เครื่องแบ่งความถี่เสียงนั่นเอง ซึ่งจะมีตั้งแต่ 2-3-4 ทางให้เลือกใช้งาน โดยจะมีให้เลือกใช้ทั้งแบบ อนาล็อกและดิจิตอล ระบบเสียงแบบ 2 ทางพบใช้งานทั่วไปและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นระบบเสียงจัดงาน มินิคอนเสิร์ต อีเว้นท์ คาราโอเกะ และอื่นๆ

ข้อดี

  • ตอบสนองความถี่ได้กว้างขึ้นมากกว่าระบบ 1 ทาง ด้วยลำโพง 2 แบบ 2 ชนิด คือในระบบต้องมีลำโพงแบบ กลางแหลม และลำโพงซับวูฟเฟอร์สำหรับความถี่ต่ำ

ข้อจำกัด

  • อุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น การขนย้ายเร็วไม่สะดวก เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเสียง 1 ทาง

ระบบเสียงแบบ 3 ทาง (3 way)

ลักษณะแนวเสียง

  • ให้ความดังหนักแน่นและคมชัดของเสียงเต็มประสิทธิภาพ

เพื่อรองรับการขยายเสียงที่มีการแบ่งย่านความถี่ที่ละเอียดมากขึ้น โดยจะแบ่งออกเป็น ย่านความถี่ต่ำ ย่านความถี่กลาง และย่านความถี่สูง Low, Mid, High ซึ่งในระบบเสียงแบบ 3 ทาง (3-way) จะทำให้การกระจายเสียงที่ได้ออกมานั้น มีความคมชัด และครอบคลุมตอบสนองความถี่ได้กว้างกว่าระบบ 1 ทาง และ 2 ทาง หลักการทำงาน แน่นอนในระบบจะต้องมีอุปกรณ์ควบคุมเสียง ไม่ว่าจะเป็น ปรีหรือมิกเซอร์เหมือนๆกับ 2 ระบบข้างต้น

ระบบเสียงแบบ 3 ทาง ออกแบบให้มีขีดความสามารถในการกระจายเสียงแบบ 3 ทาง เพื่อลดจุดบอดของเสียงที่เกิดขึ้นในระบบ เพราะเครื่องขยายเสียง (Amplifier) ในแต่ละตัว ต่างก็ทำหน้าที่ขยายเสียงในช่วงย่านความถี่ที่กำหนดมา ด้วยอิเล็คทรอนิกส์ครอสโซเวอร์ รวมไปถึงลำโพงที่เตรียมไว้รองรับเสียงที่ถูกตัดแบ่งย่านความถี่ออกมาโดยเฉพาะ ดังนั้นค่าความดังและความคมชัดของเสียงย่อมมีมากขึ้น อย่างเช่น ตู้ลำโพงซับวูฟเฟอร์ก็จะสามารถตอบสนองย่านความถี่เสียงต่ำได้ลึกได้ดีที่สุด เช่นเดียวกันกับ ตู้ลำโพงเสียงกลาง และ ตู้ลำโพงเสียงสูง ในระบบด้วยเช่นกัน

โดยเมื่อรับสัญญาณจากเครื่องขยายเสียง (Amplifier) ที่ขยายเสียงเฉพาะย่านความถี่ที่ถูกตัดแบ่งออกมาแล้วส่งไปยังลำโพง การทำงานก็จะสอดคล้องกันทั้งลำโพงและย่านความถี่ จึงเป็นที่มาของความคมชัดของเสียงที่มากขึ้น ความดังของเสียงที่สูงขึ้น ดังนั้น การทำระบบเสียงแบบ 3 ทาง (3-way) จะทำให้การกระจายเสียงที่ได้ออกมานั้น มีความคมชัดและมีความดังของเสียงที่สูงขึ้น และมีความเหมาะสมที่จะใช้กับระบบเสียงขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ระบบเสียงแบบ 3 ทาง จะใช้ในงานขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เช่น งาน คอนเสิร์ต มหกรรกีฬา เป็นต้น

ข้อดี

  • ตอบสนองความถี่ได้กว้างขึ้นมากกว่าระบบ 1 ทาง ด้วยลำโพง 2 แบบ 2 ชนิด คือในระบบต้องมีลำโพงแบบ กลางแหลม และลำโพงซับวูฟเฟอร์สำหรับความถี่ต่ำ

ข้อจำกัด

  • อุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น ใช้เวลาในการเซ็ทอัพและติดตั้ง มากกว่า 2 ระบบข้างต้น การควบคุมเสียงมีความซับซ้อนกว่า 2 ระบบข้างต้น ใช้งบประมาณในการจัดซื้อที่สูงกว่า 2 ระบบข้างต้น

ระบบเสียงแบบ 4 ทาง (4 way)

ลักษณะแนวเสียง

  • แนวเสียงตอบสนองความถี่ได้ครอบคลุมเสียงมากได้ทุกย่านความถี่เสียง ความดังที่หนักแน่นและคมชัดของเสียงเต็มประสิทธิภาพ

ต่อยอดมาจากระบบเสียง 3 ทาง โดยเพิ่มลำโพงที่เป็นเสียง มิดโล MID-LOW หรือ ลำโพง มิดไฮ MID-HIGH หรือลำโพง SUPER TWEETER เพิ่มเข้ามาในระบบเพื่อให้มีช่วงความถี่ที่ครอบคลุมมากขึ้น โดยระบบเสียงแบบ 4 ทางนี้ จะเป็นระบบเสียงขนาดใหญ่ ใช้แอมป์ขยายอย่างน้อย 4 เครื่องเพื่อแยกขับลำโพงแต่ละประเภทดังตัวอย่าง

  1. ลำโพง SUB
  2. ลำโพง MID-LOW
  3. ลำโพง MID-HIGH
  4. ลำโพง HIGH

ระบบเสียงแบบ 5 ทาง (5 way)

ลักษณะแนวเสียง

  • แนวเสียงตอบสนองความถี่ได้ครอบคลุมเสียงมากได้ทุกย่านความถี่เสียง ความดังที่หนักแน่นและคมชัดของเสียงเต็มประสิทธิภาพ จะดีกว่าแบบ 4 ทางอย่างแน่นอน

ส่วนระบบเสียง 5 ทางก็จะต่อยอดมาจากระบบเสียง 4 ทาง ซึ่งอาจจะเพิ่ม ลำโพง เสียงย่านใดย่านหนึ่งเข้ามาในระบบเช่น เสียง ซูปเปอร์ไฮ ซูปเปอร์ทวิตเตอร์ดังตัวอย่าง

  1. ลำโพง SUB
  2. ลำโพง LOW
  3. ลำโพง MID
  4. ลำโพง HIGH
  5. ลำโพง SUPER HIGH หรือ SUPER TWEETER

ระบบ 5 ทางนี้ใช้แอมป์ขยายเพิ่มเป็น 5 เครื่อง เป็นอย่างน้อย (ลำโพงจำนวนมากไม่ได้หมายความว่า จะมีความดังมากกว่าลำโพงที่มีจำนวนน้อยหรือขนาดลำโพงที่ตัวเล็กกว่าเสมอไป)

สรุป

ไม่ว่าจะเป็นระบบเสียงใดก็แล้วแต่ การบาลานซ์เสียงเป็นสิ่งสำคัญ เสียงดีและดังไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ควบคุมเสียงหรือ ซาวด์เอ็นจิเนียเพียงเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่ที่ความเข้าใจในการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็นของแท้และมีคุณภาพเพื่อ ให้ระบบเสียงแสดงศักยภาพให้ออกมาเต็มประสิทธิภาพมากกว่า (ลำโพงจำนวนมากไม่ได้หมายความว่า จะมีความดังมากกว่าลำโพงที่มีจำนวนน้อยหรือขนาดลำโพงที่ตัวเล็กกว่าเสมอไป) พบกันใหม่กับบทความถัดไป ขอบคุณและสวัสดีครับ

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รีวิว Soundvision ESiGO 8 PRO ลำโพงพกพา ตัวจบทุกงาน!

ลำโพงบลูทูธ ไซซ์เล็กพกพาสะดวก เสียงดีเกินตัว มาพร้อมมิกเซอร์ Built-In มาให้ 3 ชาแนล จะน่าสนใจแค่ไหน!? อยากรู้ คลิกเลย!

พรีวิว SONOS MOVE 2 ลำโพงบลูทูธอัจฉริยะ ยกระดับความสามารถในทุกมิติ

อัปเกรด และยกระดับความสามารถจากรุ่นก่อนในทุกมิติ โดดเด่นด้วยดีไซน์ และคุณภาพเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของ SONOS อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

Emulators ที่ดีที่สุดจาก App Store ของ Apple

สวัสดีคอเกมทุกท่าน วันนี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับคอเกมกัน นั่นก็คือ Game Emulators ครับ มาดูไปพร้อมๆ กันเลย

SONY ULT POWER SOUND ลำโพงและหูฟังรุ่นใหม่ ให้เสียงเบสที่หนักแน่น

รู้สึกเหมือนได้ดำดิ่งสู่แถวหน้าของคอนเสิร์ต ไปซีรีส์ ULT POWER SOUND ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ใจคุณสั่น ด้วยเสียงเบสที่ทรงพลัง

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวที บริษัท ยู แฮส จำกัด (สำนักงานใหญ่) ด้วยสินค้าจากแบรนด์ Electro-Voice และ SOUNDVISION ไปรับชมกันเลยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุมบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด

วันนี้เราก็มีผลงานติดตั้งมาให้ชมกันอีกเช่นเคยครับ โดยผลงานในครั้งนี้เป็นระบบเสียงห้องประชุม บริษัท บางกอกแล็ป แอน คอสเมติค จำกัดมหาชน (BLC)

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก