วิธีใช้งาน…โหมดการสนทนาต่างๆ ของเครื่องควบคุมชุดไมค์ประชุม

วิธีใช้งาน โหมดการสนทนาต่างๆ ของเครื่องควบคุมชุดไมค์ประชุม เช่น โหมดการสนทนา Fifo , โหมดการใช้งาน Push To Talk ของ ชุดไมค์ประชุม ทำงานอย่างไร
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » วิธีใช้งาน…โหมดการสนทนาต่างๆ ของเครื่องควบคุมชุดไมค์ประชุม

Estimated reading time: 3 นาที

วิธีใช้งาน โหมดการสนทนาต่างๆ ของเครื่องควบคุมชุดไมค์ประชุม หลังจากที่ได้รู้จักกับ ชุดไมโครโฟนสำหรับห้องประชุมกันแล้ว บทความนี้เรามาลงลึกกันหน่อย เกี่ยวกับเครื่องควบคุมชุดไมโครโฟนห้องประชุมกันครับ สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความที่แล้ว กดลิงค์นี้เลยครับ

โหมดควบคุมการใช้งานการสนทนาในรูปแบบต่างๆ ถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้งาน สามารถเลือกการใช้งานให้ตรงกับวัตถุประสงค์ และให้ตรงลักษณะของงานที่ต้องการประชุม โดยสามารถควบคุมการใช้งานผ่าน “เครื่องควบคุมชุดไมค์ประชุม” ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการสนทนา และจ่ายไฟให้กับชุดไมค์ประชุมภายในชุดทั้งหมด ซึ่งเครื่องควบคุมจะสามารถเลือกใช้รูปแบบการสนทนาได้หลากหลายรูปแบบ

1. โหมดการสนทนา Chairman Only Mode

เรียกให้เข้าใจง่ายคือ “เฉพาะประธาน” ซึงในโหมดการสนทนานี้ เป็นโหมดที่ประธานจะสามารถใช้งาน และพูดได้เพียงท่านเดียวเท่านั้น ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมจะไม่สามารถใช้งานได้เลย

2. โหมดการสนทนา Fifo Mode

เรียกให้เข้าใจง่ายคือ “เข้าก่อนออกก่อน” ซึงในโหมดการสนทนานี้ เมื่อไมค์ตัวไหนกดใช้งานก่อน และครบตามจำนวนผู้ใช้งานที่เรากำหนดไว้ หากต้องการใช้งานไมค์เพิ่ม และกดใช้งาน ไมค์ตัวแรกที่กดใช้งานก่อน จะปิดการใช้งานอัตโนมัติ และถูกแทนที่ด้วยไมค์ตัวที่กดใช้งานล่าสุดนั่นเอง

ตัวอย่างเช่น…   

เราได้กำหนดจำนวนผู้ใช้งานในชุดประชุมโดยรวมไว้ที่ 3 ท่าน

  • ไมค์ท่านที่ 1 กำลังใช้งาน -ไมค์ท่านที่ 2 กำลังใช้งาน และไมค์ท่านที่ 3 กำลังใช้งาน (ครบตามจำนวนที่กำหนด)
  • หากต้องการใช้ไมค์ท่านที่ 4 และกดใช้งานเพิ่ม ไมค์ท่านที่ 1 จะปิดการใช้งานอัตโนมัติ และถูกแทนที่การใช้งานด้วยไมค์ท่านที่ 4 นั่นเอง (นี่คือเข้าก่อน…ออกก่อน)

3. โหมดการสนทนา Lifo Mode

เรียกให้เข้าใจง่ายคือ “เข้าทีหลังออกก่อน” ซึงในโหมดการสนทนานี้ เป็นโหมดที่เมื่อไมค์ตัวไหนกดใช้งานทีหลัง และครบตามจำนวนผู้ใช้งานที่เรากำหนดไว้ หากต้องการใช้งานไมค์เพิ่ม และกดใช้งาน ไมค์ตัวที่กดใช้งานทีหลังจะปิดการใช้งานอัตโนมัติ และถูกแทนที่ด้วยไมค์ตัวที่กดใช้งานล่าสุดนั่นเอง เป็นโหมดการสนทนาที่ให้ความสำคัญแก่ผู้ที่กดใช้งานก่อน…

ตัวอย่างเช่น

เราได้กำหนดจำนวนผู้ใช้งานในชุดประชุมโดยรวมไว้ที่ 3 ท่าน

  • ไมค์ท่านที่ 1 กำลังใช้งาน , ไมค์ท่านที่ 2 กำลังใช้งาน และไมค์ท่านที่ 3 กำลังใช้งาน (ครบตามจำนวนที่กำหนด)
  • หากต้องการใช้ไมค์ท่านที่ 4 และกดใช้งานเพิ่ม ไมค์ท่านที่ 3 จะปิดการใช้งานอัตโนมัติ และถูกแทนที่การใช้งานด้วยไมค์ท่านที่ 4 นั่นเอง (นี่คือเข้าทีหลัง…ออกก่อน)

4. โหมดการสนทนา Limite Mode

เรียกให้เข้าใจง่ายคือ “จำกัดผู้ใช้งาน” ซึงในโหมดการสนทนานี้ จะจำกัดจำนวนไมค์ประชุม ตามที่ผู้ใช้งานได้กำหนดจำนวนผู้ใช้งานไว้ในระบบ

ตัวอย่างเช่น

เราได้กำหนดจำนวนผู้ใช้งานในชุดประชุมโดยรวมไว้ที่ 3 ท่าน

  • ไมค์ท่านที่ 1 กำลังใช้งาน , ไมค์ท่านที่ 2 กำลังใช้งาน และไมค์ท่านที่ 3 กำลังใช้งาน (ครบตามจำนวนที่กำหนด)
  • หากต้องการใช้งานไมค์ประชุมท่านที่ 4 จะไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากการใช้งานครบตามจำนวน ที่ผู้ใช้งานได้กำหนดไว้แล้ว (นั่นคือ 3 ท่านนั่นเอง) ต้องมีไมค์ท่านที 1 – 3 ปิดใช้งานก่อน ไมค์ท่านที่ 4 จึงจะสามารถใช้งานได้ นั่นเอง (นี่คือ การจำกัดผู้ใช้งาน)

5. โหมดการสนทนา Free Mode

เรียกให้เข้าใจง่ายคือ “ใช้งานได้ทั้งหมด” ซึ่งในโหมดการสนทนานี้ ประธาน และผู้ร่วมประชุมทุกท่าน จะสามารถกดปิด-เปิดใช้งานไมค์ประชุมได้ทั้งหมด ได้อย่างอิสระ

6. โหมดการสนทนา Request Mode

เรียกให้เข้าใจง่ายคือ “โหมดร้องขอ” ซึ่งในโหมดการสนทนานี้ เป็นโหมดการใช้งานที่ผู้เข้าร่วมการประชุม จะต้องทำการร้องขอ หรือขออนุญาตต่อประธาน ก่อนการใช้งานไมค์ประชุมทุกครั้ง ซึ่งประธานจะมีสิทธิอนุญาตให้ใช้งาน หรือ ไม่อนุญาตก็ได้

7. โหมดการใช้งาน Push To Talk

วิธีใช้งาน โหมดการสนทนาต่างๆ ของเครื่องควบคุมชุดไมค์ประชุม เช่น โหมดการสนทนา Fifo , โหมดการใช้งาน Push To Talk ของ ชุดไมค์ประชุม ทำงานอย่างไรเรียกให้เข้าใจง่ายคือ “กดเพื่อพูด” ซึ่งในโหมดการสนทนานี้ เป็นโหมดการใช้งาน ที่เมื่อผู้ใช้งานต้องการใช้งาน ต้องกดปุ่มการใช้งานค้างไว้ เพื่อพูด และเมื่อพูดเสร็จ ก็ปล่อยปุ่มใช้งานเพื่อปิดการใช้งานนั่นเอง

8. โหมดการสนทนา Voice Mode

เรียกให้เข้าใจง่ายคือ “ระบบตรวจจับเสียง” ซึ่งในโหมดการสนทนานี้ เป็นโหมดการสนทนาที่ไมค์ประชุม จะทำการตรวจจับสัญญาณเสียงของผู้ใช้งาน เพื่อเปิดการใช้งานให้อัตโนมัติในขณะที่เราทำการพูด

และไมค์ประชุมจะปิดการใช้งานให้โดยอัตโนมัติ หากเราหยุดพูด และไมค์ไม่ได้รับเสียงอย่างต่อเนื่อง หรือเสียงหยุด และขาดช่วงไป

9. โหมดการสนทนา Test Mode

เรียกให้เข้าใจง่ายคือ “ทดสอบระบบก่อนเริ่มประชุม” ซึ่งในโหมดการสนทนานี้ เป็นโหมดที่ถูกออกแบบการใช้งานออกมา ให้ผู้ใช้งานได้ทดสอบอุปกรณ์ภายในชุดประชุมทั้งหมด เพื่อตรวจสอบความพร้อมก่อนเริ่มการประชุมนั่นเอง เพื่อลดข้อผิดพลาดขณะประชุม และเพื่อบรรยากาศที่ดีในทุกวาระการประชุมนั่นเอง

สรุป

ทั้งหมดนี้คือโหมดการสนทนา ในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป กับชุดควบคุมชุดไมค์ประชุม โหมดการสนทนาที่มีให้เลือกใช้งาน บางครั้งอาจขึ้นอยู่ที่การออกแบบที่แข่งขันกันในท้องตลาด ในแต่ละแบรนด์แต่ละผู้ผลิต ความสามารถของชุดประชุมของแต่ละยี่ห้อ และแต่ละราคา หากต้องการเลือกใช้งานชุดไมค์ประชุม  ก็อย่าลืม ตรวจสอบโหมดการสนทนาในรูปแบบต่างๆ ของชุดควบคุมไมค์ประชุม ให้ตอบโจทย์การใช้งาน ได้ตรงกับความต้องการของหน่วยงาน บริษัท หรือองค์กรของคุณ ด้วยนะครับ…

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

Mixing และ Mastering คือ อะไร? แตกต่างกันหรือไม่? อย่างไร!?

เจาะลึกรายละเอียดว่า Mixing และ Mastering คือ อะไร? พร้อมชี้ให้เห็นความต่างกันชัดๆ จะน่าสนใจแค่ไหน? อยากรู้ คลิกเลย!

เคล็ดลับเลือกเพลงคู่ ร้องคาราโอเกะ สำหรับทุกโอกาส

ร้องคาราโอเกะนั้นเป็นกิจกรรมความบันเทิงที่สนุกสนาน และจะสนุกสนานขึ้นเมื่อเราร้องคู่กับ คนในครอบครัว เพื่อน แฟน บทความนี้เรามีเพลงสำหรับร้องคู่มาแนะนำครับ

Backing Track คือ อะไร? แจกวาร์ป Backing Track เพลงไทย

พามาทำความรู้จักว่า Backing Tracks คืออะไร? เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินระดับโลก พร้อมแจกวาร์ปโหลด Backing Track เพลงไทยกันฟรีๆ อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย!

ZEN Blue 3 มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ จาก iFi Audio

มาตรฐานใหม่ในระบบเสียงบลูทูธ ที่คุณอาจไม่เคยสัมผัสที่ไหนมาก่อนกับ ZEN Blue 3 สินค้าใหม่ล่าสุดจากแบรนด์ iFi Audio เป็นยังไงไปชมกัน!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง)

ขอขอบคุณ สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม จากทีมงาน SoundDD

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีแสดง ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) พระราม 2

ขอขอบคุณ ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องเสียงเวที โดย บริษัท ซาวด์ดีดี กรุ๊ป จำกัด ด้วยครับ

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก