เบิร์นลำโพง ยังไงให้ได้ที่ | ซื้อลำโพงมาใหม่ ต้องเบิร์นไหม? | วิธีเบิร์นลำโพง และเทคนิคเบิร์นลำโพง

เบิร์นลำโพง คืออะไร? ซื้อลำโพงมาใหม่ ต้องเบริน์ไหม เบิร์นลำโพง จะพังไหม? เบิร์น VS ไม่เบิร์น แบบไหนเสียงดีกว่า วิธีการเบิร์นลำโพง และ เทคนิคเบิร์ลำโพง
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » เบิร์นลำโพง ยังไงให้ได้ที่ | ซื้อลำโพงมาใหม่ ต้องเบิร์นไหม? | วิธีเบิร์นลำโพง และเทคนิคเบิร์นลำโพง

Estimated reading time: 2 นาที

เบิร์นลำโพง คืออะไร? ซื้อลำโพงมาใหม่ ต้องเบริน์ไหม เบิร์นลำโพง จะพังไหม? เบิร์น VS ไม่เบิร์น แบบไหนเสียงดีกว่า สอน วิธีเบิร์นลำโพง และเทคนิคเบิร์ลำโพง ติดตามได้ที่บทความนี้เลยครับ

วันนี้ก็จะมาพูดคุยถึงเรื่องเกี่ยวกับ การเบิร์นลำโพงใหม่ ซึ่งบางท่านพอจะมีข้อมูลบ้าง แต่อีกหลายท่านอาจละเลย หรือไม่ใส่ใจและให้ความสำคัญในเรื่องนี้สักเท่าใหร่ การเบิร์นลำโพงสำคัญอย่างไร มันจำเป็นขนาดใหน แล้วเบิร์นอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพ จากประสบการณ์ของผมเอง และเทคนิคที่จำเป็นพื้นฐานในบทความนี้ จะเป็นเกร็ดความรู้ที่แชร์ให้ทุกท่านที่รักและผู้ที่สนใจการเบิร์นลำโพง ได้รู้จักและเพิ่มเบสิคพื้นฐานเพื่อเป็นประโยชน์กับทุกท่านพร้อมแล้วมาดูกันเลยครับ

เบิร์นลำโพง คืออะไร? ซื้อลำโพงมาใหม่ ต้องเบริน์ไหม เบิร์นลำโพง จะพังไหม? เบิร์น VS ไม่เบิร์น แบบไหนเสียงดีกว่า บทความนี้เรามีคำตอบ

ทุกครั้งก่อนที่จะเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมอื่น เช่น ร้องเพลง แนะนำให้อบอุ่นร่างกาย และวอร์มเสียงของเราก่อน เพื่อให้เส้นเสียงและกล้ามเนื้อของเราพร้อมกับกิจกรรมนั้นๆ เมื่อใหร่ที่เราขาดการวอร์มร่างกายก่อนเล่นกีฬา โอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บขณะเล่นกีฬาก็มีเปอร์เซนต์ที่สูงเช่นกัน เพราะกล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่นที่ดี เอาหละครับมาเข้าเรื่องกันดีกว่า

เบิร์นลำโพงยังไงให้ได้ที่ ภายในบทความนี้

ก่อนทำการเบิร์นลำโพง ลำโพงคืออะไร?

เบิร์นลำโพง คืออะไร? ซื้อลำโพงมาใหม่ ต้องเบริน์ไหม เบิร์นลำโพง จะพังไหม? เบิร์น VS ไม่เบิร์น แบบไหนเสียงดีกว่า บทความนี้เรามีคำตอบ

ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานกล เมื่อเราต่อสายลำโพงจากเครื่องขยายเสียงไปยังลำโพง ก็จะก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นโดยกลับขั้วไปมาตามสัญญาณทางไฟฟ้าที่ป้อนเข้ามา เนื่องจากสัญญาณเอ้าพุทจากเครื่องขยายเสียงนั้นเป็นสัญญาณไฟกระแสสลับ ทำให้เกิดการดูดและผลักกันกับแม่เหล็กถาวรที่ก้นลำโพง เป็นการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล และส่งแรงการสั่นสะเทือนนี้ผ่านไปยังกรวย (โคน) ที่เชื่อมติดกับตัววอยซ์คอยล์อยู่ให้สั่นตามไปด้วย โดยมี สไปเดอร์ และขอบ เซอร์ราวด์ เป็นตัวคอยยึดให้ทั้งชุดที่ขยับเข้าออก เพื่อให้ได้จุดสมดุลและอยู่ศูนย์กลางตลอดเวลา พร้อมผลักอากาศให้เป็นคลื่น ทำให้เราได้ยินเป็นเสียงต่างๆของลำโพงที่ถ่ายทอดเสียงออกมานั่นเอง

ลำโพงใหม่ทำไมต้องเบิร์น?

เบิร์นลำโพง คืออะไร? ซื้อลำโพงมาใหม่ ต้องเบริน์ไหม เบิร์นลำโพง จะพังไหม? เบิร์น VS ไม่เบิร์น แบบไหนเสียงดีกว่า บทความนี้เรามีคำตอบ

ก็เพราะว่าส่วนประกอบต่างๆของลำโพงใหม่ที่มาจากโรงงาน เช่น วอยซ์คอยล์ กรวยกระดาษหรือสไปเดอร์ หรือขอบเซอร์ราวด์ของลำโพง ยังไม่มีความยืดหยุ่นพอ ฉะนั้นเราจึงจำเป็นจะต้องทำให้ลำโพงรู้จักและเข้าใจกับรูปแบบเสียงหลายๆรูปแบบให้มากขึ้น ในกรณีหากเรานำไปใช้งานเลยโดยยังไม่ได้นวด หรือเบิร์นลำโพงก่อนโดยเร่งระดับความดังเสียงขึ้น อาจจะทำให้ลำโพงได้รับความเสียหายได้

เบิร์นลำโพงอย่างไร?

ซึ่งวิธีการเบิร์นนั้นแต่ละท่านก็จะมีวิธีที่ไม่เหมือนกัน บางท่านใช้การเบิร์นด้วยเพลงที่ชอบซัก 4 ชั่วโมง แล้วก็ต่อด้วยเพลงที่เราฟังทั่วไปอีกซัก 50-100 ชั่วโมง หรือบางท่านเปิดเพลงทิ้งไว้ ซัก 150-200 ชั่วโมง ก็ไม่มีผิดแต่ประการใดครับ

วิธีเบิร์นลำโพง

  1. เตรียมไฟล์เพลงที่มีความละเอียด หรือบิทเรทสูงๆหรือเพลงระดับ ออดิโอไฟล์ เพราะคุณภาพเพลงระดับนี้จะให้รายละเอียดสูง ทำให้ลำโพงเราตอบสนองความถี่ได้ครบทุกย่าน
  2. หาสถานที่ที่จะเบิร์นลำโพง เช่น ห้องทำงานส่วนตัว ห้องนั่งเล่น หรือห้องเฉพาะ หรือตู้เสื้อผ้า เป็นต้น
  3. จัดการต่อสายลำโพงให้เรียบร้อยทำการเบิร์นลำดับถัดไป
  4. เปิดเพลงระดับความดังที่เราฟังปกติ สามารถเพิ่มหรือลดได้เล็กน้อยตามความเหมาะสมของแวดล้อมครับ
  5. เปิดเพลงในช่วงแรกติดต่อกันประมาณ4-6ชั่วโมงและควรพักบ้างสัก 1-2 ชั่วโมง หลังจากที่ผ่านพ้นช่วงแรกไปแล้วนั้น ก็สามารถเปิดเพลงเบิร์นแบบยาวๆได้เลยซึ่งตัวเลขคร่าวๆไม่ฟิก ก็ประมาณไม่เกิน 200 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับว่าลำโพงนั้นให้เสียงทีดีน่าพอใจหรือยังเมื่อเปรียบเทียบกับตอนซื้อมาใหม่ๆ

เทคนิคการเบิร์นลำโพง

(โดยปรกติแล้ว ระยะเวลาการเบิรน์ ของลำโพงแต่ละตัว แต่ละประเภท จะมีความแตกต่าง และมีระยะเวลาการเบิร์นที่ไม่เท่ากันอยู่แล้ว)

เบิร์นลำโพง คืออะไร? ซื้อลำโพงมาใหม่ ต้องเบริน์ไหม เบิร์นลำโพง จะพังไหม? เบิร์น VS ไม่เบิร์น แบบไหนเสียงดีกว่า บทความนี้เรามีคำตอบ

(โดยปรกติแล้ว ระยะเวลาการเบิร์น ของลำโพงแต่ละตัว แต่ละประเภท จะมีความแตกต่าง และมีระยะเวลาการเบิร์นที่ไม่เท่ากันอยู่แล้ว)

เบิร์นลำโพง คืออะไร? ซื้อลำโพงมาใหม่ ต้องเบริน์ไหม เบิร์นลำโพง จะพังไหม? เบิร์น VS ไม่เบิร์น แบบไหนเสียงดีกว่า บทความนี้เรามีคำตอบ

  1. หันหน้าลำโพงเข้าหากันห่างกัน (แนวตรง)ไม่เกิน 10-20 เซนติเมตร เพื่อลดการรบกวนบุคคลอื่นหรือเพื่อนข้างห้องหรือข้างบ้านนั่นเองครับ
  2. ต่อสายลำโพงให้สลับขั้วกันข้างใดข้างหนึ่ง ระหว่างแอมป์กับลำโพง การต่อแบบนี้จะทำให้ลำโพงหักล้างกันหรือที่เราเข้าใจว่า การกลับเฟสนั่นเอง เสียงที่เราได้ยินก็จะเป็นความถี่ย่านเสียงสูง ทำให้ย่านความถี่เบสลดการสั่นสะเทือน ซึ่งจะลดเสียงรบกวนในสถานที่นั้นๆได้ แต่ประโยชน์ที่ได้ไม่เพียงแค่ลดการสั่นสะเทือนของเสียงเบสเท่านั้น การต่อสายลำโพงสลับขั้วยังช่วยเพิ่มการเคลื่อนใหวของไดรเวอร์ลำโพง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลำโพงได้ดีอีกด้วย
  3. เปิดเพลงในช่วงแรกติดต่อกันประมาณ 4-6 ชั่วโมงและควรพักบ้างสัก 1-2 ชั่วโมง หลังจากที่ผ่านพ้นช่วงแรกไปแล้วนั้น ก็สามารถเปิดเพลงเบิร์นแบบยาวๆได้เลย ซึ่งตัวเลขคร่าวๆไม่ฟิก ก็ประมาณไม่เกิน 200 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับว่าลำโพงนั้นให้เสียงทีดีน่าพอใจหรือยังเมื่อเปรียบเทียบกับตอนซื้อมาใหม่ๆ

ข้อควรระวังในการเบิร์นลำโพง

เบิร์นลำโพง คืออะไร? ซื้อลำโพงมาใหม่ ต้องเบริน์ไหม เบิร์นลำโพง จะพังไหม? เบิร์น VS ไม่เบิร์น แบบไหนเสียงดีกว่า บทความนี้เรามีคำตอบ

สำหรับสิ่งที่ต้องควรระวังในการเบิร์นลำโพงนั้น เราขอแนะนำว่า ให้รักษาระดับเสียงที่ไม่ดังจนเกินไป เพราะจะทำให้เครื่องขยายเสียงและลำโพงร้อน และได้รับความเสียหายได้ เนื่องจากการเบิร์นในระดับเสียงที่ดังและยาวนาน

หมายเหตุ :

ตัวเลขต่างๆที่อ้างอิงในบทความนี้ เป็นเพียงการประมาณการณ์ไม่ฟิกตายตัว ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ขอบคุณทุกท่านที่อ่านบทความนี้จนจบแล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปครับ

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้นจริงหรือ!?

เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นจริงหรือ!? บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!!

พาชมบรรยากาศงาน SC OPEN HOUSE 2024 ณ อาคาร วิชัย กรุ๊ป

พาชมภาพบรรยากาศ SC OPEN HOUSE 2024 การอัพเดตผลิตภัณฑ์ใหม่เช่น ชุดไมค์ประชุม, โซลูชันห้องประชุม, Network Switch สำหรับระบบ AV พร้อมชม Solutions สำหรับห้องรูปแบบต่างๆ

คู่มือการเลือก ซื้อหูฟังบลูทูธ เลือกยังไงให้คุ้ม เหมาะกับคุณมากที่สุด

ตีแผ่คู่มือการเลือกซื้อหูฟังบลูทูธ ไล่ตั้งแต่ ราคา ยี่ห้อ ไปจนถึงคุณสมบัติสำคัญที่คุณควรพิจารณา อยากรู้ คลิกดิ!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND

พาชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND สุดพรีเมียมและให้เสียงคาราโอเกะอันเป็นเอกลักษณ์ของ JBL

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ พร้อมจออินเตอร์แอคทีฟ

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ด้วยชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ JBL EON208P ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก